พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เกษตรยะลา จัดอบรมความรู้ เกษตรกรเบตง การป้องกันกำจัดโรครากเน่าต้นทุเรียน ระบาดในฤดูฝน

แชร์เลย

ทีมข่าว BETONG NEWS รายงาน..


(27 พฤศจิกายน 2562)  นายอำมร รอดดำ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา นำเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเบตง ลงพื้นที่อำเภอเบตง ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรและสาธิตแนวทางในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าของต้นทุเรียน และการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องเหมาะสม

นายอำมร รอดดำ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา กล่าวว่า การเข้าทำลายของโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนที่โคนต้น มีจุดฉ่ำน้ำสีน้ำตาล และมีน้ำเยิ้มออกมาในช่วงเช้า เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเปลือกเน่า เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาล แผลเน่าจะลุกลามรวดเร็ว และที่ใบและกิ่งอ่อน มีอาการเน่า ใบอ่อนเหี่ยวเหลือง มักพบโรคร่วมกับการเข้าทำลายของมอดเจาะลำต้นทุเรียน และจะระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกติดต่อกัน

หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา กล่าวว่า การควบคุมและป้องกันกำจัด กรณีโรคเข้าทำลายไม่รุนแรง ให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมกับรำข้าวและปุ๋ยหมัก ในอัตราเชื้อรา 1 กิโลกรัม รำข้าว 4 กิโลกรัม และปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปโรยรอบโคนต้น ในอัตรา 10-20 กรัมต่อต้น แต่หากโรคเข้าทำลายรุนแรง ให้ถากหรือขูดผิวเปลือกที่เป็นโรคออก แล้วทาแผลด้วยสารเคมีเมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 50-60 กรัม/น้ำ 1 ลิตร โดยทาแผลทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง หรือรักษาด้วยวิธีฉีดเข้าลำต้น ด้วยสารโพลี อาร์ ฟอส ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา ฉีดเข้าลำต้น อัตรา 20 มิลลิลิตร/หลอด 3-4 หลอด/ต้น และติดตามอาการของโรค ถ้าอาการยังไม่ทุเลา ให้ฉีดทุก 1-2 เดือนจนกว่าจะหายสนิท

///////////////////////////////////////

 

 927 total views,  2 views today

You may have missed