สุไลมาน ยุ SPM news รายงาน…
(25มีค.62) ที่ห้องประชุมนราทัศน์ 2 โรงแรงอิมพีเรียล อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับ วิทยาลัยพาณิขย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group)ครั้งที่3 โครงการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการกำกับเนื้อหารายการข่าวเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อการร้ายในยุโรป
โดยมี ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รศ.ดร.สุมาลี วงศ์วิทิต นักวิจัยโครงการฯ นายรพี มามะ อุปนายกบริหารสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย ตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคม ผู้ประกอบการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผู้สื่อข่าว สื่อมวลชนทุกแขนงในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส กว่า30 คนมาร่วมงานในครั้งนี้
ตามที่ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 37 กำหนดให้มิให้ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ประกอบกับกับแม่บทกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่1 ยุทธศาตร์ ที่ 5.2 ยุทธศาตร์การกำกับดุแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำกับดูแลการประกอบกิจการในด้านเนื้อหาให้มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและความหลากหลาย ในปรากฏการความรุนแรง ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอันเป็นผลพวงความขัดแย้งในมิติต่างๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา กลายเป็นวิกฤติระดับนานาชาติที่ทุกประเทศในโลกปัจจุบันต้องหันมาให้ความสำคัญ สำหรับประเทศไทยปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก้เป็นหนึงปัญหาสำคัญที่ภาครัฐจำเป็นต้องมีแผนและมาตรการในการดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
สำนักงาน กสทช.ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการทำหน้าที่ออกใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการจึงเป็นหน่วยงานหนึ่งของประเทศที่มีภารกิจในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นผ่านมิติการทำงานด้านสื่อ
บรรยากาศในการประชุมในวันนี้ทางคณะผู้วิจัยได้บรรยายถึงเรื่องต่างๆเช่นโครงสร้างและบทบาทขององค์กรในการกำกับดูแลสื่อและหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลเนื้อหารายการข่าวเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อการร้ายบนสื่อของยุโรปโดยมีการนำเสนอวีดิทัศน์ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับชม ในการประชุมได้มีการเสนอแนะวิธีการต่างๆเสนอความคิดเห็นในเรื่อง อุปสรรคปัญหาต่างๆของสื่อมวลชน องค์กรภาคประชาชน ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และได้ร่วมกันเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาต่างๆในเรื่องการนำเสนอข่าวสารในพื้้นที่
การจัดประชุมย่อยในครั้งนี้เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการกำกับเนื้อหารายการข่าวเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อการร้ายในยุโรปในการนำมาประยุกต์ปรับใช้ในการทำงานของประเทศไทย ร่วมกันเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำกับเนื้อหารายการข่าวเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อการร้ายในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไรเสนอแนะปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเกี่ยวข้องกับรายการรายงานเนื้อหารายการข่าวเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ ทาง สำนักงาน กสทช.ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการถอดบทเรียนและการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อหรือการกำกับดูแลเนื้อหาข่าวเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในยุโรปว่าแต่ละครั้งที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อการร้ายขึ้นหน่วยงานที่กำกับดูแลสื่อแสดงบทบาทอย่างไรและสื่อเองมีวิธีการในการจัดการกับการนำเสนอข่าวสารเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรเพื่อนำบทเรียนดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยและการทำงานของสำนักงาน กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
///////////////////// รพี มามะ บรรณาธิการข่าว ////////////
754 total views, 2 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี