พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ม.นราธิวาส ลงนาม MOU สานต่อนโยบายรัฐ เร่งศึกษา ขยายพันธ์ไม้ไผ่ “แก้จน” สู่พืชเศรษฐกิจชายแดนใต้ คาดจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรประชาชนพื้นที่

แชร์เลย

ทีมข่าว spm news รายงาน..

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 11 ธันวาคม 2562 ที่ห้องประชุมสภา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส ด้วยทางมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้จัดทำพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่พืชเศรษฐกิจร่วมยาง และห้างหุ้นส่วนจำกัดแบมบูโลจิสติกส์ กรุ๊ป จำกัด ในการนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศรัย นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และนายสภาพ มีไข่ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่พืชเศรษฐกิจร่วมยาง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง และนายธวัฒชัย สงสม ผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด แบมบูโลจิสติกส์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมลงนาม MOU ในครั้งนี้ โดยมี นายมูฮัมหมัดฮัยกัล ธำรงทรัพย์ ผู้ทรงเกียรติ และแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการการพัฒนาสายพันธุ์ไผ่ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สถาบันการศึกษาต่างประเทศจากสาธารณรัฐเกาหลี และราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย โดยมีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ และผู้แทนรัฐบาลจากสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ด้วยมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยนายกสภามหาวิทยานราธิวาสราชนครินทร์ และอธิการบดี ได้มีการวางแผนในการขับเคลื่อนโครงการ และลงพื้นที่ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถึงวิธี และกระบวนการจัดการไผ่ ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่พืชเศรษฐกิจร่วมยาง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีเนื้อที่กว่า 500 ไร่ เป็นเนื้อที่ปลูกไผ่แบบผสมผสาน มีแปลงสาธิตการปลูกไผ่ร่วมยาง ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมทางการเกษตร ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความสนใจ ซึ่งถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญ และน่าสนใจอย่างยิ่ง นอกจากนี้มหาวิทยาลัยได้หารือร่วมกันถึงการดำเนินงานในการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรกรให้หันมาสนใจปลูกพืชชนิดไผ่ โดยมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำกระบวนการในการจัดการพืชไผ่ในขั้นตอนของการจำหน่าย และขั้นของการแปรรูปไผ่ออกสู่ตลาดสากล

สำหรับการยายพันธุ์ไผ่ สู่พืชเศรษฐกิจชายแดนใต้ ถือเป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่พืชเศรษฐกิจร่วมยาง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง และ ห้างหุ้นส่วน จำกัด แบมบู โลจิสติกส์ กรุ๊ป ได้หารือและร่วมกันพัฒนาพันธ์ไผ่ ซึ่งในระยะแรก มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยมหาวิทยาลัยฯจะดำเนินการ

ขยายพันธุ์ไผ่ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจในกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจปลูกไผ่ เพื่อเศรษฐกิจควบคู่กันไป ให้เกิดการยอมรับและมีการขยายพื้นที่ทางการเกษตรประเภทไผ่มากขึ้น และถือเป็นความสำเร็จ ส่งผลดีต่อเกษตรกรต่อไป และจะได้ผลสู่เกษตรกร สร้างอาชีพรายได้ในพื้นที่ ให้อยู่ดีกินดี ต่อไป

/////////////////////////////////////////////

 

 

 934 total views,  2 views today

You may have missed