เมษายน 18, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

“พัฒนาการศึกษาเอกชนชายแดนภาคใต้”เพื่อ ครม.สัญจรพิจารณา

แชร์เลย

อุซตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

(21 มกราคม 2563 ) ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับดร.อับดุลฮาฟิซ ฮิเล ประธานเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียนลุกมานนูลฮากีมกรงปีนัง อำเภอกรงปีนัง จังหวัดยะลา เกี่ยวกับเครือข่ายโรงเรียนเอกชน แนวคิดและข้อเสนอแนะท่านต่อการศึกษาชายแดนภาคใต้ ในช่วงที่จังหวัดนราธิวาสต้อมรับครม.สัญจร

ท่านได้กล่าวว่า
“เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินกิจการต่างฯ ของสมาคม ชมรมและกลุ่มโรงเรียนเอดชนสอนศาสนาแต่ละจังหวัด แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ และพิทักษ์สิทธิประโยชน์ สร้างเอกภาพ แก้ปัญหาและพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้”

ท่านกล่าวเสริมอีกว่า “เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีสำนักงานที่ตั้งอยู่ที่ ศูนย์พัฒนาอิสลามศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 ยะลา โดยมีสมาชิกเครื่อข่ายคือ สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลา สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจังหวัดนราธิวาส สมาคมผู้ประกิบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาจังหวัดปัตตานี กลุ่มโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจังหวัดสงขลา และกชุ่มโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจังหวัดสตูล …คณะกรรมการสมาคมมาจากตัวแทนสมาคม และกลุ่มโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาแต่ละจังหวัด มี ผม ดร.อับดุลฮาฟิซ หิเล เป็นประธาน นายอับดุลเราะมาน ตูปะ นายมูฮัมมัดนัสสิรุดดิน เละนุ๊ และ นางวรรณี หะยีอวอูมา ดป็นรองประธาน และนายไพศาล อาแซ เป็นเลขานุการ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี
สำหรับ
แนวทางการทำงานของเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม คือ เน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งวิชาศาสนาและวิชาสามัญ โดยให้เครือข่ายฯ เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน นอกจากนี้เครือข่ายฯ จะเป็นผู้ประสานเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาโรงเรียนเอดชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัเชายแดนภาคใต้”
ในส่วนข้อเสนอแนะ ณ ตอนนี้ นั้นท่านเสนอว่า “
ตามที่มีหน่วยงานทางความมั่นคงให้สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดดำเนิจการตรวจประวัติและพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้บริหารและผู้สอนในศูนย์การศึกษาประจำมัสยิดหรือ ตาดีกา ปอเนาะ และผู้บริหารและครูในโรงเรียนเอกชน ได้มีการตรวจประวัติมาหลายปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาตรวจ เนื่องจากมีนโยบายผู้บริหาร ที่จะตั้งโรงเรียน ตาดีกา สถาบันศึกษาปอเนาะและผู้สอน ครูที่จะบรรจุเข้าระบบ จะต้องทำประวัติและพิมพ์ลายนิ้วมือืถึอเป็นเรื่องของนโยบายและแนวทางปฎิบัติ ที่เข้าใจว่ามาจากหน่วยความมั่นคงในพื้นที่ ถือเป็นเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ถ้าเลือกปฎิบัติเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา สถาบันศึกษาปอเนาะ และตาดีกาอย่างเดียว ในส่วนตัวไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการเลือกปฎิบัติ สร้างเงื่อนไข และสร้างความไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นต้นเหตุอย่างหนึ่งของปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้     และ   อยากให้รัฐบาล กระทรวงศึกษาพัฒนาการศึกษาชายแดนภาคใต้ดังนี้


1.การพัฒนาการศึกษาที่เสมอภาค รร.รัฐและเอกชน ให้เท่าเทียมกัน
2.จัดการศึกษาในพื้นที่ ตามบริบทของพื้นที่ และมาตรฐานสากล ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับความมั่นคง มาก่อน คุณภาพมาทีหลัง
3.ช่วง 6 ปี ที่ผ่านมามรัฐไม่มีการพัฒนา รร.เอกชนใน จชต.แต่ไปทุ่มเทพัฒนาแต่ รร.รัฐอย่างเดียว ทำให้คุณภาพการศึกษาไม่ดีขึ้น เพราะ นร. 80 % อยู่ใน รร.เอกชน
ครับนี่เป็นส่วนหนึ่งภาพรวมและข้อเสนอแนะของเครือข่ายโรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีท่านดร.อับดุลฮาฟิซ ฮิเลเป็นประธาน

 1,546 total views,  2 views today

You may have missed