พฤศจิกายน 28, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

อธิบดี พช. เยี่ยมศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนเมืองคอน ชูแกนนำคนรุ่นใหม่ หัวใจนักพัฒนา

แชร์เลย

นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พัฒนาการอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า
นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร จันทมฤก ประธานชมรมแม่บ้านกรมการพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายชัยวัฒน์ แสงศรี ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน บ้านควนเนียง หมู่ที่ 12 ตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายเอกวิทย์ มีเพียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นางกนกพร เดชเดโช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช นายจรัญ อินทสระ พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช ว่าที่ร้อยตรีกิตติภพ รอดดอน นายอำเภอทุ่งสง ผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ ณ พื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (Community Lab Model For Quality Of Life : CLM) ตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช


นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดดำเนินโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงานผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 โดยจัดตั้งศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นสถานที่บ่มเพาะภาวะผู้นำ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชนระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคีการพัฒนาในพื้นที่ทั้ง 7 ภาคส่วน โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการส่งเสริมผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร เครือข่ายงานพัฒนาชุมชน ที่เป็นทุนทางสังคม ใช้พลังภูมิปัญญาให้เป็นพลังในการสร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชน ส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นำ สร้างเสริมอุดมการณ์ทำงานเพื่อสาธารณะในรูปแบบผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชน มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
นายจรัญ อินทสระ พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กำหนดศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน จุดนำร่องของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (Community Lab Model For Quality Of Life : CLM) โดยมีการดำเนินกิจกรรมฐานเรียนรู้ด้านอาชีพ การดำเนินงานตามหลักทฤษฎีใหม่ รูปแบบ “โคก หนอง นา พช.” การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักกสิกรรมธรรมชาติ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเป้าหมายของศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ที่ต้องการให้ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษา พัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งสามารถเป็นศูนย์รวมของเครือข่ายผู้นำจิตอาสาในงานพัฒนาชุมชน
การตรวจเยี่ยมศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ในครั้งนี้ นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และคณะ ได้พบปะคณะกรรมการศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน โดยมี นายณรงค์ศักดิ์ รักบ้าน ประธานศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน บรรยายสรุปผลการดำเนินงานฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนได้ให้เกียรติร่วมกิจกรรมปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปล่อยปลา และเยี่ยมชมฐานเรียนรู้คนเอาถ่าน


นายณรงค์ศักดิ์ รักบ้าน เป็นคนรุ่นใหม่ ผู้มีแนวคิดที่ว่า “ความขาดแคลนไม่เป็นปัญหา หากมีปัญญาและความอดทน” หลังเรียนจบ ได้ค้นหาตัวเองและตัดสินใจจะก่อร่างสร้างตัวด้วยการทำการเกษตร เพราะเชื่อในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงได้น้อมนำทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ คำว่า ‘ พอ ’ โดยมีหลักคิดง่ายๆที่ว่า งานที่ทำต้องเลี้ยงดูตนเองพร้อมทั้งสร้างรายได้ไปในตัว มิใช่เป็นการไปหาเงินมาแล้วต้องซื้อกินให้เงินหมดไป อันเป็นแนวปฏิบัติที่สามารถพึ่งตนเองได้ สร้างภูมิคุ้มแม้ต้องตกอยู่ภายใต้วิกฤตการณ์ใด ๆ ก็ตาม ซึ่งในอนาคตวาดฝันไว้ว่าอยากจะพัฒนาศูนย์เรียนรู้นี้ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ดึงชาวบ้านในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วม ให้เกิดการสร้างรายได้ในชุมชน ทุกคนจะพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน และทิ้งท้ายถึงคนรุ่นใหม่ ค้นตัวเองให้เจอ หาคำตอบให้ได้ แล้วลงมือทำในคำตอบอย่างเต็มที คงบอกไม่ได้ว่าอยากให้ทุกคนมาทำการเกษตรเหมือนตนเอง เพราะแต่ละคนมีความถนัดต่างกัน แต่ถ้าเป็นไปได้ เกษตรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสร้างความมั่นคง และความยั่งยืนให้ทั้งตัวเราเองและชุมชน นั่นแหละคือความสุขที่ตนเองวาดฝันจะเจอ

 1,493 total views,  4 views today

You may have missed