บุหงา รายา รายงาน..
(7 กุมภาพันธ์ 2562) ที่ห้องประชุมน้ำพราว 1 โรงแรมซี.เอส ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล /รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะ เดินทางลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายภาคใต้ ระหว่างวันที่ 6 – 7 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อติดตามและรับฟังการนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยมี นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ผู้แทนจังหวัดยะลา ผู้แทนจังหวัดนราธิวาส ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการการศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีหลักการดำเนินการที่ส่งเสริมให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในด้านวิชาการ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป โดยมีความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา มีการใช้นวัตกรรมทางการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะให้เหมาะสมกับผู้เรียน ตลอดถึงบริบทของพื้นที่ และสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ/หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล กล่าวว่า พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่นวัตกรรม โดยมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับคุณภาพทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐
สำหรับการจัดโครงการในครั้งนี้ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมากในการระดมความคิดแนวทางในการดำเนินงาน ตลอดจนการวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสม และตรงความต้องการของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งได้นำนวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายภาคใต้นำมาแสดงให้ ครู อาจารย์ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ได้เยี่ยมชมเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ ซึ่งการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่องใน 6 ภูมิภาค หนึ่งในนั้น คือ พื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีบริบทที่แตกต่างจากพื้นที่ในภูมิภาคอื่นๆ ทั้งด้านภาษา ประเพณี และวัฒนธรรม รวมทั้งการจัดการศึกษาซึ่งมีลักษณะพิเศษที่มีความแตกต่างกัน โดยมุ่งหมายให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการใหม่ทางการศึกษาในระดับพื้นที่ สถานศึกษา ตลอดถึงนักเรียนในพื้นที่ให้มีคุณภาพ ต่อไป
////////////////////////////////////////////////////
882 total views, 4 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ครั้งที่ 4
1 พฤษจิกายน จะนะเปิดเรียนเเต่ออนไลน์และบทเรียนจากภูเก็ต