ทีมข่าว.SPM news.รายงาน..
(8 กุมภาพันธ์ 2563) ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 7 รอบ ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส กองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาเพื่อความมั่นคง กลุ่มงานบริหารงานยุติธรรมและอำนวยความเป็นธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับกรมการปกครอง และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา ลงพื้นที่ตรวจเก็บสารพันธุกรรม DNA ของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร หรือไร้สัญชาติในจังหวัดนราธิวาส เพื่อดำเนินการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม จำนวน 329 คน ในโครงการตรวจสารพันธุกรรม (DNA) และอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2563
นางพารีดา สาแม เจ้าหน้าที่ปกครองชำนาญการ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส กล่าวให้ข้อมูลว่า ในพื้นที่ยังมีบุคคลที่ยังไม่มีชื่อในทะเบียนราษฎรจำนวนมาก เด็กบางคนอาศัยอยู่กับยายที่ชรามากแล้ว บางคนพ่อกับแม่ไม่รู้ขั้นตอนการแจ้งชื่อและไม่นำบุตรหลานเข้าแจ้งชื่อ จึงเป็นปัญหาจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อยายไม่ได้แจ้งเกิดลูก ลูกก็จะไม่มาแจ้งเกิดหลาน เนื่องจากไม่มีชื่อในทะเบียนราษฎร ตัวอย่างครอบครัววาเฉะ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยนางรอปีอะห์ วาเฉะ มารดา ไม่ได้เข้าแจ้งเกิดลูกสาว เนื่องจากคลอดลูกที่ประเทศมาเลเซีย เมื่อลูกโตขึ้นก็ได้แต่งงานและคลอดบุตรชาย 2 คน บุตรสาว 1 คน และไม่ได้เข้าแจ้งเกิดลูกทั้ง 3 คน จึงเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันสร้างการรับรู้สิทธิและหน้าที่ต่างๆที่พึงปฏิบัติของประชาชน แก่ชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อลดปัญหาบุคคลไร้สัญชาติในประเทศ และเพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับสิทธิการดูแลขั้นฐานจากรัฐด้วย
ด้านนางรอปีอะห์ วาเฉะ กล่าวว่า ตนได้เดินทางไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียตอนอายุ 20 ปี และได้คลอดบุตร และไม่ได้แจ้งเกิดหรือดำเนินการใดๆตามขั้นตอนที่รัฐระบุ เมื่อยามเจ็บป่วยก็อาศัยรักษากันเอง โดยใช้ยาสมุนไพรหรือตำหรับยาโบราณ แต่หากป่วยหนักก็จะพาลูกไปรักษาที่คลินิกทั้งที่ประเทศไทยและมาเลเซีย แต่วันนี้ตน ลูก และหลานๆจะกลับมาอยู่ประเทศไทยถาวร จึงเข้าร่วมโครงการเพื่อให้ลูกและหลานๆได้รับสิทธิขั้นฐานเหมือนคนทั่วไป อย่างน้อยก็ได้เข้ารับการรักษายามเจ็บป่วยที่โรงพยาบาลในพื้นที่ก็ดีใจแล้ว
อย่างไรก็ดี ภายหลังผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจเก็บสารพันธุกรรมDNAแล้ว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะนำไปตรวจพิสูจน์และจะรายงานผลให้ทราบ เพื่อให้อำเภอได้เพิ่มชื่อแต่ละบุคคลในทะเบียนราษฎร และทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ และจะสามารถได้รับสิทธิการดูแลขั้นพื้นฐานของรัฐบาล ตั้งแต่การลงทะเบียนเด็กแรกเกิด 600 บาทสำหรับเด็กเล็ก สิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิเรียนฟรี 12 ปี และอื่นๆ เป็นต้น
//////////////////////////////////////////////////////
1,317 total views, 2 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี