เมษายน 19, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เรือประมงปัตตานี นำร่องใช้เทคโนโลยีเครื่องกล สู้วิกฤตขาดแคลนแรงงาน และใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนพึ่งแรงงานต่างชาติ

แชร์เลย

ทีมข่าว SPM news ปัตตานี รายงาน…


โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดปัตตานี การประกอบอาชีพทำประมงถือได้ว่ามีสัดส่วนที่สูง มีมูลค่าปีละกว่า 9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับรายได้จากสาขาอาชีพอื่น ๆ มีทั้งการนำไปใช้บริโภคสดและเป็นวัตถุดิบในโรงงาน ส่วนหนึ่งจะส่งออกไปยังจังหวัดใกล้เคียงในภาคใต้และภาคอื่น ๆ ของประเทศ แต่ยังพบปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน ที่ต้องพึ่งพิงแรงงานต่างชาติ
ล่าสุด ที่จังหวัดปัตตานี ได้นำร่องเปิดตัวเรือประมงอวนล้อมจับ ที่ได้สนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลญี่ปุ่น (Japanese trust fund 2018) กว่า 1 ล้านบาท และเจ้าของเรือ ที่ร่วมโครงการฯ อีกกว่า 1 ล้านบาท ด้วยการทดลองใช้เครื่องกลทุ่นแรง ชื่อว่า น. ลาภประเสริฐ 8 ขนาด 91.71 ตันกรอส ที่ทำการประมงในพื้นที่บริเวณอ่าวไทย เข้าร่วมโครงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการใช้แรงงานบนเรือประมง ด้วยความร่วมมือของกรมประมง ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีฟเดค) สมาคมการประมงจังหวัดปัตตานี และเจ้าของเรือในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมง และรักษาคุณภาพของสัตว์น้ำที่จับได้ ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่สำคัญของผู้ประกอบการประมงของจังหวัดปัตตานี

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทย มีความต้องการแรงงานภาคประมง กว่า 30,000 คน และต้องพึ่งพิงแรงงานต่างชาติ ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าใช้จ่าย ในการจัดทำเอกสาร เพื่อให้ได้แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีค่าใช้จ่ายที่คอนข้างสูง จึงได้ร่วมกันหาแนวทาง ในการลดการใช้แรงงานบนเรือและลดต้นทุนในการทำประมง ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงเครื่องมือทำประมง บนพื้นฐานการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย ซึ่งสามารถลดแรงงานประมง และยังสามารถรักษาคุณภาพของสัตว์น้ำให้มีความสดได้จนถึงผู้บริโภค และสามารถจำหน่ายได้ในราคาดี


สำหรับเรือประมงอวนล้อมจับลำแรกของจังหวัดปัตตานี เดิมต้องใช้แรงงานทำประมงจำนวน 30 คน แต่เมื่อได้นำเครื่องกลทุ่นแรง ทำการประมงแบบระบบไฮดรอดิก เช่น เครน และ Power black สำหรับการกู้เก็บอวน รวมถึงระบบทำความเย็น สามารถลดจำนวนแรงงานได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และสามารถรักษาคุณภาพของสัตว์น้ำให้มีความสด สามารถลดต้นทุนและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และเป็นอีกก้าวหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงเรือประมงพาณิชย์ของไทยให้มีความทันสมัย ตอบโจทย์การช่วยเหลือผู้ประกอบการประมงไทยในอนาคต.

/////////////////////////////

 1,762 total views,  2 views today

You may have missed