เมษายน 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รัฐ-เอกชนเล็งดึงศักยภาพในพื้นที่ พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

แชร์เลย

ภาครัฐ-เอกชน เห็นตรงกัน ดึงศักยภาพพื้นที่พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้  ใช้จุดแข็งทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาคุณภาพชีวิต ผลักดันโครงสร้างพื้นฐานรองรับเมืองขยายในอนาคต ลดกฎระเบียบจัดระบบบริการ one stop service   เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 29 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา การเสวาครั้งที่ 1 ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต)  “วันนี้และอนาคตชายแดนใต้ ภายใต้ยุทธศาสตร์ เมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยมีวิทยากรเข้าร่วมการเสวนา

ประกอบด้วยรศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ รองเลขาธิการ ศอ.บต. นายจำนัล เหมือนดา ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง และนายณัฐนนท์ พงษ์ธัญญะวิริยา ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การพัฒนา3 จังหวัดชายแดนใต้ หรือการพัฒนาพื้นที่อื่นๆส่วนมากจะมาจากการพัฒนา ธุรกิจ และอุตสาหกรรมในภาคการเกษตร เป็นหลักแต่แผนการพัฒนาพื้นที่สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เรามุ่งเน้น ไปที่ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ภาครัฐภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

“ภาครัฐไม่ได้มีทุนเรื่องงบประมาณ เมื่อมีผู้ที่สนใจมาลงทุน ภาครัฐทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ทำให้โครงการเกิดขึ้น อย่างเช่นหน่วยงานศอ.บต. เป็นหน่วยงานพัฒนา ให้เกิดความมั่นคง”เพราะฉะนั้นในวันนี้พื้นที่ที่ขยายตัว 3 จังหวัดหรือแม้แต่ในพื้นที่สงขลา เป็นการขยายตัวของความเป็นเมือง เริ่มจะมากขึ้น ดังนั้นการวางแผนในการทำโครงการลักษณะนี้ ไม่ใช่ว่ามันจะสำเร็จภายในวันนี้ แต่เป็นการวางแผนสำหรับอนาคต เพราะ หลาย 10 ปีต่อจากนี้ มันไม่จบง่ายๆแต่นี่คือการเริ่มต้น เห็นภาพให้ชัดเจนมากขึ้นพอพูดถึงภาคอุตสาหกรรม มีทั้งบวกและลบ แต่ถ้าจะมองในภาพที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราดูในรายละเอียดเราจะเห็นว่ามันคืออุตสาหกรรมในอนาคต เพราะฉะนั้นก็จะเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่ง ว่าจะไม่มีอุตสาหกรรมในเชิงลบ ที่หลายๆท่านกังวลไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพราะเรามีบทเรียนจากหลายๆพื้นที่ ผมว่านี่คือจุดเริ่มต้นในภาพรวม ของโครงการ

นายจำนัล เหมือนดา ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล  กล่าวว่า ในฐานะที่ได้ทางานอยู่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยพื้นฐานของจังหวัดชายแดนใต้คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลาบางพื้นที่ เราค่อนข้างจะมีจุดแข็งค่อนข้างมากโดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ไม่ได้ต่างจากพื้นที่จังหวัดอื่นที่ประสบความสาเร็จทางด้านการเกษตร จุดแข็งที่สองเรื่องทรัพยากรมนุษย์ซึ่งพี่น้องชายแดนใต้ได้รับการศึกษาอบรมค่อนข้างหลากหลาย มีสถานการศึกษาอยู่ในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดไม่ว่าจะระดับมหาวิทยาลัย หรือระดับวิทยาลัยที่ทำการพัฒนาทักษะความรู้ให้คนในพื้นที่ ซึ่งไม่นิยมออกไปศึกษานอกพื้นที่ได้อย่างเพียบพร้อมสมบูรณ์มากและยังมีการส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และแถบตะวันออกกลางค่อนข้างเยอะเรื่องนี้เป็นจุดแข็งของคนในพื้นที่เช่นกัน เพราะเมื่อจบออกมาแล้วมีสายสัมพันธ์ในการทางานประกอบธุรกิจต่างๆเชื่อมโยงในพื้นที่อย่างดี  นอกจากนั้นผู้ที่ผ่านการเรียนได้รับการศึกษาในพื้นที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องภาษาอังกฤษ มาลายู อาหรับ เป็นอย่างดีด้วยถือเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาพื้นที่

นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง กล่าวว่า เป้าหมายของเมืองต้นแบบคือ ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ดีขึ้นและที่สาคัญเกิดการทางานร่วมกันของสังคมธุรกิจและพื้นที่ภายนอกปัจจุบันการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็จะท่องเที่ยวกันใน 3 จังหวัด แต่ถ้าได้ทั้งที่ออกจากนอกจังหวัดมาจะยิ่งดีเพราะเมื่อนักท่องเที่ยวที่อื่น    เข้ามาจะทำให้เพิ่มรายได้ให้กับคนในท้องที่ ส่วนโครงการที่ผ่านมาอย่างที่ทุกท่านทราบหนองจิกเราจะนาโดยเกษตรและการท่องเที่ยว สุไหงโกลกพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ “ตอนนี้สนามบินยังไม่เปิด แต่ช่วงไม่ล็อกดาวน์ แต่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเบตงเป็นจำนวนมาก นั้นหมายความว่าทุกคนเอาใจช่วย อยากให้เบตงเปิดสนามบินโดยเร็ว จากแรงผลักดันหลายๆส่วน  และจากที่ผมได้รับฟังผู้อำนวยการการท่า ในเรื่องมาตรฐานของสนามบิน ในการปฏิบัติตามมาตรฐาน ตอนนี้ทราบว่าเราทำได้ครบถ้วนแล้วเหลือแต่ใบอนุญาตทำการ เปิดสายการบินท่องเที่ยว  หากมีสายการบินจากกรุงเทพไปยังเบตงได้แล้ว คาดว่านักท่องเที่ยวในระยะแรกๆอาจจะเป็น กรุ๊ปทัวร์ น่าจะทำให้ด้านการท่องเที่ยวมีความคึกคักมากขึ้นและลดการเดินทางได้มาก

นายณัฐนนท์ พงษ์ธัญญะวิริยา ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน กล่าวว่า ปัจจุบันด้านเกษตร มีความหลากหลายมากขึ้น ด้านคมนาคมได้มีการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นถนนบายพาส ถนนที่ไปถึงอำเภอเบตงแต่ก็มีสิ่งที่ต้องทำต่อคือ ถนนที่มีทางคดเคี้ยว ทำยังไงให้ตรง ถ้าไม่สามารถทำทางตรงได้ ทำอย่างไรให้ใช้เวลาในการเดินทางให้น้อยที่สุด  “การขยายของเมืองใน 10 ปีที่ผ่านมา ยังไม่เป็นรูปธรรม

แต่ทุกวันนี้มีภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การขยายเมืองขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น เด็กรุ่นใหม่กลับเข้ามาในพื้นที่”ซึ่งจุดนี้ จะทำให้มีการขยายที่อยู่ รวมถึง ขยายพื้นที่ในเมือง ผมคิดว่าการขยายพื้นที่ต้องเดินควบคู่ไปกับความมั่นคง ถ้าความมั่นคงไปได้ ทุกอย่างก็จะพัฒนาไปด้วยHappy model เป็นโครงการของหอการค้าไทย มีดำริในการขับเคลื่อน เพื่อเป็นตัวอย่าง โครงการขับเคลื่อนแบบยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับ BCG model แต่ Happy model คือการท่องเที่ยว ด้วยแต่ส่งเสริมเป็น 4 เรื่องคือ กินดี อยู่ดี ออกกาลังกายดี แบ่งปันสิ่งดีๆ  4 เรื่องที่เราส่งเสริม เพื่อให้สอดคล้องกันสิ่งแวดล้อม อาทิ กินดี ที่ต้องมีความสะอาด มีประโยชน์ ปลอดภัย อย่างอาหารท้องถิ่น ในการของที่พัก จะไม่เน้นกำไร

เนื่องจากให้ความสาคัญกับสิ่งแวดล้อม รับนักท่องเที่ยวแบบกำหนด เพื่อไม่ให้กระทบกับสิ่งแวดล้อม และยังจะส่งเสริมกิจกรรมดีๆ ที่นักท่องเที่ยวชอบอาทิ โยคะฮาลาล ที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้สนใจรวมไปถึงกีฬาทางน้าที่เข้ากับการออกกาลังกาย และที่สาคัญคือการแบ่งปัน โดยคนในพื้นที่แบ่งปั่นให้กับนักท่องเที่ยว โดยการแบ่งปั่นแหล่งท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวให้กับท้องถิ่น “การท่องเที่ยวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรจะมีการสัญจรที่ดี สาหรับการท่องเที่ยวที่ครบวงจร โดยสามารถเชื่อมโยงเป็นวงล้อในการสัญจร เช่น ยะลาไปนราธิวาส และมาปัตตานีได้สะดวก เป็นต้น” ในส่วนของการพัฒนามีเยอะ แต่คุ้มค่ากับการพื้นที่ เพื่อให้มีพื้นที่เศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่วนนี้ถือเป็นเป้าหมายในความมั่งคง และการลดกฎระเบียบ ถือเป็นข้อจำกัดหากยังไม่แก้    ซึ่งอาจจะเสียความสามารถในการแข่งขันอย่างถาวร การลดกฎระเบียบเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องรีบขับเคลื่อน เนื่องจากมีนักลงทุนรายใหญ่เข้ามา แต่ไม่สามารถรับเงื่อนไขที่สูงได้และ one stop service เป็นอีกเรื่องที่ผลการผลิต ไม่เข้มข้น ไม่หยุดที่จุดเดียว อย่างที่ตั้งใจไว้ ต้องกลับมามองอย่างจริงจัง ถึงจะเป็น one stop service อย่างแท้จริจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เพจ ข่าวศอ.บต. และ สงขลาโฟกัส

 6,490 total views,  2 views today

You may have missed