พฤษภาคม 17, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

จะมีใครต้องรับผิดชอบนำ้ท่วมเพราะน้ำเขื่อนบางลาง !?

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


ข่าวนำ้ท่วมจังหวัดยะลาปีนี้หนักมากๆ หลังจากเขื่อนบางลางระบายนำ้จนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหูว่า “น่าจะมีการจัดการนำ้ดีกว่านี้ไหม?และสมควรใครจะออกมารับผิดชอบไหม?หากเราติดตามข่าวพบว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 06.30 น. ของวันที่6 มกราคม 2564 ระดับน้ำในเขื่อนบางอยู่ในระดับที่ 115.5 ล้าน ลบ.ม. เจ้าหน้าที่ได้ทำการเปิดประตูระบายน้ำล้น สปิลเวย์ (spillway) เพื่อระบายน้ำในเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลาโดยมีนายสมชาย จันทร์เย็น หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง พร้อมด้วยนายเฉลิมชัย ตรีนรินทร์ ผอ.สำนักงานชลประทานที่ 17 นายชูศักดิ์ สุทธิ ชลประทานยะลา นายธราวุธ ช่วยเกิด นายอำเภอบันนังสตา ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี และหน่วยงานบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดยะลา และปัตตนี้ ได้เปิดวอลรูม เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในพื้นที่เป็นการเร่งด่วน เพื่อพิจารณาปริมาณน้ำในเขื่อนบางลาง(อ้างอิงจาก https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_5680241)
จริงอยู่นำ้ท่วมครั้งนี้ชาวบ้านในพื้นที่ อ.บันนังสตา และอำเภอใกล้เคียงใน จ.ยะลา แห่เดินทางมาจับปลากันอย่างคึกคัก หลังทราบว่า เขื่อนบางลางได้มีการปล่อยน้ำซึ่งชาวบ้านที่มาจับปลา จะดักรออยู่ที่สะพาน มีทั้งการใช้เรือ เจ็ตสกี พร้อมทั้งใส่ชูชีพ เมื่อปลาหลุดผ่านประตูระบายน้ำมา ปลาจะอยู่ในสภาพน็อกน้ำ เนื่องจากมีแรงดันน้ำที่สูงมาก และเชี่ยวกราก นักจับปลาจะกระโดดลงไปในน้ำ ท่ามกลางน้ำที่เชี่ยวตรงเข้าไปจับปลา ท่ามกลางกองเชียร์ และบรรดาผู้คนที่เดินทางมาชม บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก

สำหรับปลาที่จับได้ที่เขื่อนบางลาง ส่วนใหญ่เป็นปลาบึก และปลากดเหลือง ซึ่งขนาดของปลาที่จับได้ ปลาบึกมีขนาด 10-30 กิโลกรัมขึ้นไป ไม่ใหญ่มาก เนื่องจากมีการเปิดประตูระบายน้ำเพียง 1.2-1.6 เมตร ราคาปลาบึกที่ขายอยู่ที่ กก.ละ 70-100 บาท ซึ่งแตกต่างจากเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา เขื่อนบางลางมีการเปิดประตูระบายน้ำล้นสปิลเวย์เช่นกัน ปลาบึกที่ชาวบ้านจับได้ ส่วนใหญ่น้ำหนักประมาณ 200-300 กก. เลยทีเดียว(อ้างอิงจาก https://www.thairath.co.th/news/local/south/2007720และสามารถดูคลิปการจับปลาใน https://fb.watch/2StbDjt-U7/)
น้ำท่วมครั้งนี้
ชาวบ้านบางท่าน(ไม่ขอเปิดเผยชื่อ) ให้ทัศนะว่า
“ขอพื้นที่ระบาย….จากวิกฤตที่เกิดขึ้นในพื้นที่สุดท้ายแล้ว ชาวบ้าน/ประชาชนต้องช่วยกันเอง?ครั้งนี้ รัฐเตือนภัยประชาชนว่าจะปล่อยน้ำเขื่อน แต่รัฐไม่มีมาตรการป้องกัน/เยียวยาให้กับประชาชน ทั้งก่อนและหลังความเสียหาย”
บางท่านสะท้อนว่า “เขื่อนบางลางเขาบอกไหมว่าจะปล่อยน้ำกี่วันปริมาณเท่าไรและส่งต่อข้อมูลในแต่ละอำเภอพื้นที่รับนำ้เตรียมการในการระบายน้ำและแจ้งเตือนประชาชนให้พร้อมอย่างไร ดูแล้วมันขาดๆกระบวนการอย่างไรไม่รู้?”
บางท่านถามหาหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงเช่นสะท้อนว่า “เวลา น้ำท่วม คนมักจะตามหา นักการเมือง เพื่อ ถามถึง ถุงยังชีพ

