เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

อีแกกือเลาะห์ หรือ ปลาพลวงชมพู ปลาประจำจังหวัดยะลา กลับมาสร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรชาว อ.เบตง จ. ยะลา อีกครั้ง หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ราคากิโลกรัมละ 3,500 บาท

แชร์เลย

อดินันท์ มะลี  อ.เบตง รายงาน.

(1ธ.ค.63) ที่บ่อปลาของเกษตรกร ในพื้นที่หมู่ 2 ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่ นายชนธัญ นฤเศวตานนท์ ได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ ด้านประมงน้ำจืดการเลี้ยงปลาในเชิงพาณิชย์ตามนโยบาย 3 เหลี่ยมเศรษฐกิจภาคใต้ ที่มีการเลี้ยงอีแกกือเลาะห์ หรือปลาพวงชมพู เป็นหนึ่งในตระกูลปลาพลวง รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน เป็นปลาเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ได้เป็นอย่างดี โดยในปี พ.ศ. 2556 ทางการได้ประกาศให้ปลาพลวงชมพูเป็นปลาประจำจังหวัดยะลา


นายชนธัญ นฤเศวตานนท์ บอกว่า ปัจจุบันปลากือเลาะห์ ได้รับความนิยมมากทั้งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไต้หวัน โดยขนาดตัวที่หนัก 1 กิโลกรัม ขายได้ กิโลกรัมละ 3,500 บาท เลยทีเดียว ซึ่งหากนำไปขายที่ประเทศมาเลเซีย ราคากิโลกรัมละ 7,000 บาท ราคาเพิ่มเท่าตัว และหากส่งไปที่ประเทศไต้หวันราคาจะสูงถึงกิโลกรัมละ 10,000 บาทเลยทีเดียว สาเหตุที่ปลาชนิดนี้มีราคาแพง เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่มอร่อย เหมือนปลาเหมือนสำลี และหารับประทานได้ยาก ซึ่งจุดเด่นของปลากือเลาะห์ที่บางคนอาจยังไม่ทราบ คือ ปลาชนิดนี้สามารถกินได้ทั้งเกล็ด นอกจากนี้ในเกล็ดปลายั่งมีคอลลาเจนสูง ซึ่งหลังจากมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ ที่เดินทางมาลิ้มชิมรสปลากือเลาะห์ที่อำเภอเบตงก็ขาดหายไป ทำให้เกษตรกรที่เลี้ยงปลากือเลาะห์ขาดรายได้ และในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ก็มีนักท่องเที่ยวในประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวอำเภอเบตงมากขึ้น และเข้ามาสัมผัสรสชาติความอร่อยของปลากือเลาะห์หลากหลายเมนูทั้งทอด นึ่ง ต้ม เช่น ปลากือเลาะห์ทอดน้ำปลา ปลากือเลาะห์นึ่งซีอิ๊ว


ส่วนตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลากือเลาะห์ ถือว่าอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากเป็นปลาที่ไม่เหมือนปลาชนิดอื่นๆ ไม่ค่อยกินอาหารจึงโตได้ช้า ซึ่งในบ่อของตนจะทำการเพาะเลี้ยงในระบบน้ำไหลเหมือนธรรมชาติเพื่อให้ไม่มีกลิ่นคาวและเลี้ยงรวมกับปลานิลเพื่อให้ชี้นำในการกินอาหาร แม้จะมีหน่วยงานราชการและเกษตรกรนำไปเพาะขยายพันธุ์ แต่การเลี้ยงยังมีไม่กว้างขวางมากนัก เนื่องจากเป็นปลาที่โตช้า ให้ไข่น้อย ครั้งละแค่ 500-1,000 ฟองเท่านั้น แตกต่างจากปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันที่เมื่อวางไข่แล้วจะให้ปริมาณไข่เป็นแสนฟอง อีกทั้งยังมีการตกไข่หรือไข่สุกไม่พร้อมกันอีกต่างหาก แถมยังตกใจง่าย ต้องใช้เวลาเลี้ยงหลายปี โดยตัวใหญ่สุดน้ำหนัก 15 กิโลกรัม ต้องเลี้ยงนาน 10 ปีขึ้นไป อาหารที่ให้จะเป็นไส้เดือน แมลง และอาหารชนิดเดียวกับที่ใช้เลี้ยงปลาดุก เลี้ยงในระบบน้ำไหลผ่านจากภูเขา ที่มาจากต้นน้ำป่าฮาลาบาลา ซึ่งปัจจุบันการเลี้ยงปลาชนิดนี้ ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

 2,764 total views,  2 views today

You may have missed