ชาวยะรังทำสวนปลูกปัญญา นำเยาวชนในพื้นที่ทำสวนผสมผสาน แก้ปัญหาความยากจน
ในวันนี้(วันที่ 6 ก.พ.61) นายดอเล๊าะอาลี สาแม ประธานเครือข่ายภาพประชาชนคนลุ่มน้ำปัตตานี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต เรืองแป้น ผู้ดูแลโครงการการรับใช้สังคม สังเคราะห์องค์ความรู้สู่การพัฒนาการจัดการลุ่มน้ำปัตตานีเพื่อความยั่งยืนในอนาคต พร้อมทีมงาน เดินทางลงพื้นที่สวนปลูกปัญญา ของนายอับดุลมานะ เจ๊ะโก๊ะ พื้นที่ ม.4 ซ.ปายอเม๊าะซูเม็ง ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เพื่อติดตามการทำสวนผสมผสานทฤษฏีใหม่ ในการปลูกพืชผสมสานในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการจัดแบ่งพื้นที่ทำไร่สวน การทำปศุสัตว์เลี้ยง การทำบ่อปลา รวมถึงการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อรองรับในการพัฒนาและขยายพันธ์พืชในอนาคตอีกด้วย นอกจากนี้ ที่สวนปลูกปัญญา ได้นำเอาเยาวชนและชาวบ้านในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและเข้ามาเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานตามทฤษฏีใหม่ เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ หลังจากที่ต้องประสบปัญหากับราคายางที่ตกต่ำ รวมถึงพืชทางการเกษตรอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ และเพื่อต้องการให้เยาวชนห่างไกลจากอบายมุกต่าง ๆ โดยให้ชาวบ้านสามารถใช้พื้นที่ภายในสวนปลูกพืชไร่ และเลี้ยงปศุสัตว์ ตามแนวทางทฤษฏีใหม่ เพื่อหารายได้ให้กับผู้ที่ไม่มีที่ดินในการทำไร่ได้อีกด้วย
ด้านนายดอเล๊าะอาลี สาแม ประธานเครือข่ายภาพประชาชนคนลุ่มน้ำปัตตานี เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้เดินทางมาดูแล้วก็เกิดความภาคภูมิใจว่า การทำสวนที่นี้เกิดจากการรวมกลุ่มโดยการนำเยาวชนในพื้นที่ มาเรียนรู้ร่วมกันตามแนวการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ จะทำให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ที่ผ่านมา มักจะทำเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบเมื่อเกิดผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถนำผลผลิตอย่างอื่นมาทดแทนได้ ดังนั้นการทำเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฏีใหม่ จะทำให้เกิดความพอเพียง พออยู่พอกินในครอบครัวได้ ซึ่งที่นี้มีการปลูกทุเรียน เงาะ ลองกอง และพริกไทย มีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา และอีกมากมาย ซึ่งตนเองลงมาเพื่อมาดูทิศทางว่าจะเข้ามาส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่แห่งได้อย่างไร
ด้านศาสตราจารย์ ดร.วิชิต เรืองแป้น ผู้ดูแลโครงการการรับใช้สังคม สังเคราะห์องค์ความรู้สู่การพัฒนาการจัดการลุ่มน้ำปัตตานีเพื่อความยั่งยืนในอนาคต กล่าวว่า สวนปลูกปัญญาแห่งนี้ ถือเป็นจุดที่เป็นลักษณะของงานการพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมในลุ่นน้ำปัตตานีในเชิงการทำการเกษตรเเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีงานวิจัยรองรับ ซึ่งตนเองจะนำความรู้มาช่วยชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาชนได้นำความรู้ที่ได้ไปสู่ชาวบ้านและสู่ภาครัฐให้ทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้คุณค่าของประชาชนที่ได้เดินได้ด้วยตนเอง โดนมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ก็จะให้การสนับสนุนและขับเคลื่อนและร่วมกันแก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน ไม่ว่าการให้ความรู้ การจัดสถานที่ฝึกอบรมร่วมถึงงบประมาณบางส่วนและเครือข่ายต่าง ๆ ซึ่งคิดว่าจะช่วยกันพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งหากทุกมหาลัยได้ร่วมกันช่วยเหลือให้กับชาวบ้านในลักษณะเช่นนี้ ประเทศชาติก็จะพัฒนาได้อีกไกล
ด้านนายอับดุลมานะ เจ๊ะโก๊ะ เจ้าของสวนปลูกปัญญา ได้เปิดเยถึงการตัดสินใจการทำการเกษตรผสมผสานตามทฤษฏีใหม่ และนำเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในครั้งนี้ว่า การทำจะทำอะไรสักอย่างเราต้องเป็นต้นแบบให้กับเยาวชนในพื้นที่ โดยตนเองริเริ่มจากการที่ไม่มีที่ ไม่มีทุน และไม่มีความรู้ แต่หลังจากที่อุสาหพยายามจนสามารถที่จะเรียนรู้การทำเกษตรทฤษฏีใหม่ จนเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ก็อยากนำความรู้ที่ได้นำไปสู่เยาวชนในพื้นที่ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำการเกษตร โดยตั้งเป้าหมายว่า ทำของเราให้เป็นของคนอื่น โดยให้ชาวบ้านมีส่วนในพื้นที่ตรงนี้ จึงได้ตั้งชื่อว่าสวนปลูกปัญญา เพราะทุกอย่างต้องกลับคืนสู่ผู้ที่มาที่นี้ ที่อยากจะได้รู้ ได้เห็น ได้ทำ บนพื้นที่แห่งนี้ โดยมีพื้นที่ กว่า 4 ไร่ ในการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็นลองกอง ทุเรียน เงาะ และมาแซมด้วย พริกไทย กล้วย ต้นหมาก โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 โซน ก็คือ พื้นที่เพาะปลูก พื้นที่ทำปศุสัตว์ และพื้นที่เพื่อไว้ในอนาคต เพื่อให้กลุ่มได้คิดและร่วมทำว่าจะทำอะไรในอนาคต ซึ่งตนหวังว่า พื้นที่แห่งนี้จะเป็นพื้นที่จุดประกายให้กับผู้คนในพื้นที่ให้หันมาทำการเกษตรแนวทฤษฎีใหม่ และไม่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก
ภาพ/ข่าว/สาเล็ม/ปัตตานี
833 total views, 2 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี