อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน
ในระหว่าง 9-12 ธันวาคม 2562 องค์กรพัฒนาเอกชนอัลอิรชาด ของประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย จัดสามเวที “แนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาที่ 2(อาหรับ) ด้วยหลักอัลฟิตเราะห์ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วในประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย
นายอับดุลเลาะ เซ็ง อุปนายกสมาคมเครือข่ายโรงเรียนคุณภาพอัสลาม ได้กล่าวว่า “โครงการเพื่อยกระดับการจัดการเรียนการสอนภาษาที่สอง (ภาษาอาหรับ) จากประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย โดย วิทยากรจากประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย สำหรับโรงเรียนที่ต้องการยกระดับการจัดการเรียนการสอนภาษา เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด กับ “โครงการแนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาที่ 2 กรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์-อินโดนีเซียนี้เราจัด โครงการจัดขึ้น 3 ที่ 3 เวลากล่าวคือวันที่ 9 ธ.ค. ณ โรงแรมปาร์ควิว จ.ปัตตานี
วันที่ 10 ธ.ค. ณ โรงแรมญันนาตี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันที่ 12 ธ.ค. ณ โรงเรียนคูเวตพิทยพัฒน์ อ.เมือง จ.กระบี่ โครงการนี้จัดขึ้น โดย บริษัท Prece Ed Group จำกัด จัดขึ้นเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอาหรับ อันเป็นภาษาที่ 2 ที่ประสบความสำเร็จแล้วในประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ทั้งนี้เพื่อให้เห็นว่า การสอนภาษาอาหรับหรือภาษาที่ 2 อื่น ๆ ในประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ทำอย่างไรให้เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ให้ถึงดูดใจ รวมถึงการใช้สื่อการสอนที่ทันสมัยอย่างไรสำหรับการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนและอื่น ๆ บริษัทคาดหวังแนวทางการจัดการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และยินดีจะเป็นสื่อกลางเพื่อการจัดสื่อต่าง ๆ ที่ทันสมัยและตอบโจทย์การศึกษาในปัจจุบันและอนาคต ในโครงการยังเปิดตัวและนำเสนอ หนังสือต่าง ๆ และสื่อต่าง ๆ สำหรับการสอนภาษาในโรงเรียนอีกด้วย “
Mr.Agus จากประเทศอินโดนีนีเซียผู้คิดค้นนวตกรรมการจัดการเรียนรู้ภาษาอาหรับด้วยหลักสูตรอัลฟิตเราะห์ กล่าวว่า “หลักสูตรนี้สามารถพัฒนาทักษะภาษาอาหรับอย่างมาตรฐานฟังพูด อ่าน เขียนภายในหนังสือหกเล่มของเรา เราสามารถพัฒนาศักญภาพครูให้มีทักษะ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ศตวรรษที่21 ในยุคดิจิตอล เด็กเรียนสนุก สอดคล้องกับธรรมชาติของคนมุสลิมอาเซี่ยนที่เรียนภาษาอาหรับเป็นภาษาที่ 2 ซึ่งเราทำสำเร็จมาแล้วที่ประเทศอินโดนีเซียและสิงคโปร์ ปัจจุบันเรายินดีพัฒนาให้เด็กและครูของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคใต้”
Mr.Audi จาก Irsyad ประเทศสิงคโปร์ Singapore กล่าวว่า “มีปัจจัยความสำเร็จของโครงการนี้ได้ เช่น ความสามารของครูในการจัดการเรียนรู้ซึ่งครูผู้สอนสามารถพัฒนาตัวเองได้ผ่านหลักสูตรการอบรมของเราและต้องพัฒนาตลอดเวลาโดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในยุคดิจิตอล แต่เมื่อครูมีศักยภาพ ครูต้องได้รับสวัสดิการที่ดีด้วยพร้อมการหนุนเสริมจากฝ่ายบริหารโรงเรียน
หมายเหตุศึกษาเพิ่มเติมใน
1.
https://www.facebook.com/PeaceEdGroup/posts/160921328607454
2.ตัวอย่างการอบรมการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรฟิตเราะห์
1,388 total views, 2 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ครั้งที่ 4
1 พฤษจิกายน จะนะเปิดเรียนเเต่ออนไลน์และบทเรียนจากภูเก็ต