บรรณาธิการ..
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และ ได้พบกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิ (โอรัง อัสลี) จากเทือกเขาบรรทัดและพื้นที่อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ทรงมีพระราชดำรัสเป็นห่วงในด้านวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ (โอรัง อัสลี) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อาจตกเป็นเครื่องมือของผู้ที่ไม่หวังดีแสวงหาผลประโยชน์
ศอ.บต. น้อมนำพระราชดำรัส มาดำเนินการดูแลและช่วยเหลือในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์มานิ (โอรัง อัสลี) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มสุดท้ายที่ยังคงมีวิถีการดำรงชีวิตแบบคนป่า ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูล ที่อยู่อาศัย วิถีชีวิต และสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์มานิ (โอรัง อัสลี) ยังไม่เข้าถึงสิทธิหรือสวัสดิการขั้นพื้นฐานของรัฐ และยังไม่ได้รับสถานะบุคคลตามสัญชาติไทย รวมทั้งจากผลการศึกษา วิเคราะห์ เงื่อนไขและโอกาสในการพัฒนาตามโครงการเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์มานิ ในพื้นที่ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว และอยู่ในช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยที่หน่วยงานท้องถิ่นได้ให้ความสำคัญ กับกลุ่มชาติพันธุ์มานิ (โอรัง อัสลี) แต่ยังขาดการสนับสนุนเชิงวิชาการและกลไกการขับเคลื่อนการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม
โดยในวันนี้ (11 กันยายน 2563 ) เวลา 14.30 น. พลเรือตรี มอเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. พร้อมด้วย พ.จ.ท.อนันต์ บุญสำราญ นายอำเภอเบตง กำนัน และเจ้าหน้าที่ ศอ.บต. ลงพื้นที่เยี่ยมกลุ่มชาติพันธุ์มานิ (โอรัง อัสลี) บ้านนากอ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อมอบเอกสารรับรองบุคคลผู้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์มานิ (โอรัง อัสลี) จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 26 คน พร้อมมอบสิ่งของอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
ทั้งนี้ในปี 2562 ศอ.บต. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ ร่วมประชุมหารือ และ ได้เข้าไปเยี่ยมหมู่บ้านชั่วคราวของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ บ้านนากอ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์มานิ (โอรัง อัสลี) ให้เป็นต้นแบบการพัฒนา โดยมีแนวทางดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะที่ 1 (ปี2562) การบริหารจัดการของชุมชนโดยชุมชนเป็นผู้จัดการ มีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้สนับสนุน ในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ และการเข้าถึงบริการของรัฐ 2) ระยะที่ 2 (ปี2563) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระหว่างชุมชนกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิ และ 3) ระยะที่ 3 (ปี2564) การดูแลสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
อย่างไรก็ตาม ศอ.บต.ดำเนินการจัดทำบัตรรับรองสถานะชั่วคราวให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์มานิ (โอรัง อัสลี) บ้านนากอ จำนวน 48 คน พร้อมทั้งมอบสิ่งของอุปโภคและบริโภคและสร้างกลไกการทำงานในรูปแบบคณะทำงานโดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยเหลือและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมขยายผลควบคู่กันไปยังกลุ่มชาติพันธุ์มานิ (โอรัง อัสลี) ในพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป
875 total views, 8 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี