พฤษภาคม 5, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ยะลาจัดแถลงผล มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโควิด -19 ผ่านกิจกรรม 70 วัน ยะลาปลอดโควิด ชีวิตปลอดภัย

แชร์เลย

อับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา  รายงาน..

( 20 ก.ค.63 เวลา 09.30 น. ) ที่สนามโรงพิธีช้างเผือก เขตเทศบาลนครยะลา อ.เมือง .จ. ยะลา จังหวัดยะลาได้จัดให้มีกิจกรรม แถลงผลการดำเนินงานมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ผ่านกิจกรรม “70 วันยะลาปลอดโควิด ชีวิตปลอดภัย” โดยภายในงานได้จัดให้มีการจัดนิทรรศการ ผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหา สถานการณ์โควิดในพื้นที่จังหวัดยะลาในช่วงที่ผ่านมา โดยมีการจัดนิทรรศการรูปแบบมีชีวิต ที่สื่อให้เห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหาสถานการณ์โควิดการแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด – 19 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลา ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ที่ทำการปกครองส่วนจังหวัดยะลา นิทรรศการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในยุค New Normal จากสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา สำนักงานประมงจังหวัดยะลา สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดยะลา สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา และนิทรรศการภาพในอนาคตจังหวัดยะลาในยุค New Normal จากสำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดยะลา และ อำเภอทุกอำเภอในจังหวัดยะลา

นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น “การระบาดใหญ่” หรือ pandemic หลังจากเชื้อลุกลามไปอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาคของโลก จนเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2563 กระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงว่าได้พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในไทยเป็นรายแรก เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน สถานการณ์การแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเลวร้ายลงเรื่อยๆ จนประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ ว่าโรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ ไวรัสโครนา 2019 (โควิด -19) เป็นโรคติดต่ออันตราย


โดยจังหวัดยะลาพบผู้ป่วยรายแรก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นชาวจังหวัดยะลาเดินทางกลับจากการชุมนุมทางศาสนาที่ประเทศมาเลเซีย รวมผู้ป่วยที่พบในจังหวัดยะลา มีจำนวน 133 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิต 2 ราย และผู้ป่วยส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากไปทำพิธีทางศาสนา และมาจากประเทศมาเลเซีย โดยอำเภอบันนังสตา พบผู้ป่วยมากที่สุดถึง 83 ราย รองลงมาเป็นอำเภอเมืองยะลา จำนวน 33 ราย จังหวัดได้ดำเนินการป้องกันโรคตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขและภายใต้ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเข้มงวด แต่คงเปิดเส้นทางให้ยานพาหนะและคนผ่านจังหวัดได้ โดยไม่ปิดการจราจร อาศัยการผนึกกำลังของเจ้าหน้าที่ อสม. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครต่างๆ ในการควบคุมโรค สำหรับการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น หน่วยงานจากสาธารณสุข ได้จัดโครงการ Active case finding นับเป็นมาตรการสาธารณสุขเชิงรุกของจังหวัด ที่สืบเนื่องมาจากความต้องการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ด้วยการลงพื้นที่ค้นหาเข้มแบบ X-ray ปูพรม (ตรวจตามเป้าหมายบนพื้นฐานของหลักวิชาการ) โดยได้เริ่มใน 3 กลุ่ม

