พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

พล.อ.วัลลภ หน.คณะพูดคุยสันติสุข ลงพื้นที่รับฟังข้อเสนอคณะประสานงานในพื้นที่ ในการแก้ปัญหาความไม่สงบ ก่อนลุย คุย BRN มีนาคมนี้

แชร์เลย

ทีมข่าว.SPM news ปัตตานี รายงาน..

เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 11 ก.พ.63 ที่ห้องประชุมแพนดูล่า โรงแรมปาร์คอินทาวน์ (ปาร์ควิว) อ.เมือง จ.ปัตตานี พลเอกวัลลภ รักเสนาะ เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินทางมารับฟังบรรยายสรุป ข้อเสนอแนะของคณะประสานงานระดับพื้นที่ กับทิศทางและการออกแบบการขับเคลื่อนงานหนุนเสริมการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายในเวทีมีการทบทวนบทบาทภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะประสานงานระดับพื้นที่และลำดับการพูดคุยสันติภาพ สู่การพูดคุยสันติสุข โดยในวันนี้คณะประสานงานระดับพื้นที่ ได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยในประเด็นต่างๆ รวม 8 กลุ่ม เพื่อทำเวิร์กชอป หาบทสรุปความต้องการของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นข้อมูลและข้อเสนอต่อคณะพูดคุยสันติสุข โดยใน 8 กลุ่มมีการเสนอดังนี้

กลุ่มที่ 1 กลุ่มงานพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก กลุ่มที่ 2 กลุ่มงานด้านยุติธรรม กลุ่มที่ 3 กลุ่มงานสื่อมวลชน การสื่อสารเทคโนโลยี กลุ่มที่ 4 กลุ่มงานเด็กเยาวชนและสตรี กลุ่มที่ 5 กลุ่มงานความมั่นคงและองค์กรภาครัฐ กลุ่มที่ 6 กลุ่มงานการศึกษา กลุ่มที่ 7 กลุ่มงานศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มที่ 8 กลุ่มงานปกตรองส่วนท้องที่ ท้องถิ่น ซึ่งทุกกลุ่มแน่นให้มีกระบวนการพูดคุยโดยมีทุกภาคส่วนเข้าร่วมในการพูดคุยสันติสุขในครั้งนี้พร้อมทั้งให้จัดแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมรูปแบบเพื่อหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยสันติภาพ เปิดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข รับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนและจะต้องมีการอัพเดทข้อมูลสถานการณ์ความคืบหน้าของกระบวนการพูดคุยได้รับรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนะนำช่องทางการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและกาขอความช่วยเหลือ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ตามหน้าที่ของแต่ละฝ่ายเพื่อลดเงื่อนไขความขัดแย้ง สานเสวนาที่ได้รับมาทั้งหมดประเมินสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยกระบวนการยุติธรรม

ด้านพลเอกวัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดเวทีในครั้งนี้ ตรวจสอบการรับฟัง เสนอแนะ ในการมีส่วนร่วม จากทุกฝ่ายและทุกกลุ่ม ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในครั้งนี้ได้พบกับผู้นำศาสนาภาค NGO และภาคประชาชน เพื่อการมีส่วนร่วมในการพูดคุยสันติสุข ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในครั้งนี้มีการเสนอแนะ ทั้ง 8 กลุ่ม ที่ได้ทำการบ้านมาอย่างเต็มที่ ซึ่งข้อเสนอแนะในแต่ละส่วนก็มีประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมในการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ กระบวนการยุติธรรมเธอว่าในเรื่องของการกระจายอำนาจในส่วนการปกครองต่างๆการดูแลประชาชน ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อคณะพูดคุยสันติสุข ที่จะนำไปใช้ในการพูดคุยต่อไป

ซึ่งที่ผ่านมาทางคณะได้พูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น แต่ในขณะเดียวกันเราก็ ไม่ปิดโอกาสให้กลุ่มอื่น ให้เข้ามาร่วม การพูดคุย หากมีกลุ่มอื่นเข้ามาร่วมพูดคุย ก็จะสามารถยกระดับ ในการพูดคุยขึ้นไปอีก ส่วนในข้อกังวลในการพูดคุยสันติสุขนั้น มีความกังวล ว่าจะมีอุปสรรคในการเริ่มต้นที่จะคุย และอุปสรรคระหว่างทาง ที่จะเกิดขึ้นในการพูดคุย เพราะฉะนั้นกระบวนการพูดคุยจะต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน รวมทั้งคณะพูดคุยเองก็ต้องฟันฝ่าอุปสรรคจากปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้ ส่วนการพูดคุยในรอบนี้ เนื่องจากในปัจจุบัน รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญ และได้บรรจุไว้ในวาระแห่งชาติ เพราะฉะนั้นรัฐบาลในทุกรัฐบาลก็ให้ความสำคัญ ตนเองทำหน้าที่พูดคุยตรงนี้ ก็จะทำให้การพูดคุยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การพูดคุยเราจะใช้หลักของความจริงใจ ความเข้าอกเข้าใจ การพูดจาเพื่อให้เกิดสันติสุข ต่อประชาชนในภาพรวม

ส่วนจะมีการพูดคุยในเรื่องของการตั้งการปกครองพิเศษในพื้นที่นั้น ตอนนี้ยังไม่มีการตั้งธงว่า ต้องมีการจัดตั้ง เขตการปกครองพิเศษหรือไม่ แต่ในขั้นตอนต่อไปก็จะนำข้อมูลจากทุกฝ่าย มาสะท้อน ในที่ประชุมเพื่อกำหนดเป็นหัวข้อที่เราจะพูดคุยกันต่อไป เพื่อทราบความต้องการของแต่ละฝ่าย ถ้ามีต้องการอย่างไรบ้าง จะมีเรื่องไหนที่ต้องคุยกัน โดยฝ่ายมาเลเซียก็มีความตั้งใจที่จะสนับสนุน การเจรจาในครั้งนี้ ให้เกิดความก้าวหน้าให้มากที่สุดเพื่อให้เกิดรูปธรรม ให้มากที่สุดในปี 63  ทั้งนี้ยืนยัน ต้นเดือนมีนาคม 2563 ทางคณะพูดคุยสันติสุข จะเดินร่วมพูดคุย กับกลุ่ม BRN อีกครั้ง ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะคงทำการพูดคุยเจรจา ในรายละเอียดร่วมกัน  นำการเจรจา หรือข้อตกลง มาปฎิบัติให้พื้นที่เกิดความสงบสันติสุขอย่างมั่นคงต่อไป

 734 total views,  2 views today

You may have missed