บุหงา รายา รายงาน…
(19 เมษายน 2562) ณ ห้องรับรองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) คณะอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าพบพลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. พร้อมด้วย นางสาวนฤมล นุตยะสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. เพื่อหารือและรายงานผลการดำเนินโครงการ “การจัดการโรคเหี่ยวของกล้วยอย่างยั่งยืน” กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคเหี่ยวของกล้วยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
จากผลการติดตามแปลงสาธิตและแปลงเกษตรกรในโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคเหี่ยวของกล้วยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าหากเกษตรกรปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันกำจัดโรคด้วยการตัดปลีกล้วยในระยะตีนเต่า ส่วนอุปกรณ์ทางการเกษตรควรฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็น หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอเนกประสงค์ (เดทตอล) หรือน้ำยาซักผ้าขาวทุกครั้งหลังจากใช้อุปกรณ์ และการกำจัดแมลงนำโรคให้ใช้สารฟีโรโมนสังเคราะห์ กับดักกาวเหนียว กับดักแสงไฟ หรือสารเคมีควบคุมโรคเหี่ยวของกล้วย
สำหรับการรักษาต้นกล้วยที่แสดงอาการรุนแรง ควรตัดต้นกล้วยที่เป็นโรคให้สูงจากพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต แล้วโรยด้วยสารเคมีทดสอบ (CuBAC) เพื่อกำจัดเชื้อและแมลงพาหะนำโรค และรักษาหน่อที่เจริญขึ้นมาใหม่ ทำลายปลีกล้วยที่ติดเชื้อและเป็นที่อยู่ของแมลงพาหะนำโรค ด้วยการเก็บใส่ถุงพลาสติกทนร้อน มัดปากถุงให้แน่น ตากแดดหรือเผาทำลายหรือใช้สารทดสอบเพื่อหยุดการระบาดและแพร่กระจายของเชื้อไปยังต้นอื่น หากมีการปลูกหน่อกล้วยให้แช่หน่อกล้วยก่อนปลูกและรองก้นสารเคมีทดสอบกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เพื่อกำจัดเชื้อที่ติดมากับส่วนขยายพันธุ์และเชื้อในดิน จะเห็นได้ว่าหากเกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นจะสามารถลดการเกิดโรคได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูก
พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า จากการดำเนินการจัดการปัญหาโรคเหี่ยวของกล้วยสามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้นแล้ว ต่อไป ศอ.บต. พร้อมช่วยเหลือและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินการในการควบคุมโรคเหี่ยวของกล้วยเพื่อไม่ให้แพร่ระบาดออกนอกพื้นที่ โดยเป้าหมายหลักคือการเพิ่มปริมาณการผลิตกล้วยหินในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจะดำเนินการเพิ่มศักยภาพให้กับเกษตรกรในการปลูกกล้วยเพื่อให้ปัญหาโรคเหี่ยวในกล้วยสามารถแก้ไขได้
อย่างไรก็ตามจากการหารือการจัดการโรคเหี่ยวของกล้วยอย่างยั่งยืนในครั้งนี้ เลขาธิการ ศอ.บต. ได้เน้นย้ำให้ดำเนินการต่อในการจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณกล้วยในพื้นที่เนื่องจากในพื้นที่กล้วยเป็นพืชที่มีปริมาณความต้องการสูง โดยจะสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกกล้วยเป็นพืชแซมในสวนยางเพื่อให้พอกับความต้องการของผู้ประกอบการแปรรูปกล้วย รวมทั้งเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
รพี มามะ บรรณาธิการข่าว…
///////////////////////////////
655 total views, 4 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี