ที่ห้องพญาตานี โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อ.เมือง จ.ปัตตานี นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลถอดบทเรียน ในโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี ประจำปีงบประมาณ 2560 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้องค์กรที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมถอดบทเรียนร่วมกัน เพื่อค้นหารูปแบบการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ เพื่อนำไปปรับปรุงในการพัฒนางานโครงการให้มีประสิทธิภาพต่อไป
นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวถึงการดำเนินโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าในปีงบประมาณ 2560 มีภาคประชาสังคม 488 องค์กร เสนอโครงการเพื่อของบประมาณในโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมฯ จำนวน 223 องค์กร เพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ตามเป้าหมาย 7 กลุ่มภารกิจของ ศอ.บต. โดยมีเป้าหมายการดำเนินการ 5P คือ Planet เป็นการปกป้องโลกจากการเสื่อมสลาย ,People เป็นการเติมเต็มศักยภาพของคนให้มีความเท่าเทียมกัน ,Prosperity เป็นการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ ,Peace เป็นการส่งเสริมให้เกิดสันติภาพที่ปราศจากความกลัวและความรุนแรง และ Partnership เป็นการสร้างความเป็นหุ้นส่วนแห่งการพัฒนาให้เข้มแข็งและเป็นปึกแผ่น โดยการส่งเสริมให้ทุกประเทศและประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ซึ่งจากการที่ภาคประชาสังคมได้มีการขับเคลื่อนโครงการตามที่ขอรับงบสนับสนุน และได้มีการดำเนินการไปแล้วนั้น วันนี้จึงเข้ากระบวนการการถอดบทเรียนและร่วมกันประเมิน ซึ่งผลลัพธ์ที่รัฐบาลคาดหวังให้เกิดขึ้น คือ 1.สามารถสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างการมีส่วนร่วม และสนองต่อความต้องการของประชาชน 2.การแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.สร้างสภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างสันติสุข ซึ่งทิศทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ บ้านเมืองอยู่รอดปลอดภัย (มั่นคง) ประชาชนอยู่ดีกินดี (มั่งคั่ง) สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (ยั่งยืน)
นางรัตนา ดือเระซอ ตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมกลุ่มมะกรูดหวาน กล่าวว่า การทำงานของตนเองที่ผ่านมาได้มีการขับเคลื่อนในพื้นที่วงแคบ เนื่องจากถูกจำกัดด้วยงบประมาณในการนำมาพัฒนาต่อยอด เมื่อ ศอ.บต. เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมสามารถมีส่วนในการขอรับงบประมาณเพื่อมาต่อยอดในการขับเคลื่อนงาน จึงเป็นโอกาสก้าวสำคัญที่ทำให้วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป การออกแบบกระเป๋าผ้าที่มีความหลากหลายของพหุวัฒนธรรมที่ตนเองทำขายในพื้นที่ ถูกเปิดโอกาสด้วยโครงการนี้ จนปัจจุบันสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งสิ่งที่ตนเองรู้สึกประสบผลสำเร็จมากที่สุด คือการที่สามารถสร้างรายได้ให้ชาวบ้านในพื้นที่ ตลอดจนสร้างโอกาสแก่คนในพื้นที่ให้มีความรู้สู่การสร้างอาชีพที่ยั่งยืน จากบางรายต้องทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันกลับมารวมกลุ่มทำกระเป๋าผ้าเพื่อส่งขายสร้างรายได้ อีกทั้งได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเปิดอบรม และให้ความรู้แก่สมาชิกจนทำให้ได้รับความสนใจจากกลุ่มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ มาร่วมศึกษาดูงาน เช่น นักท่องเที่ยวจากประเทศเกาหลี ที่มาศึกษาถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการทอผ้าด้วยมือ ทั้งนี้ต้องขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ศอ.บต. ในการเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยการทำงานแบบวิถีชุมชน ใช้ต้นทุนที่มีอยู่ในพื้นที่สู่การปรับให้เข้ากับยุคสมัย ถือเป็นโครงการที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนที่แท้จริง ซึ่งคิดโดยประชาชนและขับเคลื่อนโดยประชาชน โดยมีรัฐเป็นผู้สนับสนุนอยู่ข้างหลัง จึงเรียกได้ว่าเป็นการทำงานที่เป็นประชาสู่รัฐอย่างแท้จริง และการได้มาร่วมถอดบทเรียนในครั้งนี้ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้องค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ได้ร่วมกันพุดคุย หาแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน และสร้างเครือข่ายในการต่อยอดการทำงานมากขึ้นต่อไป
SPMCNEWS รายงาน
808 total views, 2 views today
More Stories
การยางยะลาเพิ่มทักษะการกรีดยางอย่างถูกวิธี ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ในการแข่งขันกรีดยางชิงแชมป์อำเภอเบตง
I SEE THE FUTURE อบจ.ปัตตานี มอบแว่นสายตาแด่น้อง แก้ปัญหาด้านสายตา สู่การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
HARD เชื่อมสัมพันธ์ ไทย – มาเลย์ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ร่วมจัดการแผนความร่วมมือด้านการศึกษา