พฤษภาคม 8, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

พุทธศาสนิกชนอำแภอเบตง ร่วมตักบาตร อุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ งดร่วมกิจกรรมที่วัดในวันสารทเดือนสิบ ป้องกันโควิด-19

แชร์เลย

BETONG news รายงาน

วันนี้ (6 ต.ค.64) ที่บรรยากาศวันสารทเดือนสิบ ในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา บรรยากาศไม่คึกคักมากนัก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ งดการเดินทางไปร่วมกิจกรรมทำบุญตามวัดต่างๆ เนื่องจาก ลดการเข้าไปอยู่ในพื้นที่แออัด ประกอบกับได้ปฏิบัติตามมาตรการของทางจังหวัดยะลา ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่จึงเลือกทำบุญตักบาตรกันภายในชุมชน เนื่องจากอยู่ในช่วงสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยได้นำอาหารคาว หวาน ขนมสารทเดือนสิบ ข้ามต้มสามเหลี่ยม ขนมบ้า ข้าวพอง ทำบุญใส่บาตร อุทิศส่วนให้กับบรรพบุรุต ในวันส่งตา-ยาย
สำหรับวันสารทไทย 2564 ตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ ขึ้น 10 ถือเป็นประเพณีสำคัญของคนไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน บ้างก็นิยมเรียกวันนี้ว่า “วันสารทเดือนสิบ” หรือ “ประเพณีทำบุญเดือนสิบ” มักจะจัดขึ้นในราวเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี อีกทั้งยังเป็นวันรวมญาติที่สมาชิกในครอบครัว ร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
– ภาคกลาง : วันสารทไทย
– ภาคใต้ : งานบุญเดือนสิบ, ประเพณีชิงเปรต
– ภาคอีสาน : งานทำบุญข้าวสาก
– ภาคเหนือ : งานตานก๋วยสลาก
วันสารทไทยได้รับอิทธิพลมาจากคติอินเดีย เมื่อไทยรับเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีท้องถิ่นแล้ว ก็จะมีความยึดโยงกับความเชื่อเรื่องสังคมเกษตรกรรมและบรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าการทำบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ จะช่วยดลบันดาลให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่พอใจ แต่หากไม่เคารพบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็จะได้รับผลที่ตรงข้ามกันนั่นเอง

 

 7,060 total views,  2 views today

You may have missed