ทีมข่าว BETONG NEWS รายงาน…
แพทย์หญิงปัทมพันธ์ อนันตาพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเบตง เปิดเผยว่า ในแต่ละวันมีผู้ป่วยใช้บริการโรงพยาบาลเบตง เป็นจำนวนมาก ทางโรงพยาบาลเบตงจึงเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาที่จะช่วยลดความแออัด และทำให้เกิดความคล่องตัว ทั้งด้านการใช้บริการของผู้ป่วยและการให้บริการของเจ้าหน้าที่ จึงได้ดำเนินการตามวิสัยทัศน์ของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยการใช้ ระบบ Internet of Things (IOT) พัฒนาการให้บริการประชาชนและผู้ป่วยที่เข้ารับบริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในโรงพยาบาล ของสังคม 4.0 ด้วยการนำตู้ Smart Hospital Kiosk ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่มาบริการประชาชนภายใน โรงพยาบาลเบตง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ลดการรอคอยของผู้ป่วยและผู้มาใช้บริการในโรงพยาบาล ย่นระยะเวลาการให้บริการได้มากขึ้น
นายอนุกูล รัตนาวิบูลย์ หัวหน้ากลุ่มภาระกิจพัฒนาระบบบริการสุขภาพโรงพยาบาลเบตง กล่าวว่า สำหรับตู้อัจฉริยะ Smart Hospital Kiosk เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบให้ช่วยอำนวยความสะดวก เพื่อลดเวลาของการรอคอยการลงทะเบียน มีความแม่นยำและเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของโรงพยาบาล โดยลักษณะการทำงานของตู้อัจฉริยะ สามารถลงทะเบียนผู้ป่วย – รับบัตรคิวอัตโนมัติ – ตรวจสอบนัด – ตรวจสอบสิทธิการรักษา โดยโรงพยาบาลเบตงได้เริ่มใช้เป็นแห่งแรกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้โรงพยาบาลเบตง ยังนำเทคโนโลยีมาใช้การพัฒนาระบบ BETONG SMART ER .ให้บริการครบวงจรที่แผนกห้องฉุกเฉิน คือมีตู้ Smart Hospital Kiosk สำหรับการรับบริการห้องฉุกเฉินโดยเฉพาะ และด้วยลักษณะของระบบคิวของห้องฉุกเฉินจะแตกต่างแผนกอื่นๆโดยห้องฉุกเฉินจะเรียงลำดับการให้บริการตามภาวะวิกฤตของผู้ป่วยเป็นหลัก เรียงจากผู้ป่วยทั่วไปจนถึงผู้ป่วยวิกฤต หลังจากพยาบาลคัดกรองภาวะของผู้ป่วยหากมีผู้ป่วยวิกฤติจะมีโปรแกรมแจ้งเตือนอัตโนมัติทั้งภาพและเสียงให้ผู้รับบริการท่านอื่นและญาติทราบว่าทางทีมแพทย์และพยาบาลได้ทำการรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤติอยู่ เพื่อลดความไม่พึงพอใจและแจ้งให้ผู้รับริการทราบว่าทางทีมแพทย์กำลังรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินอย่างเต็มศักยภาพอยู่ในขณะนั้น ส่วนในบริเวณหน้าห้องผ่าตัดได้มีพัฒนาโปรแกรมแจ้งสถานะผู้ป่วย โดยจะแจ้งข้อมูลเบื้องต้นและสถานภาพผู้ป่วยในห้องผ่าตัดว่า ผ่าตัดอยู่ห้องใดโดยแพทย์ท่านใดและผ่าตัดเสร็จแล้วหรือไม่ เพื่อลดความกังวลของญาติที่รออยู่หน้าห้องผ่าตัดได้
ทั้งนี้ ผลของการดำเนินงานพัฒนาและใช้จากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ช่วยลดการรอคอยการลงทะเบียน ลดการรอคอยหน้าห้องตรวจได้เร็วขึ้น ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ และแพทย์สามารถตรวจผู้ป่วยได้เสร็จก่อนเวลาที่กำหนด เนื่องจากกระบวนการเป็นไปอย่างคล่องตัว และมีการประมวลผลข้อมูลอย่างทันท่วงที
1,223 total views, 2 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี