พฤษภาคม 1, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รมต.ซาอุ เดินทางถึงไทยแล้ว ร่วมประชุมวิชาการกระชับความร่วมมือจัดส่งแรงงานฝีมือ พร้อมย้อนดูยุทธศาสตร์แรงงานชายแดนภาคใต้

แชร์เลย

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน

#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์รายงานว่า

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2565 ดร.อัฎนัน อับดุลลาห์ อัล-นาอีม (Dr. ADNAN ABDULLAH M. ALNUIM) Deputy of minister for International affair กระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมซาอุดีอาระเบีย และคณะทางวิชาการของซาอุดีอาระเบีย ได้เดินทางมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว ด้วยสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ เที่ยวบินที่ QR838 โดยมี นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน ร่วมให้การต้อนรับ ทั้งนี้ ได้ปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันโควิด -19 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค.กำหนดอย่างเคร่งครัด

อย่างไรก็ตาม การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของคณะทางวิชาการซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 12-16 มีนาคมนี้ เพื่อมาปฏิบัติภารกิจสำคัญในการประชุมเชิงวิชาการเกี่ยวกับการจัดหางานแรงงานระหว่างกระทรวงแรงงานของไทยและกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมซาอุดี การนำเสนอระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจ้างงานและการออกวีซ่าของซาอุดี การประชุมหารือระหว่างสำนักงาน บริษัทจัดหางานไทยและซาอุดี รวมทั้งการเยี่ยมชมการฝึกอบรมและทดสอบฝีมือแรงงานอีกด้วย ซึ่งเป็นนิมิตรหมายอันดีที่จะกระชับสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความร่วมมือด้านแรงงานให้แน่นเฟ้นมากยิ่งขึ้น

ถือเป็นความคืบหน้าสำคัญอีกก้าวหนึ่งที่จะทำให้ทั้งสองประเทศสามารถจัดส่งแรงงานไปทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมส่งผลให้แรงงานมีรายได้และได้รับการคุ้มครองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

#ยุทธศาสตร์แรงงานชายแดนใต้

-โอกาสและศักยภาพในการขยายความร่วมมือ

กลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสและศักยภาพในการขยายความร่วมมือ มี ๔ ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 คนไทยที่เกิดในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียแล้วเดินทางกลับมายังประเทศไทย
๑. มีความรู้และความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอาหรับเป็นอย่างดีเหมาะแก่การจะทำงานภาคบริการให้แก่คนซาอุดีอาระเบียหรือคนในประเทศแถบตะวันออกกลางที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ๒. มีความเข้าใจในด้านวัฒนธรรมนิสัยใจคอของชาวอาหรับเป็นอย่างดีซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่สำคัญสำหรับงานภาคบริการ

ประเภทที่ ๒ คนไทยที่ไปศึกษาในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียและประเทศในแถบตะวันออกกลาง
มีความสามารถในด้านการสื่อสารภาษาไทยและภาษาอาหรับเป็นเป็นอย่างดี และถือเป็นข้อได้เปรียบ ในการเตรียมคนสำหรับการพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ

ประเภทที่ ๓ กลุ่มคนที่ต้องการไปทำงานในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
๑. เป็นกลุ่มคนที่มีทักษะด้านการประกอบอาชีพอยู่แล้วเช่นช่างตัดเย็บเสื้อผ้าพนักงานขับรถสาธารณะ ช่างยนต์ เป็นต้น
๒. อัตลักษณ์ความเป็นไทยเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวต่างชาติ โดยเฉพาะทักษะในงานฝีมือช่าง ความประณีตเรียบร้อย
ประเภทที่ ๔ กลุ่มบัณฑิตที่จบการศึกษาในประเทศไทยในหลักสูตรภาษาอาหรับ หรือหลักสูตรที่สามารถ สื่อสารภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษได้
๑. เป็นกลุ่มคนที่มีทักษะด้านองค์ความรู้ที่ศึกษามาเฉพาะด้านถือได้ว่ามีความพร้อมเป็นแรงงานที่มีฝีมือ ๒. เป็นกลุ่มคนที่มีความพร้อมในการเผยแพร่อัตลักษณ์ความเป็นไทยเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวต่างชาติ

แนวทางการพัฒนาความร่วมมือ

๑. เสริมทักษะและองค์ความรู้ที่จำเป็นแก่แรงงานไทยในด้านการนำเที่ยวให้แก่คนไทยท่ีเกิด ในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียแล้วเดินทางกลับมายังประเทศไทย
๒. เสริมทักษะและองค์ความรู้ที่จำเป็นแก่แรงงานไทยในด้านต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพ ด้าน การโรงแรม
๓. สร้างเครือข่ายผู้ประกอบกิจการไทย-ซาอุดีอาระเบียในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การแพทย์ และการโรงแรม
๔. ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ท่ีดีของแรงงานไทยให้ชาวต่างชาติรับรู้ ๕. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมไทย – ซาอุดีอาระเบีย

ข้อเสนอโครงการพัฒนาความร่วมมือ ระยะเร่งด่วน

๑. การอบรมเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ด้านวิชาชีพระยะสั้นโดยเน้นภาคบริการกลุ่มผู้ช่วยพยาบาล แพทย์แผนไทย และสปา
๒. การอบรมเสริมสร้างทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ให้แก่คนไทยที่เกิดในราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบียแล้วเดินทางกลับมายังประเทศไทย
๓. เสริมสร้างโอกาสในการศึกษาโดยจัดให้มีหลักสูตรเฉพาะสาหรับคนไทยที่เกิดในราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบียแล้วเดินทางกลับมายังประเทศไทย เพื่อให้มีวุฒิการศึกษาของไทย
๔. การอบรมเสริมสร้างทักษะการใช้ภาษาอาหรับเฉพาะทางในด้านต่างๆอาทิด้านการแพทย์การ ท่องเที่ยว และธุรกิจ ให้แก่คนไทยที่ไปศึกษาในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และประเทศในแถบ ตะวันออกกลาง
๕. การจัดอบรมแรงงานก่อนส่งไปทำงานในต่างประเทศ

ระยะถัดไป

๑. การเร่งรัดให้เกิดการลงนามในบันทึกข้อตกลงด้านแรงงานร่วมกันระหว่างไทยกับ ซาอุดีอาระเบีย
๒. เร่งรัดให้มีการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพต่าง ๆ ของแรงงานในประเทศ
๓. พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาและการฝึกอบรมทักษะอาชีพระยะสั้น
รองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการยอมรับในระดับสากล เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
๔. ส่งเสริมและพัฒนาวิศวกรรมด้านพลังงานทดแทน
๕. สนับสนุนให้สามารถนาวุฒิการศึกษาของซาอุดีอาระเบียมาเทียบวุฒิการศึกษาของไทย
เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลในยะยาว

หมายเหตุ ลิ้งค์ ยุทธศาสตร์9ด้านสำหรับชายแดนภาคใต้หนุนความสัมพันธ์ใหม่ไทย-ซาอุดีอาระเบียที่ทุกภาคส่วนช่วยจัดทำภายใต้การหนุนเสริมของศอ.บต.

https://anyflip.com/fbrtk/kbav/

 6,141 total views,  2 views today

You may have missed