เมษายน 24, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รู้จัก เจ๊ะเห ตาบา ตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมืองชายแดนไทย-มาเลเซีย ร่วมทีมถอดบทเรียนกับสถาบันพระปกเกล้า

แชร์เลย

เรื่องเล่าโดย รพี มามะ บรรณาธิการ

(8 เม.ย.2564) ผู้เขียนได้รับเชิญ จากสถาบันพระปกเกล้า ในฐานะอุปนายกบริหารสมาคมสื่อมวลชน ผู้สื่อข่าวในพื้นที่ละคณะที่ปรึกษา ศอ.บต .และในฐานะเป็นคณะกองเลขานุการ ประสานงานระดับบพื้นที่ ร่วมกับผู้นำศาสนา อดีตข้าราชการ ผู้นำชุมชน ผู้ทางการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ร่วม 10 ท่าน เพื่อร่วมถอดบทเรียน อันเป็นผลงานส่วนหนึ่ง เพื่อสู่งานวิจัยเป็น ชุมชนสันติสุข บ้านเจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส สถาบันพระปกเกล้า ณ.ศาลาบ้านพักนายอำเภอตากใบ

ในการถอดบทเรียน ได้มีการหยิบยกประเด็น การอยู่ร่วมกันของคนในพื้นที อ.ตากใบ ก่อนปี 2545 และไล่เรียงจนถึงปี 2547 ที่มีเหตุจลาจลม็อบตากใบ จ.นราธิวาส จนเป็นเหตุให้ผู้เสียชีวิตหลายราย

จากประเด็นถอดบทเรียน พอสรุป ทุกคนไม่ยากเห็นการสูญเสีย และให้เกิดเหตุซ้ำเหมือนเคยเกิดขึ้นในอดีต และแสวงหาความร่วมมือทุกฝ่าย ลดช่องว่าง เพื่อให้เกิดสงบสุขในทุกมิติของพื้นที่ โดยเฉพาะการเน้นในอยู่ร่วมกัน ความเข้าใจ ในเรื่องของพหุวัฒนธรรม การสร้างบรรยากาศลดความระแวง เชื่อมความสามัคคี ทั้งพุทธมุสลิม ที่มีจุดแข็งที่ร่วมอยู่กันมานับร้อยๆ ปี มีวัฒนธรรมที่เข็มแข็งร่วมถึงข้อเสนอ ให้ภาครัฐ เข้าถึง ประชาชน สอดคล้องกับบริบทพื้นที่  ฯลฯ

ย้อนดู อำเภอตากใบ ได้จัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2452 (ร.ศ.128) แต่เดิมสมัยครั้งที่รัฐกลันตันอยู่ในการปกครองของไทย พื้นที่อำเภอตากใบขึ้นอยู่ในการปกครองของเมือง กลันตัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ไทยต้องเสียดินแดนบางส่วนให้แก่อังกฤษ ในสมัยที่ปกครองมลายู ซึ่งรวมกับรัฐกลันตันด้วย และอังกฤษพยายามจะผนวกดินแดนส่วนของอำเภอตากใบเข้าไปอยู่ในเมืองกลันตัน แต่ทางไทยก็พยายามหาเหตุผล และข้อเท็จจริงมายืนยันต่ออังกฤษว่า เมืองนราธิวาสจนถึงตากใบ เป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยมาแต่เก่าก่อนตั้งแต่สมัยโบราณนับเป็นร้อย ๆ ปี โดยอ้างเอาวัดชลธาราสิงเห ซึ่งเป็นวัด ที่ชาวไทยได้สร้างขึ้นมานับร้อยปีแล้ว เป็นหลักฐานยืนยันว่าชาวไทยที่อยู่ที่ตากใบมานาน ร่วมกับชาวมลายูพื้นที่ ในที่สุดรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองมลายูก็จำยอมด้วยเหตุผล ดังนั้นจึงได้ทำสนธิสัญญา ตาบาขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 (ร.ศ.127) เพื่อตกลงเรื่องอาณาเขตระหว่างไทยกับมลายู โดยกำหนดเอาแม่น้ำสุไหงโกลกเป็นเส้นกั้นอาณาเขตการปกครอง และให้ตากใบขึ้นอยู่กับเมืองระแงะ มณฑลปัตตานี ของประเทศไทย

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริ ให้ย้ายศาลากลางว่าการเมืองระแงะ มาตั้งอยู่บ้านมะนาลอ และได้พระราชทานชื่อเมืองเป็น “เมืองนราธิวาส” และตากใบได้เปลี่ยนมาเป็นอำเภอตากใบ ของจังหวัดนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน

คำว่า “ตากใบ” ตามประวัติกล่าวว่า มีคนชื่อ ตาบา มาตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่เป็นคนแรก ต่อมามีคนมาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น กลายเป็นหมู่บ้านซึ่งเรียกกันว่า “บ้านตาบา” อยู่ในตำบลเจ๊ะเห และได้เรียกเพี้ยนมาเป็น “ตากใบ” ต่อมาเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2452 (ร.ศ.128) ได้ประกาศกฤษฎีกายกฐานะตำบลเจ๊ะเห ตั้งเป็นอำเภอเรียกว่า “อำเภอตากใบ” ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่ หมู่ที่ 3 ตำบลเจ๊ะเห มีขุนสมานธาตุวิสุทธิ์ (เปลี่ยน กาญจรันย์) เป็นนายอำเภอตากใบคนแรก

 

 

 1,722 total views,  2 views today

You may have missed