มะอายือมิง สาและ จ.ปัตตานี รายงาน..
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 5 พ.ค.63 ที่ห้องประชุมพญาตานีชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดปัตตานี นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วย คณะกรรมการดำเนินการในเชิงป้องกันและยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคดรนา 2019 เพื่อหารือในที่ประชุมในเรื่องของการผ่อนปรนในมาตรการต่าง ๆ ภายใต้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 25 มี.ค.2563 โดยเฉพาะ การศึกษามาตรการแนวทางการละหมาดในมัสยิดในการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด 19 โดยตลอดในห่วงที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ได้มีข้อเรียกร้องจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ให้หามาตรการและเปิดให้มีการละหมาดวันศุกร์ในมัสยิด เป็นจำนวนมาก จนกระทั้งได้มีประกาศจากจุฬาราชมนตรีให้ผ่อนปรนในเรื่องของการละหมาดวันศุกร์ โดยในที่ประชุมมีการปรึกษาหารือหาแนวทางมาตรการร่วมกันทุกฝ่าย โดยในที่ประชุมมีติดให้มีการเริ่มละหมาดวันศุกร์ ในวันที่ 22 พ.ค.ที่จะถึง ภายใต้ 10 มาตรการในการป้องกันเชื้อโควิด 19 คือ 1 มัสยิดที่จะเปิดทำการละหมาดในวันศุกร์จะต้องมาลงทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี 2 มัสยิด ต้องทำความสะอาดก่อน และหลังละหมาดทุกครั้ง 3 มัสยิด ต้องทำทะเบียนและมีการลงทะเบียนสำหรับผู้ที่จะร่วมละหมาดวันศุกร์ และกำหนดจุดที่นั่งละหมาดเฉพาะบุคคล ให้แก่ผู้มาละหมาด 4 มีการแบ่งโซนพื้นที่การละหมาดให้ชัดเจน เช่นโซนผู้สูงอายุ 5 ในกรณีที่พื้นที่การละหมาดภายในมัสยิดไม่เพียงพอ ขอสนับสนุนเต็นท์จาก อบต.ในพื้นที่ 6 ขอความร่วมมือหน่วยงานในพื้นที่ เช่นปกครองอำเภอ และรพ.สตในพื้นที่ ช่วยกำกับดูแล 7 ใช้เวลาในการละหมาดไม่เกิน 15-20 นาที 8 จัดหาเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือและเครื่องวัดอุณหภูมิ 9 คณะกรรมการมัสยิดต้องกำกับดูแล มิให้มีการรวมกลุ่มก่อนและหลังละหมาด 10 สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีจะเป็นผู้ประเมิน หากมัสยิดใดไม่ดำเนินการตามมาตรการ กติกา และข้อกำหนด ก็จะถูกปิดและจะไม่ให้มีการละหมาดในวันศุกร์อีก
ด้านนายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ตามประกาศ ของคณะจุฬาราชมนตรี ฉบับที่ 5 ทางจังหวัดได้คำนึงถึงในเรื่องนี้ว่า เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ร่วมกับคณะกรรมการประจำมัสยิด ในส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัด และความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี เห็นชอบว่า เวลาที่เหมาะสมที่จะละหมาดวันศุกร์ได้นั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของมัสยิดที่จะจัดละหมาด เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ทางคณะกรรมการอิสลามจะต้องไปดูถึงความพร้อมว่าจะมีความพร้อม ได้อย่างไรหรือไม่ ในประเด็นที่คณะกรรมการโรคติดต่อตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ ยกตัวอย่างเช่น 1 จำนวนคนที่จะเดินทางไปละหมาดวันศุกร์เกินจำนวนที่เรา ตั้งจุดไว้ ทำเครื่องหมายไว้ เพื่อเว้นระยะ ห่างทางสังคม 1.5- 2 เมตร จะมีการปฏิบัติอย่างไร 2 เรื่องผู้ที่เดินทาง มาอัดของผู้คนเป็นจำนวนมาก ก่อนเข้ามัสยิด หรือหลังจากออกมาจะมีวิธีการอย่างไร 3 จะมีวิธีการบริหารจัดการอย่างไรในเวลา ละหมาดนั้นไม่ให้ใช้เวลานานมากเกินไป
ในที่ประชุมจึงมีมติเห็นว่า หลังจากนี้จะให้ทางคณะกรรมการ อิสลามได้มีความพร้อมในการจัดระเบียบร่วมกับคณะกรรมการประจำมัสยิด จึงเห็นควรว่า ในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมให้มีการ ละหมาดวันศุกร์เพื่อ ให้มีเวลาในการเตรียมความพร้อม นอกจากนี้ทางจังหวัดปัตตานี ได้จัดทำโครงการ 2 สัปดาห์ ปัตตานีรวมใจต้านภัยโควิด – 19 เพื่อให้เห็นว่า ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีไม่มี ผู้ติดเชื้อรายใหม่ เป็นเวลา 14 วัน ติดต่อกัน โดยยอดผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 91 รายเช่นเดิม ทางจังหวัดจึงขอเพียงอีก 14 วันเท่านั้นเพื่อให้เราเห็นว่าทางจังหวัดได้เก็บตกในส่วนที่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่ มีอยู่เดิมได้ละเอียดขึ้นโดยสร้างวิธีปฏิบัติใหม่ขึ้น เพื่อการสกัดโรค โดยการสวม สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ ไม่แออัด 2. ใครไข้ ไอ เจ็บคอ ให้อยู่บ้าน 2 สัปดาห์ จุดตรงนี้ก็สามารถที่จะช่วยสกัดยับยั้งเชื้อโรคได้ ถ้าเราสร้างมาตรฐานใช้วิธีใหม่ ภายใน 2 สัปดาห์นี้ได้ มาตรการอื่นก็จะมีการผ่อนปรน เป็นลำดับ ในส่วนพื้นที่เสี่ยงโรคติดต่อ ที่มีการปิดก่อนหน้านั้น ทางจังหวัดปัตตานี ยังคงดำเนินการ ตาม ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นเดิม โดยขยายระยะเวลาจาก 30 เมษายน เป็น วันที่ 31 พฤษภาคม นี้ ยังคงปฏิบัติเช่นเดิม 2 ห้าม ลด หรือชะลอ การเดินทางข้ามเขตจังหวัด ยังยึดถือปฏิบัติเช่นเดิม 3 เรื่อง พื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงโรคติดต่อเรายังห้าม และไม่มีคำสั่งประกาศผ่อนปรนในเรื่องนี้ แต่ที่ผ่านมาดทางจังหวัดปัตตานีไม่มีผู้ที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 14 วันติดต่อกันแล้ว หากว่าเราในอีก 2 สัปดาห์นี้ เราสามารถควบคุม และไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม ก็อาจจะมีการเปิดหมู่บ้าน ให้พี่น้องประชาชน ไม่มีความสะดวก สรุปได้ดำเนินวิถีชีวิต ด้านเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น
659 total views, 2 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี