อาลีฟ มามะ รายงาน
เวลา 13.00 น.-16.00 น. 14 ตุลาคม 2564 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดเสวนา “ฝ่าวิกฤตฺดควิด-19 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้” ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “โอกาสและข้อจำกัดการร่วมพัฒนา เศรษฐกิจ ไทย-มาเลเซีย บริเวณเขตแดนเชื่อมต่อของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับ 5 รัฐ ของประเทศมาเลเซีย ”
โดยมี นางวริยา ภิสัชเพ็ญ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภาคแผนงาน IMT-GT (CIMT) , ดร.ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ , นายสุมิตร กาญจนัมพะ กรรมการบริษัท เอสแพ็ค แอนด์ พริ้นท์ จำกัด (มหาชน) และรองนายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา , นายอาทิตย์ วิสุทธิสมาจาร อดีตนายด่านศุลกากรสะเดา
นางวริยา ภิสัชเพ็ญ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภาคแผนงาน IMT-GT (CIMT) กล่าวว่า IMT-GT จะเน้นเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพราะว่าการเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะท่าเรือ หรือด่านต่างๆ รวมไปถึงการสร้างถนน สร้างสะพานต่างๆ จะเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ซึ่งเป้าหมายหลัก คือการเพิ่มหรือสร้างรายได้ให้กับประชากรในพื้นที่ ปัจจัยเดิมของ IMT-GT เราเน้นจังหวัดที่มีรายได้น้อย และไม่เจริญมาก เพื่อเข้าไปช่วย ตอนนี้มีโครงการต่างๆมากมาย โดยของไทยเรา มีในเรื่องของสนามบินเบตง ที่เป็นโครงการใหม่เข้ามา และมีความก้าวหน้า ตัวนี้สามารถเป็นจุดเด่นของภาคใต้ตอนล่างได้
IMT-GT มองว่า ประเทศมาเลเซีย เป็นตัวกลางที่จะเชื่อมระหว่างประเทศไทย กับประเทศอินโดนีเซียได้ ซึ่งอินโดนีเซียมีความน่าสนใจคือ ถนนไฮเวย์ ของอินโดนีเซีย แต่อินโดนีเซียมีปัญหาในเรื่องของขนส่ง ถนนน้อย มี project ของเกาะสุมาตรา เป็นถนนยาวไปถึงครึ่งเกาะ ทำให้นักธุรกิจทั้งอินโดนีเซีย และมาเลเซียมีมุมมองที่จะช่วยให้สุมาตรามีความเจริญมากขึ้น
ประเทศมาเลเซียมีด่านที่ติดกับประเทศไทย โดยติดกับ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีช่องที่จะเชื่อมโยงกันถึง 7 ช่องทาง ภายใต้ 7 ช่องทางนี้ ก็มีในเรื่องของการพัฒนาแนวพรมแดนต่างๆ มีโครงการที่อยู่ในความดูแลของ IMT-GT เป็นพื้นที่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ
โครงการด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ทางททท. กระทรวงการท่องเที่ยวไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ร่วมกันทำในเรื่องของการส่งเสริมการตลาด และโพสต์ลงในช่องทางของกระทรวงการท่องเที่ยวมาเลเซีย โดยมาเลเซียเป็นเจ้าภาพให้ และมีในเรื่องของดิจิตอล โดยมีเว็บไซต์ของภาคใต้ ที่ขายอาหารฮาลาลเท่านั้น และมาร่วมกับ IMT-GT เป็น IMT-GT E-Commece ในอนาคตก็อาจจะช่วยการตลาด
ในปีนี้ทาง IMT-GT มีการเซ็นลงนาม MOU เพื่อจะได้ร่วมมือพัฒนาร่วมกัน และเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยว ของจีโอพาร์ค (Geopark) สตูล , ลังกาวี , Lake Toba ทั้งสามแห่ง ทางยูเนสโก (UNESCO) จีโอพาร์ค (Geopark)
ดร.ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวว่า ประเทศมาเลเซียมีความมั่นคงทางการเมือง ในขณะที่ไทยมีนโยบายในเรื่องของการเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า เน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม
รวมไปถึงกลุ่มอาเซียนโดยรวมในปี 1990 ไทยและมาเลยเซีย เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ จนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม ในส่วนของเศรษฐกิจที่ขยาย ทำให้เกิดความมั่งคั่ง มั่นคง ในภูมิภาค ควบคู่การการลดปัญหาความยากจน
นายอาทิตย์ วิสุทธิสมาจาร อดีตนายด่านศุลกากรสะเดา กล่าวว่า ต้องการเห็นรถไฟทางคู่ จากหาดใหญ่ ไปสุไหงโก-ลก เชื่อมต่อกับตุมปัด ไปโกตาบารู เพื่อไปเชื่อมกับโจโฮร์บะฮ์รู เพื่อไปสิงคโปร์ และสามารถกลับมาที่ปาดังเบซาร์ ซึ่งเป็นเส้นทางทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ราชกาลที่ 5
นายสุมิตร กาญจนัมพะ กรรมการบริษัท เอสแพ็ค แอนด์ พริ้นท์ จำกัด (มหาชน) และรองนายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ประเทศคู่ค้า อย่างมาเลเซีย ก็มีข้อจำกัดมากมาย มีอุปสรรค์ทางการค้าต่างๆ อาทิ ภาษี เป็นต้น ปัจจุบันทำให้คลี่คลายลง
การส่งเสริมการลงทุน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ แนวชายแดน ไทย –มาเลเซีย ทั่วประเทศมี 10 เขต ในส่วนของภาครัฐมีการสนับสนุน โปรโมท จนถึงปัจจุบัน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมการ คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565
ในส่วนของกิจการที่จะนำมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ แนวชายแดน ไทย –มาเลเซีย ไม่ใช่เรื่องง่าย การทำการตลาดต้องทำอย่างเข้าใจ ก่อนที่จะชวนเขาเข้ามา ต้องเข้าใจในธุรกิจนั้นๆ การที่จะดึงสักกิจการหนึ่ง อาจจะอยู่ไม่ได้ นอกจากการได้รับการสนับสนุนจากเครืออื่นๆ เราต้องพิจารณาดูให้ดี
3,658 total views, 2 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี