พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

กงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ผู้บริหาร ศอ.บต. ประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างเมืองชายแดน ดึงเมืองคู่ขนาน 4 คู่ระหว่างไทย – มาเลเซีย เสริมภาคเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง

แชร์เลย

บุหงา  รายา  รายงาน  (รพี  มามะ บรรณาธิการข่าว)

วันที่ 26 มิถุนายน 2562 เวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศมาเลเซีย) ณ ทำเนียบสถานกงสุลใหญ่ เมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย นาวาเอก จักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ พละมาต ผู้แทนกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาเพื่อความมั่นคง   นางสาวซูไวดา หะยีวาเงาะ ผู้แทนกลุ่มบริหารยุทธศาสตร์การต่างประเทศ ศอ.บต. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของ ศอ.บต. เข้าร่วมประชุมการแลกเปลี่ยนระหว่างเมืองชายแดนไทย – มาเลเซีย กระชับความสัมพันธ์ ส่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมสันติสุขในพื้นที่ชายแดนไทย – มาเลเซีย

นาวาเอก จักรพงษ์ อภิมหาธรรม เผยว่า การบริหารจัดการพื้นที่ตามแนวชายแดน โดย กอ.รมน. ภาค 4 สน. ได้มอบหมายให้ ศอ.บต. สนับสนุนงานด้านการสร้างความเข้าใจ ทั้งนี้ กงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ได้ริเริ่มโครงการเมืองคู่ขนานจังหวัดนราธิวาสและรัฐกลันตัน ทั้ง 8 อำเภอ ที่มีรอยต่อตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่ประกอบด้วย อำเภอตากใบกับอำเภอตุมปัต (TUMPAT) อำเภอสุไหงโกลกกับอำเภอปาเซมัส (Pasir Mas) อำเภอแว้งกับอำเภอตาเนาะห์แมเราะห์ (Tanah Merah) และ อำเภอสุคิรินกับอำเภอเจอลี่ (Jeli) โดยมีการจับคู่กันเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ด้านความเข้าใจของเมืองคู่ขนาน

ซึ่ง ศอ.บต. เล็งเห็นว่าเป็นงานที่เสริมความเข้าใจและสามารถมีการพัฒนาสัมพันธ์ร่วมกัน จึงมารับฟังความคิดเห็นจากเมืองคู่ขนานทั้ง 8 อำเภอ ทำให้ทราบถึงความต้องการในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และทรัพยากรมนุษย์ในระดับท้องถิ่น โดยลำดับต่อไปจะนำข้อมูลดังกล่าวมาเชื่อมโยงการขับเคลื่อนงานในภาพใหญ่ของ ศอ.บต. ซึ่งกิจกรรมที่ ศอ.บต. จะเร่งดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงคือ ด้านเศรษฐกิจที่จะส่งเสริมด้านการค้า การลงทุน เนื่องด้วยเมืองคู่ขนาน โดยเฉพาะเมือง เจอลี่ (Jeli) เป็นเมืองเศรษฐกิจที่ต้องการนำสินค้าพื้นเมืองจากประเทศไทยไปจัดแสดงและจำหน่ายในพื้นที่ ในขณะเดียวกันประเทศไทย ก็มีความพร้อมที่จะนำสินค้าจากประเทศมาเลเซีย มาจัดแสดงและจำหน่ายตามโครงการส่งเสริมการค้าการลงทุนในพื้นที่ด้วยเช่นกัน ส่วนด้านสังคม ยังมีพี่น้องชาวไทยที่อาศัยอยู่ใน 4 เมืองดังกล่าว

บางส่วนต้องการรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่ง ศอ.บต. จะบูรณาการร่วมกับกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารูและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในภารกิจงานด้านสาธารณสุขและการสร้างความเข้าใจในทิศทางการพัฒนาชายแดนใต้ที่มีความก้าวหน้าอยู่ในขณะนี้ เพื่อรองรับการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับประชาชนที่จะกลับเข้ามาสู่พื้นที่ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่ง ศอ.บต. พร้อมหนุนเสริมการทำงานร่วมกับกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารูและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเอื้อต่อการดำเนินงานให้สามารถเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดต่อไป

/////////////////////////////////////

 1,005 total views,  4 views today

You may have missed