พฤษภาคม 7, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เลขาธิการ ศอ.บต. ร่วมกับ สนค. แถลงผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นใน จชต. ปี 64 เกินกว่าร้อยละ 50 ชี้ปัญหาและความต้องการของ ปชช. จะต้องถูกแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม

แชร์เลย


(17 สิงหาคม 2564) ที่ ห้องประชุมน้อมเกล้า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. และ นายภูษิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ศอ.บต. และ สนค. ในการพัฒนาเครื่องชี้วัดความเชื่อมั่นเชิงพื้นที่ โดยดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 32,000 คน ในพื้นที่ 5 จังหวัด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการติดตามหรือประเมินผลการพัฒนาในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการสำรวจผ่านมาแล้ว 2 ไตรมาส และพร้อมเผยแพร่ผลการจัดทำให้กับผู้ที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
สำหรับผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนภาคใต้รวมไตรมาสที่ 1 ปี 2564 อยู่ในช่วงเชื่อมั่นระดับ 52.74 ซึ่งมีความเชื่อมั่นทั้งในภาวะปัจจุบันและในอนาคต สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคมในพื้นที่ของตน สำหรับไตรมาสที่ 2 แม้ว่าดัชนีโดยรวมจะปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.90 แต่ยังอยู่ในช่วงเชื่อมั่น โดยเป็นผลจากการลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม ในขณะที่ดัชนีด้านความมั่นคงปรับตัวสูงขึ้น และเมื่อจำแนกเป็นรายจังหวัดพบว่าไตรมาสที่ 1 ทุกจังหวัดมีความเชื่อมั่นอยู่ในช่วงเชื่อมั่น สำหรับไตรมาสที่ 2 ดัชนีปรับตัวลดลงในทุกจังหวัด โดยจังหวัดปัตตานีและยะลามีความเชื่อมั่นต่ำที่สุดในทั้งสองไตรมาส เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประชาชนในทุกจังหวัดมีความเชื่อมั่นในด้านเศรษฐกิจและสังคมลดลงจากไตรมาสที่ 1 ในขณะที่ด้านความมั่นคงมีความเชื่อมั่นสูงขึ้นในทุกจังหวัดเช่นกัน
นอกจากการสำรวจเพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ยังมีการสำรวจประเด็นสำคัญในพื้นที่ โดยในไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2 นี้ ได้มีการสำรวจประเด็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือของประชาชนในพื้นที่ พบว่า ปัญหามีความคล้ายคลึงกันในทุกๆพื้นที่ โดยเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นปัญหาในระดับมากของทั้งสองไตรมาสยังคงเป็นปัญหาในด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ เรื่องค่าครองชีพ/ราคาสินค้าและบริการสูง รายได้ตกต่ำ การว่างงาน และปัญหาในด้านสังคม ได้แก่ ปัญหายาเสพติด สำหรับความต้องการที่ประชาชน


ภาพ/ข่าว
อับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา

 9,140 total views,  2 views today

You may have missed