พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

บทเรียนจากแคนาดา: กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative justice) ผ่านมาตรการทางเลือกต่าง ๆโดยSarah Morales,Associate Prof. of Law ,University of Victoria,Canada

แชร์เลย

 

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2564
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) :รายงาน
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
#ภาพรวมของประเทศแคนาดา

ประเทศแคนาดาปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระ ราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ เป็นพระประมุขสูงสุด ประเทศแคนาดาจึงได้รับอิทธิพลทางการเมืองทั้งจาก อังกฤษซึ่งเป็นเมืองแม่เดิมและจากประทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านสาคัญที่ตั้งติดกันอยู่ ทางทิศใต้ ประเทศแคนาดามีรูปแบบการปกครองเป็นแบยสหพันธรัฐ(Confederation) ซึ่งหมายความ ว่า นอกจากจะมีการจัดตั้งรัฐบาลกลาง (Federal Government) แล้วอำนาจการบริหารจะมีการจัดสรร ให้รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละมลรัฐ (Provincial Government) โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น ๑๐ มลรัฐ (Province) และ ๓ เขตปกครองพิเศษ (Territory)
มลรัฐในแคนาดามีความเป็นอิสระในการบริหารกิจการภายในของตนเอง เนื่องจากสภานิติบัญญัติของรัฐมาจากจากการเลือกตั้งและมีการตั้งรัฐบาลมาบริหารงานของมลรัฐ
รวมทั้งมีรายได้ของตัวเอง
#กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เป็นกระบวนการที่สําคัญในการดําเนินการ เพื่อแก้ไขความขัดแย้งของบุคคลให้ได้รับความเป็นธรรม อันเกิดจากกระบวนทัศน์ความยุติธรรม ที่เป็นปรัชญา แนวคิด ทฤษฎี และกลวิธีในการเยียวยาเพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีระหว่าง เหยื่ออาชญากรรม ผู้กระทําผิด และชุมชนขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยมุ่งเน้นให้ความสําคัญกับการมอง อาชญากรรมในมิติที่ว่าอาชญากรรมเป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างบุคคล (interpersonal conflict) ซึ่งเป็นการมองในมิติเชิงซ้อนที่แตกต่างไปจากกระบวนทัศน์หรือวิธีคิดเดิม

คําว่า “ความยุติธรรม (justice)” ใหม่ เป็นความยุติธรรมที่ให้ความสําคัญและยอมรับอย่างให้เกียรติ (respect) ต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล ชุมชน สังคม

ซึ่ง แต่ละคน ชุมชนก็จะให้ความหมายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ทางสังคม(socialization) และบริบททางสังคม นั้น ๆ มัน ย่อมขึ้นอยู่กับมุมมองและจุดยืน (standpoint) ของแต่ละคน แต่ละชุมชน อยู่ที่ว่าในขณะนั้นใครเป็นผู้มีอํานาจในการกําหนดความหมายของ “ความยุติธรรม”
สําหรับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นกระบวนการที่ให้ความสําคัญกับผู้เสียหายเป็นอันดับแรกๆ ดังนั้นผู้เสียหายจึงมีอํานาจในการกําหนด ความหมายของความยุติธรรม โดยจะบอกว่าความยุติธรรมที่ตนต้องการคืออะไร
จากเหตุผลดังกล่าว ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อความต้องการของ ผู้เสียหายได้รับการตอบสนอง ซึ่งความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์จึงเกิดจากการเปลี่ยนแนวคิดและ วิธีคิดที่มีต่ออาชญากรรมและการตกเป็นเหยื่อหรือผู้เสียหาย
#กล่าวโดยสรุปความแตกต่างได้จากเดิมที่มองว่า อาชญากรรมเป็นการกระทําที่ต่อต้านหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐ รัฐต้องเข้ามาดําเนินการ เหยื่อหรือ ผู้เสียหายไม่มีส่วนในกระบวนการ แต่ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มองว่า อาชญากรรมเป็นการกระทํา ที่ต่อต้านหรือเป็นปฏิปักษ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคล ระหว่างผู้กระทําผิดและเหยื่อหรือผู้เสียหาย ดังนั้นความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์จึงมุ่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยให้ผู้กระทําผิดได้แสดง ความรับผิดชอบในการกระทําของเขา และให้ความช่วยเหลือหรือบรรเทาผลร้ายแก่เหยื่อ หรือผู้เสียหายโดยมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่ให้คู่กรณีรู้สึกว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ยุติ แต่ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ก็ตระหนักถึงความจําเป็นที่จะปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดด้วยหลักการ ยอมรับ ให้มีการยอมรับและการบูรณาการโดยให้โอกาสเขาเหล่านั้นเข้าสู่ชุมชนด้วยการปรับพฤติกรรมของเขาให้เป็นผู้ที่เคารพกฎหมาย ความยุติธรรมในกระบวนทัศน์ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ จึงได้มาโดยการพูดคุยกันและทําข้อตกลงร่วมกัน

