อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)รายงานจากมาเลเซีย
(9 พฤศจิกายน 2562) ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาภาษาอังกฤษจาก Datuk Dr.Abdul Halim Mohammad ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาสำหรับบุคคลที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองของSchool of Education and Modern Languages มหาวิทยาลัย UUM ประเทศมาเลเซีย โดยท่านสะท้อนว่า คนมาเลเซียเเละไทยไม่ค่างกันแม้เรียนภาษาอังกฤษจากประถมศึกษาถึงมหาวิทยาลัยแต่ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพและมั่นใจ เหตุผลหลักคือครูผู้ถ่ายทอด ท่านกล่าวว่า “ท่านได้รับประสานจากนายกเทศมนตรีเมืองนครปฐม ให้ไปถอดบทเรียนว่าทำไมเด็กนครปฐมไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในระดับ ที่น่าพอใจแม้ทางเทศบาลได้จัดให้ครูต่างชาติเข้าไปสอนในโรงเรียนภายใต้เทศบาลกว่า 20 โรงเรียน”
หลังจากท่านได้โจทย์จากผู้บริหารเทศบาลนครปฐมแล้วท่านลงพื้นที่ทุกโรงเรียนสัมผัสครูภาษาอังกฤษ ร่วมสังเกตการณ์การสอน จึงถึงบางอ้อว่าทั้งไทยและมาเลเซียมีปัญหาด้านทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษเหมือนกันเพราะครูไม่เตรียมการสอนเพียงพอ บอกขั้นการสอนไม่ได้ ประเมินผู้เรียนไม่หลากหลาย ขาดสื่อการสอนแม้จะเตรียมตัวในเนื้อหาที่ง่าย ไม่สร้างสภาแวดล้อมที่เอื้อด้านภาษาต่อผู้เรียน ดังนั้นนี่จึงปัญหาใหญ่มากๆ ที่สำคัญครูผู้สอนเองไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ อีกปัจจัยครูเน้นไวยกรณ์ ท่องศัพท์ผิดธรรมชาติทักษะภาษาที่เรียงจากฟัง พูด อ่าน เขียน ดังนั้นต้องรีบปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนรู้ครูและท่านอาสาจะร่วมกับทุกภาคส่วนของไทยในการฝึกอบรมกสรสร้างครูต้นแบบด้านนี้ สำหรับปัจจุบันเป็นเวลา 5 วันเต็มท่านและคณะทำงานได้ร่วมจัดค่ายพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษกับผู้เรียนในประเทศไทยกับโรงเรียนต่างๆเช่นโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โรงเรียนสายบุรีอิสลาม โรงเรียนเเสงธรรมอิสลามจังหวัดตรังและอื่นๆทุกปี แต่ทำไมนักเรียน4-5 วันเข้าค่ายเรากล้าพูดกล้านำเสนองานหน้าชั้นเรียนและบนเวที “
หมายเหตุตัวค่ายภาษาอังกฤษซึ่งท่านทำให้กับนักเรียนโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ
https://www.facebook.com/groups/347921095660670/?ref=share
1,062 total views, 2 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ครั้งที่ 4
1 พฤษจิกายน จะนะเปิดเรียนเเต่ออนไลน์และบทเรียนจากภูเก็ต