มกราคม 19, 2025

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

นักวิชาการ นักสิทธิฯ กังขา!! คำแถลงการณ์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์หาดใหญ่ กรณี “อับดุลเลาะ อีซอมูซอ”เสียชีวิต

แชร์เลย

อับดุลเลาะ เบ็ญญกาจ  ปัตตานี รายงาน…


(26สค.62)ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอภายในห้องICU ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์หาดใหญ่ ภายหลังจากได้เข้าพักรักษาตัวส่งต่อจากICUโรงพยาบาลปัตตานีเป็นเวลาทั้งสิ้น35วัน สร้างความตกใจให้กับครอบครัวรวมทั้งประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากเป็นที่รับรู้ทั่วกันว่าสาเหตุเกิดหมดสติของอับดุลเลาะ ในระหว่างเข้ากระบวนการซักถามของหน่วยเฉพาะกิจทหารพราน43 ค่ายอิงคยุทธฯปัตตานี จึงเกิดความไม่สบายใจ รู้สึกกังวลถึงความปลอดภัยของผู้ที่ถูกเชิญตัวหรือควบคุมตัวโดยกฎหมายพิเศษ ถึงแม้ทางโรงพยาบาลและโฆษก กอ.รมน.ภาค4ส่วนหน้า ได้มีการแถลงถึงสาเหตุการเสียชีวิตแล้วก็ตาม แต่ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่น และคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ตายและครอบครัวที่ต้องสูญเสียภายในการควบคุมของเจ้าหน้าที่รัฐโดยไร้ความรับชอบใด ๆล่าสุดนักวิชาการจากสถาบัณต่าง ๆได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเรียกร้องให้ทุกฝ่ายทำด้วยความโปร่งใส่ โดยอ้างว่าคำแถลงการณ์ของบางหน่วยงานที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียหายแต่กลับเอื้อประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่รัฐกันเอง
ด้าน อาจารย์ ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.ปัญหาของการระบุสาเหตุการตายของอับดุลเลาะห์ การทำความเข้าใจสาเหตุการเสียชีวิตของคุณอับดุลเลาะ อีซอมูซอ จำเป็นต้องไล่เรียงข้อมูลตั้งแต่เมื่อครั้งที่เขาถูกนำตัวจากศูนย์ซักถาม ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 62 ออกมาส่งที่โรงพยาบาล


ดังนั้นการอ้างแถลงการณ์การเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะห์ ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เมื่อเย็นวันที่ 25 สิงหาคม 2562 ที่ระบุว่า “สรุปสาเหตุการเสียชีวิต คือ เกิดจากปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe pneumonia) และมีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (septic shock)” แต่เพียงอย่างเดียวดังที่ พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน จึงเป็นสิ่งท่าทีที่เลวร้ายมากและเป็นเจตนาที่จะทำให้เรื่องนี้เงียบหายและขัดขวางกระบวนการค้นหาความจริงที่ควรจะมีต่อไปเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายอับดุลเลาะในค่ายทหาร ที่น่าสนใจว่านั้นในหนังสือรับรองการตายที่ทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ออกให้แก่ครอบครัวในช่วงสายวันที่ 25 สิงหา ที่ผ่านมานั้น ได้ระบุโรคที่เป็นสาเหตุการตายว่า ได้แก่ Hypoxic ischedic encephalopathy (HIE) โดยใด้ระบุในใบมรณบัตรว่า “สมองขาดออกซิเจนและขาดเลือด” ซึ่งระบุสาเหตุการตายคนละแบบกับในแถลงการณ์

ทั้งนี้ อันที่จริงแล้วในแถลงการณ์ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ที่ออกมาในช่วงเย็นของวันเดียวกัน ควรระบุให้ชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการเสียชีวิตที่มีความต่อเนื่องกัน เพื่อป้องกันความสับสน โดยควรระบุว่า “อับดุลเลาะห์ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลด้วยอาการสมองขาดออกซิเจน หลังจากนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลมาระยะหนึ่ง ได้มีภาวะแทรกซ้อนในการติดเชื้อในปอด และเชื้อลุกลามจนเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือด และทำให้เสียชีวิต”

ส่วนตัวนั้นอยากถามทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ว่าทำไมจึงออกแถลงการณ์แบบตัดตอนเรื่องสาเหตุการตายเช่นนี้ ทั้งยังไม่เอาข้อมูลจากหนังสือรับรองการตายมาใส่ในแถลงการณ์ด้วย อดสงสัยไม่ได้ว่ามีหน่วยงานใดมาตรวจหรือเซ็นเซอร์แถลงการณ์ก่อนเผยแพร่หรือไม่ อนึ่ง แถลงการณ์ในลักษณะนี้เอื้อต่อการสร้างความชอบธรรมให้กับทางกองทัพและรัฐบาลอย่างมากในที่จะทำให้เรื่องนี้เงียบหาย และทำให้หนทางในการค้นหาความจริง เช่น การตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เป็นกลางในระดับประเทศ หรือการทำให้เรื่องนี้เป็นคดีพิเศษ ฯลฯ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ด้านคุณอังคนา นิละไพจิต กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ความเห็นในเรื่องการตายของอับดุลเลาะว่า การขาดอากาศหายใจจนนำมาสู่อาการสมองบวมและสมองตายภายหลังจากที่ถูกจับกุมและควบคุมตัวไม่ถึง 24 ชั่วโมงในค่ายทหาร ของอับดุลเลาะฮฺ อีซอมูซอ ซึ่งต่อมาเขาได้เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน ทั้งที่เขาไม่เคยมีประวัติเจ็บป่วยหรือมีโรคประจำตัวมาก่อน คงยากที่จะอธิบายให้ญาติและสังคมเข้าใจได้ แม้ไม่มีหลักฐานว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่ก็ไม่มีหลักฐานเช่นกันว่าทำไมเขาจึงขาดอากาศหายใจ จะมีก็แต่เพียงการให้ข้อมูลและการสัญนิษฐานของ จนท ผู้ควบคุมตัวเขาเท่านั้น

อยากให้บทเรียนจากความเจ็บปวดของครอบครัวครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนให้ จนท ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกควบคุมตัวมากขึ้น เช่น การให้ญาติเข้าเยี่ยมได้อย่างใกล้ชิดนับแต่เมื่อถูกควบคุมตัว รวมถึงการมีกล้อง CCTV เพื่อบันทึกภาพระหว่างปฏิบัติกรรมวิธีสอบสวนซักถามผู้ต้องสงสัย ซึ่งหากมีเหตุการณ์กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นอีก หรือมีการร้องเรียนเรื่องการทรมาน จะได้มีหลักฐานว่า จนท ไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการทรมานหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนจริง

//////////////////////////////

 1,355 total views,  2 views today

You may have missed