อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)รายงานจากเชียงราย
(12 กุมภาพันธ์ 2563) ผู้เขียน และบุคลากรจากโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ(ปอเนาะโคกยาง) ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (ชายแดนใต้) กว่า 80 ชีวิต ได้เข้าไปศึกษาดูงานการจัดการศึกษาที่โรงเรียนสหศาสตร์ อำเภอเมือง จังหวัด เชียงราย
สำหรับโรงเรียนี้เป็นโรงเรียนเอกชนประเภทสังคมสงเคราะห์เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา มีนักเรียนประมาณประมาณ 2,600 คน ร้อยละ60 เป็นนักเรียนชนเผ่าชาวเขา 13 ชนเผ่า มีนักเรียน 1 คนจากนราธิวาสอันเนื่องมาจากติดตามพ่อแม่ที่มาประกอบอาชีพกรีดยางที่นี่ บริหารงานโดยดร.ประพันธ์ ทรรศนียากร(ผู้รับใบอนุญาติและผู้จัดการ) ท่านกล่าวว่า “โรงเรียนแห่งนี้ท่านบริหารมากว่า 50 ปี เป็นการจัดการศึกษาเรียนฟรี อย่างมีคุณภาพโดยเฉพาะคนชาวเขาเผ่าต่าง13 เผ่า มากที่สุดในประเทศไทย คนที่สังคมมองว่าด้อยโอกาสมีความหลายด้านชาติพันธุ์ทางชาติพันธุ์ ศาสนา บางคนนับถือศาสนาพุทธ บางคนนับถือคริสต์ บางคนนับถือผี ดังนั้นมีความหลากหลายมากๆ จึงเป็นความท้าทายในการบริหารการศึกษาเรื่องพหุวัฒนธรรม พ่อแม่ผู้ปกครองหรือนักเรียนเองพูดภาษาชนเผ่าเป็นภาษาการสื่อสาร มิใช่ง่ายในการที่พัฒนาวิชาการหากไม่สามารถ พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษาไทย เพราะเด็กที่นี่ก็เขามาศึกษาพูดภาษาไทยไม่ได้ จากประสบการณ์ผู้บริหารซึ่งคลุกคลีกับการศึกษากว่า 40ปีจึงคิดค้นนวัตกรรมสำคัญ ที่มีหลากหลายทั้งรัฐและเอกชนเข้ามาศึกษา และเป็นดุษฎีนิพนธ์ส่งผมให้จบปริญญาเอกคือ “กลยุทธ์การบ่มเพาะคุณลักษณะความเป็นไทยของนักเรียนชนเผ่าในโรงเรียนเอกชนการกุศลประเภทการศึกษาสงเคราะห์ในเขตภาคเหนือของประเทศ” สำหรับเรื่องนี้ มีกรอบแนวคิดที่เรียกว่า Charity Model รูปต้นไม้ที่มีความสมบูรณ์ตั้งแต่ราก ลำต้น ที่เป็น พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ ในคณะกิ่งก้านสาขา ใบไม้ผลไม้ ผ่าน7 กลยุทธ์ ตามภาพ”
นายอซิซ สาเม๊าะ ผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ พูดหน้าแถวต่อหน้าครูและนักเรียนสหศาสตร์ศึกษา “ท่านในฐานะมุสลิมชายแดนภาคใต้รู้สึกตื่นตันใจมากมาก นำ้ตาไหลโดยไม่รู้สึกตัว จนพูดไม่ออก ได้เห็นลูกๆชนเผ่าต่างๆ13 ชนเผ่าที่มีความแตกต่างได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีโอกาสพัฒนาตนเอง ยกระดับคุณภาพชีวิตผ่านการศึกษา อันจะเป็นบุคลากรที่สำคัญต่อไปในอนาคตของชาติ เราชาวชายแดนภาคใต้มีความโชคดีมากๆได้มาศึกษาดูงานที่นี่ ได้รับสิ่งดีๆ บุคลารได้มาสัมผัสคำว่าพหุวัฒนธรรมจริงๆเป็นอย่างไร ที่นี่เดิมพูดภาษาไทยไม่ได้ ภาษามลายูเป็นภาษาแม่ เหมือนกับที่นี่มีภาษาชนเผ่าเป็นภาษาแม่แต่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะภาษาไทยได้ด้วยโมเดลการจัดการศึกษาของที่นี่ น่าจะเป็นอีกหนึ่งโมเดลเราชาวจริยธรรม ชาวชายแดนภาคใต้ เอาไปประยุกต์ ปรับให้เข้าบริบทของเรา”
จากการพูดคุยกับผู้บริหารและสำผัสกับบนักเรียนพบว่า “นอกเหนือจากเรื่องที่กล่าวมาแล้วนั้นทางโรงเรียนได้หนุนเสริมความสามารถที่แตกต่างของนักเรียนผ่านนโยบายผู้บริหารที่มองว่าทุกคน มีความฉลาด ความเป็นเลิศแตกต่างกัน การประเมินผู้เรียนก็แตกต่างกัน ทุกคนอาจด้อยด้านวิชาการผ่านการขีดเขียนแต่เขามีความสามารถด้านการแสดงออก ทำอาชีพ ศิลปะ และดนตรีเช่นวงโยธวาธิตที่มาจากคนเหล่านี้และหลากหลายชาติพันธุ์ การเเสดงประสานเสียงประสานการแสดงจากชนทั้ง13 เผ่าชาวเขา “
ระหว่างการเดินทางกลับผู้บริหารขับรถกระบะสี่ประตูพร้อมผู้เขียนเห็นใบหน้าสีหน้าผู้บริหาร เด็กๆไหว้ผู้บริหาร โบกมือทักทายกับท่านและภรรยารู้สึกว่าท่านทั้งสองมีความสุขมากๆ ท่านส่งท้ายด้วยคำพูดหนึ่งก่อนส่งผู้เขียนลงสนามบินเชียงรายว่า “รู้สึกมีความสุขมากๆที่เห็นความสำเร็จของบรรดาศิษย์เก่าจากที่นี่ที่ไปอยู่ทุกวงการ การศึกษาอย่างเท่าเทียมเป็นธรรมทำให้เขามีวันนี้”
หมายเหตุ
1.แนะนำโรงเรียนดูได้ใน
https://youtu.be/_0skJ4PAvGY
2.ประมวลภาพการดูงาน
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10221856456180991/?d=n
1,495 total views, 2 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ครั้งที่ 4
1 พฤษจิกายน จะนะเปิดเรียนเเต่ออนไลน์และบทเรียนจากภูเก็ต