พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ภาคประชาสังคมด้านการศึกษาชายแดนภาคใต้ขอบคุณ บทบาท ส.ส.ชายแดนภาคใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

(11 มิถุนายน 2563) ที่รัฐสภา ส.ส.อับดุลอายี สาแม็ง อภิปราย “การเยียวยาช่วงโควิด-19 ที่ทั่วถึง เป็นธรรมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังแม้เป็นโรงเรียนเอกชนทั้งชายแดนภาคใต้และทั่วประเทศ”(โปรดดูและฟังฉบับเต็มใน
https://drive.google.com/file/d/1eV1-g8hWTnWP5bGVmKcZRJ-vs7JuIsiD/view?usp=sharing)
ในการอภิปรายครั้งนี้ของท่าน (สส.อับดุลอายี สาแม็ง )เป็นตัวแทนสส.ชายแดนภาคใต้หลังจากที่ท่านลงพื้นที่ร่วมกับสส.ชายแดนใต้รับเรื่องปัญหาและข้อเสนอแนะจากตัวแทนภาคประชาชนหลายภาคส่วนที่ชายแดนภาคใต้ เมื่อ 8 มิถุนายน 2563 (โปรดอ่านรายละเอียดใน สส.ชายแดนใต้ลงพื้นที่เพื่อฟังข้อเสนอแนะก่อนเปิดเรียนหลังโควิด-19/อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ http://spmcnews.com/?p=30501)
สำหรับเนื้อหาการอภิปรายครั้งนี้ สะท้อนให้รัฐหนุนเสริมการเยียวยาทุกโรงเรียนไม่ว่ารัฐหรือเอกชน รวมทั้งการศึกษาทางเลือกของแต่ละชุมชนที่สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ ทั้งทั่วประเทศและชายแดนภาคใต้ ด้วย คำว่าเป็นธรรม เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติและมีคุณภาพโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังโดยหลัการและเหตุผลรวมทั้งข้อเรียกร้อง “

ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการเปิดเรียนของสถานศึกษาในสังกัด และในกากับ กระทรวงศึกษาธิการ อาศัยอานาจตามความในข้อ ๙ วรรคหนึ่ง(๔) ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย ปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.๒๕๔๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่า ด้วย ปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘ และข้อ ๗(๓) ของระเบียบคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วย ปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษาเอกชน พ.ศ.๒๕๖๓ จึงให้ สถานศึกษาทุกแห่งทั้งของรัฐและเอกชน ทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งอยู่ในสังกัดและในการกากับของ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดเรียนในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ โดยให้สถานศีกษา จัดให้มีการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสืบเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ หรือโรค โควิด๑๙และจากทรี่ัฐบาลมีนโยบายในการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาแก่พลเมืองไทยจากทุกเชื้อชาติ ศาสนาและเผ่าพันธุ์ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังซึ่งจะทาให้ความไม่เท่าเทียมด้านเศรษฐกิจและสังคมลดลง

ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ได้สนับสนุนมาตรการต่างๆทั้งบุคคลากร และงบประมาณอย่างเต็มกาลังความสามารถ แก่โรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่กลับละทิ้งการหนุนเสริมทั้งบุคลากรและ งบประมาณกับโรงเรียนสังกัดสานักงานการศึกษาเอกชนและสถาบันอื่นๆที่ไม่อยู่ภายใต้สังกัดสานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งๆที่ผู้เรียนเป็นพลเมืองไทยเหมือนกัน ในขณะเดียวกันกลับต้องการ ผลสัมฤทธิ์ในมาตรการทางสาธารณสุขเกี่ยวกับโควิด ๑๙ ซึ่งยิ่งเพิ่มความเหลื่อมลำ้ การบริการการจัด การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และหากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน มิสามารถปฏิบัติตาม มาตรการดังกล่าวอันจะส่งผลต่อสถานการณ์โควิด ๑๙ ในภาพรวมของประเทศ ใครจะรับผิดชอบหรืออย่าง น้อยที่สุดสังคมก็จะประณามโรงเรียนเอกชนอย่างแน่นอนว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา ในการนี้ในนามสมาคม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้รวมทั้งภาคีเครือข่ายได้เรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมในการได้รับบริการจาก รัฐบาลอย่างเท่าเทียมเป็นธรรมให้กับโรงเรียนเอกชนและสถาบันต่างๆที่เป็นการศึกษาทางเลือกของชุมชนทั่ว ประเทศเหมือนกับโรงเรียนที่อยู่ภายใต้สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน หลายๆข้อเช่น

๑. พิจารณามาตรการป้องกันโรคโควิดซึ่งอนุญาตให้ความจุของนักเรียน ๒๐/ห้อง สลับวันเรียนซึ่งไม่ สอดคล้องกับสภาพคามเป็นจริงต่อจานวนนักเรียนและหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชน
๒. พิจารณางบกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับสถานศึกษาโรงละ๔๐๐,๐๐๐–๕๐๐,๐๐๐บาทตามขนาดของ โรงเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษา ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
๓. พิจารณาจัดสรรอุปกรณ์อนามัยสนับสนุนเหมือนกับสิ่งที่ทางรัฐบาลให้กับสถานศึกษาในสังกัด สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดังนี้
– หน้ากากผ้าอนามัย นักเรียนคนละ ๔ ชิ้น
– faceshield คนละ ๑ อัน

– ที่วัดอุณหภูมิตามขนาดโรงเรียน
– เจลแอลกอฮอลน์ตามขนาดโรงเรียน
– ที่พ่นน้ายาฆ่าเชื้อตามขนาดโรงเรียน
– น้ายาฆ่าเชื้อ
– หน้ากากอนามัยสารอง
– ถุงมือ ผู้มีหน้าที่คัดกรอง
๔. พิจารณาเงินเยียวยาโควิด ๑๙ แก่ครูและบุคคลกรในโรงเรียนเอกชน”
ภาคประชาสังคมด้านการศึกษาชายแดนภาคใต้ขอบคุณ จึงขอบคุณบทบาทสส.ชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้โดยดร.อับดุลฮาฟิซ หิเลในผู้ประสานงานกล่าวว่า
“ต้องขอขอบคุณสส.อับดุลอายี สาแม็ง และ
คณะทีมส.ส.จชต.เราทุกๆท่านเลยครับที่ได้ร่วมผลักดันภารกิจสำคัญของสช.และพวกเราที่เป็นอันลักษณ์และมรดกโลกในสภาผู้แทนราษฏรครับ”

 1,350 total views,  4 views today

You may have missed