สาเลม ครู SPM news รายงาน …
(15 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 9.00 น.) ที่ ห้องประชุม Al-Aiyubi ชั้น 5 วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นประธานการประชุมคณะที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล อธิการบดีมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ผู้แทนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ผู้แทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี ผู้บริหารสถานศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการ และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ตามที่ได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์โดยใช้กลไกและบทบาทเวทีทางวิชาการ ส่งเสริม ผลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ สร้างความรู้ ความเข้าใจและสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรม ให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ด้วยกระบวนการทำงานแบบบูรณาการ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขด้วยกระบวนการทำงานแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วมของเครือข่ายตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) อีกทั้งกระบวนการจัดการความรู้ ความเข้าใจ แก่เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือที่เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจนคือการดำเนินการจัดโครงการขับเคลื่อนค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 7 รุ่น และจัดโครงการขับเคลื่อนค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับอุดมศึกษา จำนวน 3 รุ่น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทำให้สถาบันทางการศึกษาสามารถนำผลการดำเนินการไปปรับใช้ในสถาบันของ ตนเองได้เป็นอย่างดี
สำหรับการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกของปีงบประมาณ 2562 มีผู้บริหารจากสถานศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการ และหน่วยงานต่างๆมาร่วมขับเคลื่อน ร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำ โดยเป็นการหารือในการดำเนินโครงการในปีนี้ ประกอบไปด้วย การดำเนินโครงการขับเคลื่อนค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรมในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 12 รุ่น การจัดทำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนงานโครงการศึกษา ผลิต และเผยแพร่ชุดความรู้ จำนวน 3 ชุดความรู้ของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทำให้เห็นภาพกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ ความเป็นเครือข่ายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามในที่ประชุมได้แลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นในการดำเนินงานที่ผ่านมา ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาด้านการศึกษา รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรมซึ่งอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
//////////////////////////////////////////////////////////
773 total views, 6 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี