อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ) รายงานจากกทม…
ต้นเดือนพฤจิกายน 2562 ผู้เขียนได้ขออนุญาตผู้จัดและเพื่อนผู้ประชุมประชุมเชิงปฏิบัติการ “กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน” ที่มศว.ประสานมิตรประมาณ 11.00 น.เพื่อไปละหมาดวันศุกร์หลังจากนั้นผู้เขียนเดินไปขึ้นรถไฟฟ้าAirport Link ที่สถานีมะกะสัน ลงสถานีรามคำแหง เพื่อไปละหมาดวันศุกร์ที่รามคำแหง 2 อันเป็นที่ตั้งของมัสยิดเพื่อศูนย์กลางอิสลาม อันเป็นศูนย์รวมของคนหลากหลายจากภาคใต้ ภาคเหนือภาคกลางและกทม.ในประเทศและต่างประเทศที่มาทำละหมาดวันศุกร์ที่นี่นับพันคน ก่อนขึ้นละหมาดในห้องประชุมชั้นล่างก็เห็นคน มีอายุชายหญิงจำนวนมากรอเข้าคิวกัน ก็เข้าไปดูก็พบบรรดาแพทย์มุสลิมชายหญิงเกือบสิบคนกำลังให้บริการตรวจสุขภาพจิตอาสา ผู้เขียนก็เลยถือโอกาสตรวจสุขภาพด้วย
นายสมชาย เกิดอยู่ได้เล่าให้ผู้เขียนว่า “เริ่มแรกการบริการตรวจสุขภาพนี้มาจากโรงพยาบาลกลาง สังกัดกรุงเทพมหานคร ประสานงานโดยนายมุดตาฝ้า หมันงะ รองผู้ว่าฯกทม. ต่อมาสมาคมแพทย์มุสลิมเห็นว่าสมาคมควรดำเนินการแทน ร.พ.กลาง จึงเริ่มมาตั้งแต่ปี2547”
ในขณะที่คุณศราวุธ ศรีวรรณยศ อดีตนายกสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทยและอดีตกรรมการบริหารศูนย์กลางนี้ เล่าว่า “เริ่มต้น จาก การที่ท่าน ณรงค รื่นพิทักษ์ ปรึกษากับ หมอสมัย ขาววิจิตร ให้ อาจารย์ อาวุโส หมอ สมมาตร มิตรอารีย์ เป็น ประธานชมรมแพทย์ หมอดรุณี มิตรอารีย และ อภิศักกิ์ กองนักวงศ์ มาขอให้ผมร่างระเบียบ ข้อบังคับ และต่อ มาจดทะเบียน เป็น สมาคม แพทย์มุสลิมแห่งประเทศไทย”
ครับนี่คือหนึ่งความประทับใจในเรื่องสวัสดิการสังคมที่นี่ก่อนละหมาด พอหลังละหมาดก็ได้พบกับเพื่อนรุ่นพี่คนจะนะด้วยกัน แต่มาแต่งงานและประกอบอาชีพที่นี่ อาจารย์ ฮารูน (วีรโชติ )หะยีหมะและรุ่นพี่(มากๆ)ที่ไม่พบกัน 20 กว่าปีจากที่เคยเรียนที่อียิปต์ อาจารย์บุฆอรี บินรามัญ ก็ได้ชวนผู้เขียนไปรับประทานอาหารเที่ยงและชาปากีสถาน ในโรงเลี้ยงติดกับศูนย์กลาง ก็พบว่ามีผู้คน จำนวนมากเช่นกันโดยเฉพาะเชื้อสายปากีสถานทั้งสัญชาติไทยและสัญชาติปากีสถานมานั่งร่วมวงรับประทานอาหารและดื่มชาพร้อมเสวนาทั้งเรื่องศาสนา สังคม เศรษฐกิจ การศึกษาและทั่วไปอย่างเป็นกันเอง
ผู้เขียนก็เลยถามตัวแทนสมาคมมิตรภาพไทย-ปากีสถานว่า โครงการนี้เป็นอย่างไร ตัวแทนสมาคมก็บอกว่า”เรามีโครงการนี้ก็เพื่อเป็นเวทีได้พูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมทำบุญกับคนยากจนที่มาละหมาดที่นี่ด้วย สัปดาห์หนึ่งหนึ่งครั้งหลังละหมาดวันศุกร์ แต่ละครั้งจะมีคนบริจาค ตั้งแต่ประมาณ 2 พันบาทขึ้นไป มีคนคอยอาสา หุงต้มให้ ล้างถ้วยชามให้ ก็เป็นบรรยากาศกันเองดี”
ครับนี่เป็นสองเรื่องที่ผู้เขียนประทับใจในสิ่งที่ดีๆที่มัสยิดแห่งนี้และทางนี้ไม่น่าสงวนลิขสิทธิ์หากมัสยิดใดจะนำไปปฏิบัติและปรับใช้บ้าง
ส่วนหลังจากนั้นท่านอาจารย์บุฆอรีพาผมไปจิบนำ้ร้อนที่โรงแรมฮิจเราะห์ซึ่งอยู่ข้างศูนย์กลาง ผู้เขียนก็ไปเจออาจารย์สุชาติ สุวรรณดีฝ่ายแนะเเนวผู้มากประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กทม.ซึ่งมีเด็กมุสลิมและเด็กชายแดนใต้มากเช่นกันมาเรียนที่นี่ซึ่งวันหลังคงจะได้มาเล่าถ่ายทอดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะ
หมายเหตุ
1.มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลาม
http://www.thaiislamiccenter.com/2013/main/index.php
2.สมาคมแพทย์มุสลิมแห่งประเทศไทย
3.สมาคมมิตรภาพไทย-ปากีสถาน
https://m.facebook.com/ThaiPakistaniFriendshipAssociation/?locale2=th_TH
1,782 total views, 2 views today
More Stories
คณะกรรมาธิการสันติภาพฯ ถกแนวคิดหารือทางร่วมข้อคิดเห็น ข้อเสนอระดับพื้นที่ เตรียมผลักดันร่างพรบ.สันติภาพ
ส่งมอบความสุขแก่เด็กและเยาวชน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติปี 2566
มหาเดร์สอบตกในขณะอันวาร์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกับวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งมาเลเซีย รวมทั้งความท้าทาย