เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

กยท.ยะลา นำโดรนฉีกพ่นสารเคมี กำจัดเชื้อรา ใบยางพารา เสียหายแล้วกว่า 20 ล้านบาท

แชร์เลย

ทีมข่าว BETONG NEWS รายงาน..


(16ม.ค.63) นายศานติ พันธุ์มณี ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดยะลา พร้อมด้วยนายอุสมาน สาลัง ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย สาขาเบตง นายอารีฟ มหัศนียนนท์ เกษตรอำเภอเบตง และเจ้าหน้าที่หน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนฉีกพ่นสารเคมีกำจัดเชื้อรา บินพ่นยาในพื้นที่สวนยางของเกษตรกรในพื้นที่ ม.8 ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา หลังได้รับผลกระทบจากโรคใบร่วงในยางพารา สาเหตุจากการแพร่ระบาดของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมา ทำให้สวนยางพาราได้รับความเสียหายในวงกว้าง


นายศานติ พันธุ์มณี ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดยะลา กล่าวว่า โรคใบร่วงในยางพารา สถานการณ์สวนยางพาราประสบปัญหาเกิดโรคใบร่วงชนิดใหม่ ที่เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. แพร่ระบาดโดยลมและการไหลของน้ำฝน สำรวจพบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พศ. 2559 จากนั้น ในปี พ.ศ.2560 พบระบาดที่ประเทศมาเลเซีย ทำให้ใบยางร่วงมากกว่า 70 % พื้นที่มากกว่า 5,000 ไร่ ทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 30 % ปัจจุบันพบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการยางแห่งประเทศไทยได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจการลุกลามและความเสียหายจากโรคดังกล่าว พบโรคใบร่วงระบาดและส่งผลกระทบต่อผลผลิตยางพาราของเกษตรกรเป็นจำนวนมากและระบาดลุกลามเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 740,602 ไร่ มากสุด คือ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 732,193 ไร่ รองลงมาคือ จังหวัดยะลา จำนวน 5,349 ไร่ และจังหวัดปัตตานี จำนวน 3,060 ไร่ โดยจังหวัดยะลา มีพื้นที่ยางพารายืนตัน 1,293,277 ไร่ พื้นที่เปิดกรีด 1,060,229 ไร่ ผลผลิต 256,589 ตัน พบเกษตรได้รับผลกระทบจากการระบาดของของโรคประมาณ 415 ราย เนื้อที่ 5,349ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของพื้นที่ยางพารายืนตัน ได้แก่ อำเภอรามัน จำนวน 302 ราย 2,300 ไร่ อำภอบันนังสตา จำนวน 34 ราย 526 ไร่ อำเภอเบตง จำนวน 75 ราย 2,515 ไร่ และอำเภอยะหา 4 ราย 8 ไร่ ขณะนี้เกษตรกรในจังหวัดยะลาได้รับความเสียหายแล้ว กว่า 20 ล้านบาท


ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดยะลา กล่าวอีกว่า ลักษณะของโรคเกิดอาการบนใบสีเขียว ลักษณะเป็นจุดแผลเนื้อเยื่อตายและใบร่วง อาการเริ่มแรกใต้ใบมีลักษณะรอยซ้ำค่อนขังกลม เกิดแผลแห้งสีน้ำตาล ขอบแผลมีสีน้ำตาล สร้งกลุ่มเป็นเส้นใยหนาแน่น เจริญช้า ผิวใบด้านบนบริเวณเดียวกันสีเหลืองกลม ต่อมาระยะรุนแรงเนื้อเยื่อบริเวณนี้ขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีคล้ำขอบแผลดำ และเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อแห้งสีน้ำตาลจนถึงขาวซีดรอบแผลไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 0.5 เชนติมตร จำนวนจุดแผลบนแผ่นใบมีมากกว่า 1 แผล อาจลุกลามซ้อนกันเป็นแผลขนาดใหญ่ รูปร่างแผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ระยะรุนแรงใบเหลืองและร่วงในที่สุด และเมื่อใบยางร่วงตันยางจะผลิใบใหม่หลังจากนั้นเมื่อใบยางแก่เต็มที่หากมีสภาพอากาศที่หมาะสมเชื้อราสามารถเข้าทำลายซ้ำทำให้ใบยางร่วงได้ อีกในรอบปีอาจทำให้ใบยางแก่ร่วงซ้ำถึง 3 รอบ ซึ่งผลผลิตอาจจะลดลงกว่า 30 – 50 % มีผลกระทบต่อ ผลผลิตอย่างรุนแรง และอาจทำให้กิ่งเล็กๆ แห้งตายได้ ซึ่งหากเป็นไปได้ในช่วงติดเชื้อ ขอให้ชาวบ้าน หรือ เกษตรกรชาวสวนยาง งดการกรีดยาง ที่อาจจะกระทบต่อต้นยางพาราในระยะยาว ที่มีอายุเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยลง ซึ่งการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดยะลา จะมีการสนับสนุนยากำจัดเชื้อรา เกษตรกรชาวสวนยาง พร้อมนำโดรนบินฉีดพ่นกำจัดเชื้อราจนกว่าเชื้อราชนิดนี้จะหมดไปในแต่ละพื้นที่

/////////////////////////////

 632 total views,  2 views today

You may have missed