พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ม.นราธิวาส จัดลงแขกเกี่ยว ข้าวหอมกระดังงา เกษตรอินทรีย์ ร่วมพหุวัฒนธรรม สานใจ พุทธ มุสลิม เยาวชนคนรุ่นใหม่ เสริมสร้างสันติสุขชายแดนใต้

แชร์เลย

ข่าว.สุไลมาน ยุ  ภาพ บุหงา รายา SPM news …

(18 เม.ย.62) ที่แปลงฟาร์มเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวี บุญภิรมย์ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.นราธิวาส ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดนราธิวาส  อาจารย์ บุคลากร  พี่น้องเกษตรกร ไทยพุทธ มุสลิม เยาวชนเกษตรกรนักศึกษา คนรุ่นใหม่ รวมกว่า 200 คน  ร่วมลงในพื้นที่แปลงนา เพื่อร่วมงานวันเก็บเกี่ยวข้าวหอมกระดังงา

ผศ.ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่า  มหาลัยวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยด้านวิชาการเทคโนโลยี และนวัตกรรมเรื่องต่างๆ เพื่อให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยชวานา ต้นแบบ อันดับ 1 ของจังหวัดชายแดนใต้ ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ที่สำคัญที่ สุดคือต้องเป็นที่พึ่งทางวิชาการของประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้  ช่วงเวลากว่า 14 ปีแล้ว ทีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อบริการพี่น้อง และลูกหลาน คนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง นอกเหนือจากการจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  มีเป้าหมายหลักในการผลิตบัณฑิตในทุกสาขาให้มีความรู้ทางวิชาการ ร่วมกับความเชี่ยวชาญทาง วิชาชีพ มหาวิทยาลัยฯ จึงมีนโยบายให้คณะเกษตรศาสตร์ จัดตั้งฟาร์มเกษตรขน ซึ่งมีทั้งฟาร์มสัตว์ ฟาร์มพืช และฟาร์มเพาะเลียงสัตว์น้า เช่น ฟาร์มโคเนื้อ ฟาร์มสัตว์ปีก ฟาร์มม้า ฟาร์มพืชผัก ฟาร์มเห็ดโรงผลิต ปุ่ยอินทรีย์โรงเรือนปลูกพืซ อัตโนมัติ สวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา แปลงเพาะช้ากล้าไม้ แปลงนาข้าว ตลอดจนบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์นา เพื่อรองรับการฝึกทักษะแก่นักศึกษา และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป โดยน้อมนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 9

ในส่วนของการทำนาข้าว คณะเกษตรศาสตร์ ได้เลือกผลิตข้าวพันธ์พื้นเมืองของจังหวัดนราธิวาส พันธ์หอมกระดังงา ซึ่งเป็นข้าวทีมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ข้าวกล้องมีสีแดง และมีกลิ่นหอม โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมกระดังงาสายพันธ์แท้ จากศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี และนามาปลูกในพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ในฟาร์มคณะเกษตรศาสตร์  ปลูกและดำนาโดยนักศึกษาที่เรียนวิชาหล้าเศรษฐกิจพอเพียงวิชาหลักการผลิตพืช และวิชาการฝึกงานทางพืชศาสตร์ ซึ่งเป็นนักศึกษา  โดยในวันนี้ ข้าวหอมกระตังงาได้สุกแก่พร้อมเก็บเกี่ยวแล้ว มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยคณะเกษตรศาสตร์ จึงได้จัดงานวันเก็บเกี่ยวข้าว หอมกระดังงาขึ้น ภายใต้ซึ่อ “หอมกระตังงา ลาทุ่ง” โดยมีเกษตรกรเข้า ทั้งชาวไทยพุทธ มุสลิม เยาวชน เก็บเกี่ยวข้าวร่วมกัน โดยใช้แกะเป็นเครื่องมือในการเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการเก็บเกี่ยวข้าวที่เป็น เอกลักษณ์ของจังหวัดชายแดนใต้ ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ นอกจากส่งเสริมข้าวหอกระดังงา ยังได้เห็นภาพงทางพหุวัฒนธรรม ในทุกชนศาสนา ร่วมถึงเยาวชนคนร่นใหม่  ในการสร้างความเข้าใจ ความรักสามัคคี การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย

 

 

 1,233 total views,  2 views today

You may have missed