มีนาคม 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ลงพื้นที่ จชต. ปาฐกฐาพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจากฐานล่างสู่สันติภาพยั่งยืน”

แชร์เลย

ภาพ/ข่าว อับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา…


( 28 มกราคม 2562 เวลา 9.30 น.) พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต. ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและผู้ก่อตั้ง ธนาคาร กรามีน นางสาว ลามียา โมเชด ผู้อำนวยการบริหาร ยุนุส เซนเตอร์ และ ดร.ฟาอิซ ชะห์ ผู้อำนวยการ ยูนุส เซนเตอร์ สำนักงานใหญ่ AIT ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส และคณะ ได้เดินทางมาเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 27-28 มกราคม 2562 โดยภารกิจหลักในครั้งนี้คือการปาฐกฐาพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจากฐานล่างสู่สันติภาพยั่งยืน” ในวันที่ 28 มกราคม 2562 ให้แก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่บุคลากรของ ศอ.บต. และผู้แทนองค์การในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง มีผู้เข้าร่วมรับฟังกว่า 500 คน
สำหรับกิจกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก ศอ.บต. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เชิญ ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส เดินทางมาเยือนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ประสบการณ์ทางด้านการพัฒนา ฐานรากของสังคม โดยศาสตราจารย์มูฮัมหมัดยูนูสเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวมุสลิมจากประเทศบังกลาเทศ และเป็นผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ จากผลงานการก่อตั้งธนาคารกรามีน ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อผู้ยากไร้แห่งแรกของโลก ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาแนวคิด “ไมโครเครดิต” หรือการให้กู้เงินโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค่าประกันโดยจะให้กู้แก่ผู้ประกอบการหรือชาวบ้านซึ่งยากจนเกินกว่าจะมีคุณสมบัติพอเพียงที่จะกู้เงินจากธนาคารทั่วไป


ศาสตราจารย์มูฮัมหมัดยูนูส ยังเป็นผู้ก่อตั้ง“ กรามีนแบงค์” หรือธนาคารกรามีน “ กรามีน” แปลว่า“ ชนบท” หรือ“ หมู่บ้าน ” ทำให้ท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีพ. ศ. 2549 สำหรับ “ความพยายามในการสร้างพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจจากเบื้องล่าง” จากการดำเนินการดังกล่าวได้มีประเทศต่างๆ นำต้นแบบของท่านไปขยายผลและนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้กว่า 40 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการจัดตั้งธนาคารคนจน การรับฟังปาฐกฐาพิเศษในครั้งนี้จึงเป็นผลดีต่อพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในการที่จะได้รับองค์ความรู้เรื่องของการพัฒนาฐานรากของสังคม รวมทั้งได้สื่อสารให้กับสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และประเทศไทยได้เห็นแนวทางของการสร้างสันติภาพโดยบุคคลที่เป็นมุสลิม
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส และคณะได้เดินทางลงในพื้นที่เพื่อดูต้นแบบของการพัฒนาชุมชนฐานรากในบางแห่ง เช่น ชุมชนประมงชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลฐานรากที่มีความยากจนซึ่งกำลังพัฒนา และได้พบปะผู้นำศาสนาในพื้นที่อีกด้วย อย่างไรก็ตามในปี 2562 ศอ.บต. ได้ปรับบทบาทภารกิจหน้าที่ในการพัฒนาให้ไร้รอยต่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเศรษฐกิจ จะมุ่งเน้นในด้านเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งชองชุมชน ดังนั้นกิจกรรมในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ทาง ศอ.บต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับองค์ความรู้เพิ่มเติม เพื่อนำมาปรับและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามที่ ศอ.บต. กำลังดำเนินการขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้ให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุดซึ่งจะต่อยอดไปสู่ชุมชนและในระดับสูงขึ้นต่อไป

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

 634 total views,  2 views today

You may have missed