พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

วัฒนธรรมนราธิวาส จับมือ สมาคมสื่อฯ จชต.ให้ความรู้เยาวชน “สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม สร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อ” ติดอาวุธทางปัญญา ไม่สร้างปัญหาให้สังคม

แชร์เลย

 

(17 ก.ค.2561) ที่ห้องประชุมวิภา วังศิริกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส ได้จัดให้มีกิจกรรม “สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม เยาวชนสร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อ” ภายใต้โครงการสร้างสื่อดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ในมิติวัฒนธรรม จังหวัดนราธิวาส โดยนายสุรพร พร้อมมูล ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานในพิธีเปิด และนางอุษณีย์ ธุวโชติ วัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาสให้การต้อนรับ ทั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมาย เป็นเยาวชน นักเรียนในพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส กว่า 130 คน เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

โดยกิจกรรมในช่วงเช้าถึงเที่ยง  มีนางอุษณีย์ ธุวโชติ วัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส บรรยาย ในหัวข้อ“เด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ” ฉลาดคิด..ฉลาดเลือก  ความรู้กฎหมายที่ควรรู้ในยุคดิจิทัล โดยวิทยากร ชั้นสัญญาบัตร จากตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้ให้ความรู้

วันเดียวกันในช่วงเวลา 13.30 น.นายรพี มามะ อุปนายกบริหารสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้/ประธานสื่อมวลชนเพื่อสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ SPMC ได้เป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้ และจัดแบ่งกลุ่ม ในหัวข้อ “สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม สร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อ”  ซึ่ง อุปนายกบริหารสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ก้าวกระโดด ในยุคดีจิตอล ของสื่อต่างๆ ที่หลวมรวม  โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน มีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นต่างๆ คือการหลวมรวมกัน ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ข่าวสารของคนในสังคมอย่างมากรูปแบบการสื่อสารที่เคลื่อนย้ายสัตว์โลกแห่งความจริงเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในโลกเสมือนจริงเราสามารถเข้าถึงโลกไร้พรมแดนได้อย่างรวดเร็ว และซซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้และในสังคมประชาธิปไตยที่มีความหลากหลายการเข้าถึงสื่อสารสนเทศและสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องมีก็ต้องส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลเพื่อประกอบการคิดและตัดสินใจในเรื่องต่างๆอย่างเท่าเทียมกันการปลูกฝังให้พลเมืองมีทักษะในการเข้าใจเข้าถึงการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศแบบดิจิตอลสามารถใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ได้ นับว่าเป็น การติดอาวุธให้พลเมืองการปกป้องสิทธิของตนเอง

ในยุคปัจจุบัน การรู้เท่าทันสื่อ ไม่ได้จำกัดความสื่อ เพียงแค่สื่อต่างๆ หรือ Media เท่านั้น แต่การรู้สารสนเทศ แต่รวมถึงการรู้เท่าทันสารสนเทศหรือ information และชื่อที่ตั้งด้วยคำว่าการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอลหรือ  (MIDL)    Media information และ Digital literacy การรู้เท่าทันสื่อและสื่อมวลชน ซึ่งแรกที่ควรรู้ก็คือ สื่อโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียงโฆษณาต่างๆ หนังสือพิมพ์การรู้เท่าทันสื่อ ความสามารถในการวิเคราะห์และเข้าใจรูปแบบการใช้สื่อเข้าใจเจตนาและผลประโยชน์แอบแฝงของเจ้าของสื่อ การไม่เชื่อสิ่งที่สื่อเสนอเป็นความจริงในทันที สามารถประเมินเนื้อหาที่มาคิดวิเคราะห์แยกแยะและรู้เท่าทันในสิ่งที่พูดเสนอสารและเจ้าของสื่อต้องการ ที่จะสื่อรวมไปถึงเข้าใจเทคนิคหลากหลาย การใช้สื่อหลากหลายรูปแบบสามารถผลิตสื่อใช้สื่อในการสร้างสรรค์เพื่อตนเองและสังคมได้

Information literacy การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศอย่างบทความในหนังสือข่าวงานวิจัยงานวิชาการข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆคือแม่แบบพิพิธภัณฑ์ข้อมูลความรู้เหล่านี้แม้จะดูเป็นข้อเท็จจริงมากๆแต่ก็เป็นสื่อที่ประกอบสร้างมา ประชาชนหรือพลเมือง จำเป็นต้องคิดวิพากษ์และวิเคราะห์สารเช่นเดียวกับสื่ออื่นๆ และรู้ว่าควรใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

รัฐเองก็ต้องส่งเสริมสิทธิการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้อย่างเท่าเทียมและสร้างความรู้ความเข้าใจในสารสนเทศรูปแบบต่างๆ โดยให้พลเมืองสามารถไปเหมือนความน่าเชื่อถือและหาข้อมูลจากในหลายแห่งมาโต้แย้งได้อย่างเป็นเหตุผลและมีจริยธรรม

Digital literacy  การรับรู้ในยุคปัจจุบันที่มนุษย์ ใช้ชีวิตเกินครึ่ง กับเทคโนโลยี ดิจิตอล ต่างมีอิสระในโลกอินเทอเนต กับปฎิสัมพันธ์อย่างไรพรมแดน ในยุคการสื่อสารดิจิตอล จึงมีการซับซ้อนมากกว่า กับการใช้สื่ออื่นๆ การรับรู้ให้เท่าทันโลกสื่อดิจิตอล จึงเป็นทักษะสำคัญอย่างยิ่ง

โลกสังคมเสมือนของเราถูกเบลอจากโลกแห่งความจริง  พลเมืองเมืองต้องสามารถใช้เหตุผลวิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริงมีความฉลาดทางอารมณ์และปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นเข้าใจการสร้างอัตลักษณ์ในโลกออนไลน์ และ ปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองได้ ต้องคำนึงว่าข้อมูลส่วนตัว หรืออะไรก็ตามที่ถูกโพสต์ลงในโลกดิจิตอลแล้ว ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะกำจัดลบร่องรอยเหล่านั้น นอกจากนี้ทางโลกดิจิตอล หมายถึงการที่พลเมืองหรือประชาชน ต้องเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นมีความเห็นอกเห็นใจ ไม่ใช่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการทำร้ายหรือโจมตีผู้อื่นในทางที่ผิดสามารถควบคุมอารมณ์และสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และที่สำคัญก็คือการจัดการตนเอง ให้รู้จัดการจัดการใช้สื่อดิจิตอลในความพอดี  ไม่หลงกับตัวตน ในการหลงอยู่กับตนเองและสังคมในโลกเสมือน จนลืมว่า ในโลกแห่งความจริง ชีวิตไม่ได้ดำเนินไปเหมือนโลกอินเทอเนต อุปนายกสื่อฯกล่าว

โดย…รพี มามะ บรรณาธิการข่าว

 

 895 total views,  4 views today

You may have missed