ทีมข่าว.SPM news…
จากเหตุความไม่สงบ เมื่อวันจันทร์ ที่ 5 พฤษจิกายน 2562 เมื่อเวลา 23.20 น. คนร้ายไม่ทราบจำนวน ใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด ยิงใส่จุดตรวจ 2 จุด ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 15 ราย และได้รับบาดเจ็บจำนวน 5 รายนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 ด้านนายนัจมุดัน อูมา อดีต ส.ส.จังหวัดนราธิวาส หลายสมัย และเป็นหนึ่งนักเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพชายแดนใต้น เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า จากถ้อยคำให้สัมภาษณ์ ดร.มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรี มาเลเซีย ได้กล่าวถึง “ไม่แบ่งแยกดินแดน” เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมากับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขณะที่เดินทางมาประชุมสุดยอดอาเซียนที่ กทม. นั้น ตนมองว่าไม่ได้เกี่ยวข้องหรือสร้างให้เกิดสถานการณ์รุนแรงเกิดขึ้น กับสถานการณ์รุนแรงที่ ลำพะยา จ.ยะลา แต่อย่างใด ซึ่งจะเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมา ดร.มหาเธร์ แสดงจุดยืนต่อรัฐบาลไทยมาหลาย 10 ปีแล้วว่า ไม่เห็นด้วยที่ประเทศไทย ต้องมีการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งเป็นจุดยืนที่ชัดเจนจากผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน
แต่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโจมตี ชุด ชรบ.นั้น ตนไม่เห็นด้วย กับการใช้กำลังอาวุธประหัตประหาร และขอประณาม กับการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ แต่ขอเน้นย้ำให้คณะหัวหน้าเจรจาคนใหม่ เร่งพูดคุยกระบวนการสันติภาพให้เร็วขึ้น เพราะมีผลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และลำพังเจ้าหน้าที่ไม่สามารถดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่ได้ทั้งหมด ควรเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการเฝ้าระวังภัย เป็นหูเป็นตากับทางเจ้าหน้าที่ แบบบูรณาการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการพูดคุยสันติภาพ ที่มี พลเอกวัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าพูดคุยสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของไทย (คนใหม่) ควรเปิดโต๊ะเจรจาพูดคุย กับกลุ่มขบวนการเห็นต่าง ผ่านผู้อำนวยความสะดวก ให้เร็วที่สุดจะยิ่งดี เพราะจะเกิดผลดีต่อการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะปัญหาความรุนแรง ความไม่สงบที่เกิดขึ้น นายนัจมุดดีน กล่าว
นายอับดุลการีม อัสมะแอ หัวหน้าสาขาวิชานิติศาสตร์ มฟน. และอุปนายกสมาคมประชาสังคม จ.นราธิวาส เผยว่า เหตุการณ์กราดยิง 15 ศพที่ จ.ยะลาที่ผ่านมา เป็นการที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ถึงแม้เหตุการณ์จะเริ่มเบาบางลงแล้ว และเป็นเพียงเฉพาะหนึ่งเหตุการณ์ เหตุการณ์นี้ไม่ได้ทำให้พื้นที่รุนแรงเหมือนอดีต เป็นส่วนหนึ่งเครื่องมือต่อรองอาจจะเป็นรอยต่อสร้างเงื่อนไขขึ้นมา
นายฆอซาลี อาแว เจ้าหน้าที่นักวิจัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เป็นหนึ่งรูปแบบที่คล้ายคลึงเมื่ออดีตที่ผ่านมา ด้วยกับเหตุการณ์เริ่มเบาบางลง จึงสร้างสถานการณ์รุนแรงซ้ำๆดังกล่าวขึ้นมา เป็นเครื่องมือแสดงถึงความแข็งแกร่งของผู้เห็นต่าง และมองว่าเจ้าหน้าที่ที่มีอาวุธอยู่ในมือมองโดยประชาชนคือผู้กล้า ผู้แข็งแกร่ง แต่นั้นคือเป้านิ่งสำหรับผู้เห็นต่าง คือจุดอ่อนที่สุดที่จะสามารถสร้างสถานการณ์ได้ทันที ควรให้หลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาดูแลรักษาหมู่บ้านได้แล้ว ไม่ใช่เพียงเจ้าหน้าที่ แต่เป็นการ ความร่วมมือ ในการบูรณาการของทุกฝ่ายให้มากที่สุด
847 total views, 2 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี