พฤษภาคม 4, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ยะลา”ผลิตถ่านอัดแท่งออแกนิค” แนวคิดของผู้ใหญ่บ้าน ที่อยากจะสร้างงานสร้างอาชีพให้กับเยาวชนและชาวบ้านในชุมชนที่ตนรัก

แชร์เลย


วันนี้ 9 มี.ค. 65 ณ สถานที่ผลิตถ่านอัดแท่งออแกนิคบาโงยซิแน บ้านบูเกะ หมู่ 2 ต.บาโงยซิแน อ.ยะหา จ.ยะลา
โดยมี นายอดินันต์ นือเร็ง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่2 บ้านบูเกะ ต.บาโงยซิแน พร้อมด้วย ร.อ.พงศกร จันทะรัตน์ ทหารพราน 4706 และกลุ่มเยาวชนบ้านบูเกะบาโงยซิแน

ซึ่งเป็นแนวคิดของผู้ใหญบ้าน จัดตั้งสถานที่ผลิตถ่านอัดแท่งออแกนิคบาโงยซิแน กลุ่มเยาวชนบ้านบูเกะบาโงยซิแน คือที่ตั้งของกลุ่มเยาวชนบ้านบูเกะบาโงยซิแน กลุ่มดังกล่าวนี้ได้มีการผลิตถ่านไร้ควันแบบอัดแทงจำหน่ายในพื้นที่และทางสื่อโซเชียล เพิ่งจัดตั้งกลุ่มเพียงไม่นาน ก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าได้เป็นอย่างดีเลย

ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า หากเราพูดถึงเรื่องพลังงานทางด้านเชื้อเพลิง “ถ่าน” ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในครัวเรือน ในการประกอบอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง โดยเฉพาะอาชีพค้าขาย เป็นต้น ที่ต้องใช้ถ่านเป็นประจำ เมื่อหลายปีก่อน คนเราจะคุ้นเคยและเคยชินกับถ่านไม้เท่านั้น ซึ่งได้จากการนำแท่งฟื้นไม้ มาเผาเป็นถ่าน น้อยคนจะทราบว่าถ่านอัดแท่ง ที่ผลิตขึ้นมาจากเศษวัชพืช และเศษวัสดุตามธรรมชาติต่างๆ ก็สามารถนำมาใช้งานได้ดีไม่แพ้ถ่านไม้เลยล่ะครับ เพลอๆอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ

ซึ่งกลุ่มเยาวชนบ้านบูเกะบาโงยซิแนแห่งนี้ การผลิตถ่านไร้ควันอัดแท่ง มีสวนผสมดังนี้ก็จะประกอบด้วยเศษ ถ่านหรือผง, ถ่าน10กิโลกรัม,แป้งมัน1กิโลกรัม,น้ำ3ลิตร
(ปริมาณน้ำสามารถปรับได้ขึ้นอยู่กับความชื้นของวัสดุ)
ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตก็จะมีเครื่องผสม,เครื่องบด,และเครื่องอัดแท่งถ่าน
ขั้นตอนการทำเอาอย่างละนิด เมื่อผ่านขั้นตอนการผสมเศษถ่าน แป้งมันสำปะหลัง น้ำ เข้าด้วยกันแล้ว จะใช้เครื่องผสมหรือโม้ ในการผสมคลุกเคล้าให้ทุกอย่างเข้ากัน แล้วนำไปบดละเอียด และอัดขึ้นรูปเป็นแท่ง จากนั้นนำถ่านอัดแท่งไปตากแดดเป็นเวลา1วัน จนแห้ง แล้วก็จะนำไปบรรจุถุง พร้อมจำหน่ายได้เลย ถึงแม้ว่า ถ่านอัดแท่งในปัจจุบัน อาจยังมองเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายคน เพราะส่วนใหญ่นิยมใช้แก๊สหุงต้มแต่ในอนาคตไม่ไกลข้างหน้าถ้าวันหนึ่งไม้หมดหรือไม่เพียงพอ ปัญหาจะตามมาอย่างแน่นอนดังนั้นเพื่อเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ให้กลับมามีประโยชน์และคุณค่าอีกครั้งการหาพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนพลังงานหลักที่มีราคาสูง“ถ่านอัดแท่ง”จึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามถึงแม้เครื่องจักรจะมีราคาสูงแต่ในปัจจุบันมีงานวิจัยและพัฒนาด้านเครื่องอัดถ่านสำหรับชุมชน รวมทั้งพัฒนาด้านส่วนผสมในการลดต้นทุนซึ่งก็น่าจะทำให้ถ่านอัดแท่งกลับมามีความน่าสนใจในการประกอบอาชีพอยู่ไม่น้อยขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะลงมือทำก่อนเท่านั้น
(สนใจติดต่อ) นายอดินันต์ นือเร็ง T. 080-61688839
ภาพ/ข่าว
อับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา

 13,152 total views,  2 views today

You may have missed