แต่ เราไม่เคยมีคำถาม ไม่ตามหา ข้าราชการประจำในนาม #กรมชลประทาน ,#การไฟฟ้า ซึ่งเป็นคนมี หน้าที่ ดูแลการจัดการน้ำโดยตรง หรือแม้กระทั่งหน่วยงานที่รัฐบาลจัดตั้งโดยตรง
คือ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.)โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานซึ่งมีส่วนร่วมการบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ ด้านทรัพยากรน้ำ 38 หน่วยงาน
(ซึ่งนายกรัฐมนตรีเคยออกมาสัมภาษณ์ชื่นชม
https://www.prachachat.net/economy/news-168935)
ข้อสังเกตของชาวบ้านครั้งนี้
ชาวบ้านท่านหนึ่งตั้งข้อสังเกต ว่า “จะเห็นได้ว่าคนที่กระทบมากที่สุดชาวบ้านที่ไม่อยู่ในเมืองหรือชานเมือง​ เช่น​ ท่าสาป​ ยุโป มัรกัส​ยะลา จารู​ อันเสมือนเป็นพื้นที่ที่เสียสละให้น้ำท่วมและไหลผ่าน​ เพื่อไม่ให้กระทบต่อเศรษฐกิจ​ส่วนในเมืองโดยผ่านการจัดการน้ำฝีมือนักวิชาการ​ เช่น​ เขื่อนกั้นแม่น้ำปัตตานี​ ที่กันไม่ให้น้ำล้นข้ามเขตเทศบาลเมือง​ โดยคนเมืองได้แค่ยืนมองบนสันเขื่อน​ แล้วอุทานว่า “โอ้.. น้ำเยอะจัง.. “…การเสียสละทั้งหลายที่แลกกับทุกๆ​ อย่างของบุคคลเหล่านี้​ มันเพียงพอแล้วหรือครับ​กับการตอบแทนพวกเขาด้วย​ “… ถุงยังชีพ… ”

ข้อสังเกตอีกประการสะท้อนข้อสังเกตเดิมในการบริหารจัดการนำ้ที่อื่นๆของประเทศกล่าวคือ “ตราบใดที่กฟผ.บริหารน้ำด้วยหลักการว่าหน้าที่หลักของน้ำคือเป็นปัจจัยผลิตไฟฟ้า และตราบใดที่วิศวกรชลประทานไม่มีส่วนร่วมบริหารเขื่อนก็ยากที่จะป้องกันน้ำท่วมได้ “(อ่านเพิ่มเติมใน
https://www.isranews.org/community/comm-scoop-documentary/3961-เศรษฐศาสตร์สามัญสำนึก-น้ำท่วม-เขื่อน-และประกันอุทกภัย.html)
สอดคล้องกับทัศนะของผู้เชี่ยวชาญที่สะท้อนว่า “น้ำท่วมเพราะบริหารจัดการนำ้ไม่เป็น (ฟังบทเรียนอดีต #น้ำท่วม…บริหารจัดการไม่เป็น https://www.posttoday.com/politic/report/116413)
อย่างไรก็แล้วแต่ก็ซึ้งนำ้ใจคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ รัฐและเอกชนออกมาร่วมด้วยช่วยกันช่วยชาวบ้านในเบื้องต้น
สำหรับ สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม_สำนักจุฬาราชมนตรี ได้ออกเคมเปญการช่วยเหลือครั้งนี้ด้วยคำว่า
“ครอบคลุม​ ทั่วถึง​ และเป็นธรรม” นายอิสม่าแอน​ หมัดอะด้ำ
ประธานฝ่ายในประเทศสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม​ สำนักจุฬาราชมนตรี กล่าวว่า “
หากการช่วยเหลือแบบต่างคนต่างช่วย… ผลที่ตามมา​ กระจุก​ ซ้ำซ้อน​ บางหมู่บ้านไม่ได้รับ
สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม_สำนักจุฬาราชมนตรี​ และเครือข่าย เรา เน้นการช่วยเหลือแบบบูรณาการ​เข้าด้วยกัน​ ทั้งด้านข้อมูลและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ​ เพื่อบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยอย่างเป็นระบบฝากช่วยกันคนละไม้คนละมือ…น้ำใจไทย👉แบ่งปันให้กัน
ได้ที่👇บัญชี เรา ทาง ธนาคารอิสลาม หมายเลขบัญชี 034-1-0964-7 และธนาคารกรุงไทย หมายเลขบัญชี 460-023343-3
ท้ายนี้ขอนำบทขอพรในคัมภีร์อัลกุรอ่านที่ว่า
يَا أَرْضُ ابْلَعِي مَاءَكِ وَيَا سَمَاءُ أَقْلِعِي ( 44 ) ฮูด – Ayaa 44
“แผ่นดินเอ๋ย! จงกลืนน้ำของเจ้า และฟ้าเอ๋ย ! จงหยุด” และน้ำได้ลดลง
#ขออัลลอฮคุ้มครองทุกคนให้ปลอดภัย#


หมายเหตุดูคลิป

เขื่อนบางลาง ปล่อยน้ำอย่างต่อเนื่อง
กล้องวงจรปิดแบบเรียลไทม์ คลิกที่ Link ดูได้เลย
http://cctv3blg.egat.co.th/axis-cgi/mjpg/video.cgi?resolution=CIF&dummy=1609952469198

 1,249 total views,  2 views today

You may have missed