เวลา 10.00 น. (2 ก.ค.61) ที่โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดประธานเปิด “กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้าเคลื่อนที่” ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้าร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษา ภาครัฐ เอกชน และหน่วยราชการ รวมถึงชุมชุนในอ.สุไหงโก-ลกเข้าร่วมโดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น นิทรรศการผลงาน/หน่วยบริการ“โชว์ ช้อป เชิญ ชื่น ชิม”
พลเอก สุรเชษฐ์ กล่าวว่า การกระทรวงศึกษาธิการมีความตั้งใจจะให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพ มีสังคม การเรียนรู้ อย่างทั่วถึง ให้ดำรงชีวิตหรือเจริญเติบโตอยู่ในพื้นที่ๆ มีความน่ารัก มีวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ที่เราเรียกว่า สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างรู้รักสามัคคี ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ที่มีความทันสมัย
เพราะฉะนั้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาทางกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการในหลายๆ เรื่องที่มีความประสงค์ที่จะให้เกิดการรับรู้ความเข้าใจเพื่อให้การดำเนินการมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นต่อไป ถ้าจะเปรียบเหมือนการปลูกต้นไม้ เราก็ได้พยายามในการที่จะให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างเข้มแข็ง
“ถ้าจะเรียกสิ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญคือ รากแก้ว เราก็ได้ทำให้รากแก้วมีความแข็งแรงเกิดขึ้น ท่านอาจะได้ยินชื่อกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า หมายถึงว่า เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ได้กำหนดให้เกิดหน่วยงานในการที่จะทำงานร่วมกันในเรื่องของการศึกษา คล้ายกับการยกกระทรวงศึกษาธิการจากกรุงเทพฯมาไว้ที่นี่ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ “
การปลูกต้นไม้ให้เจริญเติบโตงอกงาม เข้มแข็ง เติบโตอย่างมั่นคง รากแก้วได้ลงไว้อย่างมีความก้าวหน้าแล้ว เพราะหน่วยงานที่เราเรียกกว่ากระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้านั้น ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นการทำงานร่วมกัน โดยเมื่อวันที่ 19 เม.ย.61 ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) หรือกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า เป็นหน่วยงานทางการศึกษาถาวรในพื้นที่ และมีกรอบอัตรากำลัง มีแผนงาน มียุทธศาสตร์การทำงาน ซึ่งจะมีการคัดเลือกผู้บริหาร และบุคลากรภายใน 2-3 เดือน และจะเริ่มงานในฐานะที่เป็นหน่วยงานภาวรที่อยู่ในพื้นที่ “นี่คือสิ่งที่ผมเรียกว่า เป็นรากแก้วที่จะทำให้ต้นไม้ของการศึกษาเจริญเติบโต ทั้งวันนี้ และวันหน้า อนาคต อย่างเข้มแข็ง เป็นการทำงานร่วมกันไม่ว่าจะหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการเอง หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านความมั่นคงที่ให้การดูแลเพื่อความปลอดภัย และหน่วยราชการต่างๆ ที่ได้ร่วมกันทำงาน ฉะนั้น วันนี้เป็นวันที่มีรากฐานที่มีความมั่นคงของการทำงานทางด้านการศึกษาในวันนี้”
พลเอก สุรเชษฐ์ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้าได้กำหนดให้ปีการศึกษา ปี 2561 เป็นปีการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม หลังจากที่มีการทำงานการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2558, 2559, 2560 และ 2561 ซึ่งถือว่าสูงสุดในช่วงรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งมีการดำเนินการโครงการต่างๆ หลายๆโครงการ ยกตัวอย่าง บางโครงการบางส่วนในปีนี้ (2561) มีโครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีให้กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า เพื่อที่จะดูแลเด็กนักเรียนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่มีรายได้ปีละไม่เกิน 30,000 บาท หรือผู้ที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐสามารถส่งบุตรหลานเข้าร่วมโครงการ
สำหรับกินกรรมในวันนี้เป็นหนึ่งในภารกิจของกระทรวงศึกษาส่วนหน้า ในการทำหน้าที่ผลิต พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความโดดเด่นทางด้านพหุวัฒนธรรม ยึดแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และทันสมัย ในวันนี้และอนาคต “โดยเฉพาะพื้นที่อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ถูกกำหนดเป็นพื้นที่เขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 1 ใน 10 พื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษหมายถึงพื้นที่ๆ ต้องการให้มีการพัฒนาเป็นกรณีพิเศษ ในการที่จะให้มีการเจริญเติบโตตามศักยภาพของพื้นที่”
โดยอ.สุไหงโก-ลก ถูกกำหนดให้มีกิจกรรมที่สนับสนุนการค้าชายแดน ซึ่งปัจจุบันมูลค่าการค้าชายแดนอ.สุไหง-ลก เมื่อรวมกับมูลค่าการค้าชายแดนของ อ.สะเดา จ.สงขลา เกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าชายแดนของประเทศในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น การกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษย่อมมีการพัฒนา และที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการวางแผนการเรียนหนังสือของเด็กๆ เยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับความถนัดและแนวทางการพัฒนา เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในพื้นที่ จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้าในการขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อตอบสนองการพัฒนา
นอกจากนั้น ก็ได้กำหนดให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน ซึ่งเมืองต้นแบบ 1 ใน 3 ก็คือ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เป็นเมืองต้นแบบการค้าชายแดนของประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกันของการพัฒนาที่จะทำให้เกิดการพัฒนาแบบคูณสอง ส่วนพื้นที่อื่นในโครงการ ก็จะมีที่อ.เบตง จ.ยะลา ซึ่งจะพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวต้นแบบ และ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ก็จะเป็นเมืองต้นแบบทางด้านการเกษตร จึงอยากให้เกิดการรับรู้เข้าใจร่วมกันว่า การเรียนการสอนก็จะต้องมีการพัฒนา การพัฒนาคนให้เป็นสอดคล้องกับการความต้องการของตลาด “เมื่อเรียนจบแล้ว มีงานทำ มีรายได้เลี้ยงตัวเอง เลี้ยงดูครอบครัว ผู้แลพื้นที่ พัฒนาพื้นที่ พัฒนาชุมชน” หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว
ก่อนที่ พล.อ.สุรเชษฐ์ จะเดินทางไปเยี่ยมนักเรียนในโครงการสานฝันการกีฬา ที่โรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เพื่อติดตามการขับเคลื่อนและการพัฒนาการศึกษาในพื้นจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยร่วมกับเด็กนักเรียนจากโรงเรียน 8 โรงที่ร่วมทำกิจกรรม จำนวน 250 คน ได้ทำการแปรอักษรหมายเลข 13 ที่บริเวณสนามฟุบอลภายในโรงเรียน พร้อมปฏิญาณตนเป็นเด็กดีของพระราชา และร่วมกันเพื่อส่งกำลังใจให้แก่เยาวชนและโค้ชทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่ รวม 13 คน ที่พลัดหลงถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมทั้งเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยเหลือเยาและโค้ชได้โดยเร็ว
ภาพ.สุไลมาน ยุ ข่าวโดย…กองบรรณาธิการ
1,040 total views, 4 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี