เมษายน 27, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

จาตุรนต์ รับ 4 ข้อเสนอแนะ หลังเสวนาประวัติศาสตร์เพื่อสร้างสังคมสมานมิตรชายแดนภาคใต้

แชร์เลย

จาตุรนต์ รับ 4 ข้อเสนอแนะ หลังเสวนาประวัติศาสตร์เพื่อสร้างสังคมสมานมิตรชายแดนภาคใต้

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการเจรจาสันติภาพและข้อเสนอทางออกทางการเมืองในจังหวัดชายแดนใต้: รายงาน

6 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น.ณ ห้องประชุมห้องประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ห้องN 402)ชั้นที่4 อาคารรัฐสภา กรุงเทพมหานคร ตัวแทนคณะทำงานโครงการสานเสวนาประวัติศาสตร์ชายแดนใต้ ยื่นเอกสารสรุปการจัดกิจกรรมและข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการเสวนาประวัติศาสตร์เพื่อสร้างสังคมสมานมิตรชายแดนภาคใต้ ต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานและคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ส.ส.พรรคเพื่อไทย) โดยมี นายรอมฎอน ปันจอร์ ( ส.ส.พรรคก้าวไกล) และ พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา (ที่ปรึกษา รมว. อว. พรรคภูมิใจไทย) ร่วมรับมอบ

ผศ.ดร.ซัมซู สาอุ หัวหน้าโครงการ ซึ่งเป็นอาจารย์ สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เปิดเผยว่า

“โครงการสานเสวนาประวัติศาสตร์ชายแดนใต้มีวัตุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์แนวทางการแปลงเปลี่ยนคลี่คลายความขัดแย้งอันเนื่องมาจากมิติทางประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการสานเสวนาทางประวัติศาสตร์และ 2.เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการร่วมแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งด้วยกระบวนการสานเสวนาพูดคุยบนฐานการเคารพในสิทธิทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ และเรื่องเล่าที่แตกต่างหลากหลายเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยไม่ใช้ความรุนแรง โดยในวันที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น ได้มีกิจกรรมการเสวนาสาธารณะเปิดตัวโครงการสานเสวนาประวัติศาสตร์ชายแดนใต้ ณ ห้องประชุม Co-Working Space อาคาร D
ชั้น 1 Thai PBS สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีข้อสรุปและ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4ข้อเบื้องต้น คือ
1.กรรมาธิกรจัดกิจกรรมสานเสวนาประวัติศาสตร์ทุกพื้นที่ เปิดพื้นที่รับฟังความทุกข์ เพื่อเยียวยา
ความเจ็บปวด คืนความยุติธรรม และยอมรับความจริง
2.ศอ.บต. จัดทำรายวิชา/กิจกรรรมเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สมานมิตรให้กับข้าราชการในพื้นที่
ชายแดนภาคใต้
3.กระทรวงศึกษาธิการจัดพิมพ์เนื้อหาประวัติศาสตร์สมานมิตรเพื่อการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ทุกระดับชั้น
4.โรงเรียนออกแบบจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ชาติกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดความสัมพันธ์ที่ ดีที่สุดสามารถยอมรับความต่าง เคารพความเห็น สามารถเปิดพื้นที่ รับฟังเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนระหว่างกัน
ในการนี้ คณะผู้จัดโครงการจึงขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พิจารณาข้อมูลและแนวทางการการนำไปใช้เพื่อดำเนินการต่อไป”

หมายเหตุ

(4 มี.ค. 67) สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี ร่วมกับ ศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ (The Active) ไทยพีบีเอส เปิดพื้นที่ “สานเสวนาประวัติศาสตร์เพื่อสังคมสมานมิตร” แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาจุดร่วมทางประวัติศาสตร์ที่จะนำพาให้เกิดการยอมรับและอยู่ร่วมได้อย่างเคารพซึ่งกันและกัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน

https://theactive.net/news/politics-20240304/
และ https://share.csitereport.com/share.php?post_id=0000039479

 44,479 total views,  86 views today

You may have missed