สิ่งที่พบจากกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ๑) ให้ความสําคัญเรื่องการเยียวยาความเสียหายแก่เหยื่อหรือผู้เสียหายและ ชุมชนที่ตกเป็นเหยื่อมากกว่าการให้คุณค่าในเรื่องการลงโทษผู้กระทําผิด
๒) ยกระดับความสําคัญของเหยื่อหรือผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมให้ มากขึ้น ทั้งการเข้ามามีส่วนร่วม และการให้บริการหรือให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อหรือผู้เสียหาย
๓)เรียกร้องให้ผู้กระทําผิดแสดงความรับผิดชอบโดยตรงต่อบุคคล และหรือ ชุมชนที่ตกเป็นเหยื่อหรือได้รับความเสียหายจากการกระทําของเขา
๔)กระตุ้นและสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้องในการแสดง ความรับผิดชอบของผู้กระทําผิด และให้การช่วยเหลือสนับสนุนในการตอบสนองความต้องการ ของเหยื่อหรือผู้เสียหายและผู้กระทําผิด
๕)ให้ความสําคัญกับการที่ผู้กระทําผิดแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทํา ของเขา และการชดใช้ หรือบรรเทาผลร้ายจากการกระทําผิดมากกว่าการลงโทษอย่างเฉียบขาด
๗)ตระหนักถึงความรับผิดชอบของชุมชนในการปรับพฤติกรรมของ ผู้กระทําผิด ทั้งนี้ เพราะมองว่าอาชญากรรมอยู่ในบริบทของสังคมและมีความสัมพันธ์กับ องค์ประกอบอื่น ๆ ของสังคม (ไม่ใช่เป็นระบบปิดที่แยกส่วนออกมาจากสังคม)
ดังนั้น การดําเนินการตามแนวคิดของความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์จึงต้อง มีการทํางานร่วมกันจากหลายภาคส่วนระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ผู้กระทําผิด เหยื่อหรือผู้เสียหาย และ ชุมชน

หมายเหตุ
1.สถาบันพระปกเกล้า จัดอบรม “หลักสูตรอบรมระยะสั้น” ( Conflict Transformation) ทั้งนี้หลักสูตรดังกล่าว เป็นการจัดร่วมกันระหว่าง สถาบันพระปกเกล้า มูลนิธิวิเทศพัฒนา (The Development Cooperation Foundation) และ The Centre for Asia Pacific Initiatives (CAPI), University of Victoria, Canada โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้ตระหนักรู้เรื่องหลักการของเพื่อปรับแนวคิด และมีเครื่องมือการบริหารให้พร้อมรับมือกับความขัดแย้งด้วยทักษะที่เหมาะสม เช่น แนวคิดพหุวัฒนธรรม แนวคิดเรื่องการบริหารจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม แนวคิดด้านยุติธรรมสมานฉันท์ แนวคิดเรื่องการเจรจาไกล่เกลี่ยในประเด็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ เป็นต้น และเพื่อนำแนวคิด Conflict Transformation ไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้และสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ทางเลือกที่สร้างสรรค์ได้ มีผู้เข้ารับการศึกษาอบรม จำนวนทั้งสิ้น 104 คน เรียนต่อเนื่องทุกวันพฤหัสบดี ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม 2564
และอ่านย้อนหลังใน
https://share.csitereport.com/share.php?post_id=0000020843
2.ประมวลภาพและเอกสารประกอบการบรรยายสามารถอ่านได้ใน https://www.facebook.com/1245604111/posts/10227163364530383/?d=n

 29,211 total views,  4 views today

You may have missed