ได้แก่
1. บุคคลที่เดินทางกลับมาจากประเทศมาเลเซีย ต่างประเทศ หรือต่างจังหวัด
2. บุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมฮาลาเกาะห์ บ้านพงยามู อำเภอบันนังสตา (เมื่อ วันที่ 11-13 มีนาคม 2563)
3. บุคคลที่ร่วมกิจกรรมมัสตูรอ อาคาร 4 ชั้น มัรกัสยะลา ระหว่างวันที่ 22-26 มีนาคม 2563 โครงการดังกล่าวได้มีส่วนช่วยให้สถานการณ์โดยรวมของจังหวัดมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ นับเป็นเครื่องมือหนึ่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการผสานการทำงานระหว่างเทคนิคด้านสาธารณสุขกับการบริหารของพื้น โดย จังหวัดยะลา ได้ดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และข้อกำหนดภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเคร่งครัด ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยไม่แพร่กระจายและสามารถรับมือได้ ทั้งการรณรงค์อยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ การแจกจ่ายหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า เจลล้างมือ การเว้นระยะห่างทางสังคม การปิดสถานบริการหรือสถานประกอบการ โดยจังหวัดจัดตั้งจุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ วันที่ 27 มีนาคม 2563 ในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดจำนวน 12 จุด และจุดตรวจรองของอำเภอเพื่อปฏิบัติงานเพิ่มเติม จำนวน 18 จุด รวม 30จุด โดยบูรณาการกำลังพลจากตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น ชุดเคลื่อนที่เร็วของจังหวัด มีจำนวน 2 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 คือชุดรับบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยง เพื่อนำบุคลคลเข้าสถานที่ตรวจดูอาการ ชุดที่ 2 ชุดบังคับใช้กฎหมาย ชุดเคลื่อนที่เร็วของอำเภอ อำเภอละ 1 ชุด รวม 8 ชุด จัดตั้งทีมผู้ช่วยเหลือในการตรวจคัดกรองประชาชน ของกรรมการชุมชนในเขตชุมชนที่รับผิดชอบ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ คือ การคัดกรองที่เข้มงวดและทั่วถึง โดยใช้พลัง อสม. ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยควบคุมเพิ่มเติม และได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการด้านต่างๆ องค์กรทางศาสนา มูลนิธิ รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือจากสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และโซเชียล ช่วยทำให้ไม่เกิดความสับสนในการรับรู้ข้อมูล​

นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทิศทางในอนาคต หรือจากนี้ไปยะลาจะเดินหน้าในการฟื้นฟูพื้นที่หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย โดยจะ ดำเนินงานโครงการ จาโปตาแง ดูแลห่วงใย พ้นภัยไวรัสโคโรนา (Covid – 19) เพื่อแสดงถึงความห่วงใยและให้ความสำคัญในการร่วมรณรงค์ป้องกันการติดเชื้อไวรัส​โคโรนา 2019 (Covid – 19) 2. เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กร เครือข่ายการพัฒนาชุมชน ในการผลิตหน้ากากผ้า ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) จำนวน 2,019 ชิ้น มอบให้กับจังหวัดยะลา และจำนวน 400 ชิ้น มอบให้กับกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนิงาน โครงการ กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาอาชีพครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาอาชีพครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดยะลา 2. เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) โดยการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เตรียมกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาอาชีพครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาอาชีพครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดยะลา 2. เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19)

โดยการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ดำเนินโครงการ : ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ Quick win 90 วันเพื่อส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน และการสร้างเครือข่าย ขยายผล โดยเชื่อมโยงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เมล็ดพันธุ์/ต้นกล้าภายในชุมชน และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้รายได้การท่องเที่ยวในจังหวัดติดลบ 99 เปอร์เซ็นต์ (เนื่องจากโรงแรมปิด และมีการปิดด่าน) ส่งผลกระทบต่อรายได้ภาคการท่องเที่ยวของจังหวัด ดังนั้น จังหวัดจึงกำหนดแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์โควิด 19 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ ดังนี้ มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Responsible Tourism) อุตสาหกรรมการให้บริการ (Hospitality Industry) และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการ ฝึกอบรม และพัฒนาผู้ประกอบการ ตลอดจนพัฒนาฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการให้บริการให้มีความพร้อมในการบริการ โดยประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในแต่ละด้าน เพื่อทำหน้าที่พี่เลี้ยงถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ และจะ พัฒนาสินค้า และบริการ โดยเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับการเกษตร สินค้าชุมชน (OTOP) ท่องเที่ยวชุมชน และบริการที่เกี่ยวเนื่องบนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การพัฒนาการตลาดและสิ่งอำนวยความสะดวก โดยส่งเสริมการตลาดตามแนวทาง (New Normal) ส่งเสริมการเปิดตลาดสู่ภายนอกโดยใช้ระบบการตลาดออนไลน์ พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งสาธารณประโยชน์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน โดยให้หน่วยงาน องค์กร และสถาบันการศึกษา สนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม การฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง โดยดึงดูดคนรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการที่มีความรู้และศักยภาพกลับคืนสู่ท้องถิ่นเพื่อไปประกอบกิจการในท้องถิ่นของตนเอง

 644 total views,  2 views today

You may have missed