เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ผู้ว่านราฯ สั่งด่วน เปิดร่องน้ำหลังทรายทับถมปิดร่องน้ำ กระทบผู้เลี้ยงปลาในกระชัง หากล้าช้าเสี่ยงปลาตายนับล้านตัว

แชร์เลย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากลมมรสุมในทะเล อ่าวไทย ฝังทะเลนราธิวาส ตั้งแต่ปลายเดือนปลายพฤศจิกายน 2560 ถึง มีนาคม 2561 ทำให้เกิดผลกระทบ ลมในทะเลกรรโชก เกิดคลื่นซัดทรายมาทับถมอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริเวณชายหาด ซึ่งเปิดเป็นปากร่องน้ำชั่วคราว คลองโคกเคียน เส้นทางเรือขนาดเล็ก ออกสู่ทะเล บริเวณชายหาดนราทัศน์ เขตเทศบาลเมือง จ.นราธิวาส แนวสันทรายทับถมปิดเส้นทางร่องน้ำยาวเป็นระยะทางกว่า 500 เมตร จนเป็นเหตุให้น้ำที่หมุนเวียน เข้าคลองโคกเคียน และแม่น้ำบางนรา เกิดความตื้นเขิน และเริ่มมีสภาพน้ำในคลองโคกเคียนเน่าเสีย จนผู้เลี้ยงปลาในกระชัง กว่า 1,000 ครอบครัว ที่อาศัยเลี้ยงชีพ อยู่ในบริเวณคลองโคกเคียน และแม่น้ำบางนรา ได้ร้องเรียนไปยัง นายสุรพร พร้อมมูล ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เพื่อให้แก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน จากกรณีแนวสันทรายปิดกั้นร่องน้ำดังกล่าว

ต่อมานายสุรพร พร้อมมูล ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ได้สั่งการด่วนไปยังหน่วยการงานที่เกี่ยวข้อง ให้นำรถแบกโฮ เพื่อทำการขุดลอกสันทราย เพื่อแก้ปัญหากับกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ในการเปิดร่องน้ำ ให้น้ำในทะเลเข้าสู่คลองโคกเคียน อย่างเร่งด่วน โดยให้ขุดร่องน้ำ เป็นไปลักษณะเฉียง ป้องกันแรงคลื่นลมมรสุม และให้ลึกและกว้างประมาณ 5-6 เมตร เพื่อให้น้ำสะดวก ในการวนเวียน เข้าสู่ระบบการระบายทางธรรมชาติ และเรือเล็กสามารถใช้เป็นเส้นทางผ่านเดินเรือ เข้าออกผ่านสู่ทะเลนราธิวาสได้ ซึ่งคาดจะใช้เวลาดำเนินการ ไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะสามารถขุดปากร่องน้ำได้แล้วเสร็จ สามารถจะช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบได้อย่างแน่นอน

นายอาลีฟ มามะ กลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ในคลองโคกเคียน กล่าวกับว่า ในบริเวณคลองโคกเคียน และแม่น้ำบางนรา มีผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ประมาณ 1,200 กระชัง ส่วนใหญ่เลี้ยงปลา กะพงขาว กะพงแดง ปลาเก๋า และปลาทับทิม นับล้านตัว ซึ่งเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ในหลายเดือนตั้งแต่ปลายปี 60 จนถึงปัจจุบัน ลมมรสุมได้ซัดทรายในทะเล ปิดร่องน้ำจนสนิท ทำให้กลุ่มผู้เลี้ยงปลาได้รับผลกระทบ ปลาเริ่มทยอยตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากน้ำไม่ไหลเวียน ค่า ph และออกซิเจน ในน้ำลดลง และน้ำเริ่มเน่าเสีย ซึ่งต้องขอบคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ที่ได้สั่งการดำเนินการช่วยชาวบ้านได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อน้ำวนและหมุนเวียน ชาวบ้านก็จะไม่เกิดผลกระทบต่ออาชีพ สามารถที่จะนำรายได้จุนเจือครอบครัวได้ ไม่เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อครอบครัวอีก

สำหรับปลากะพง ราคาที่พ่อค้ารับซื้อ จากกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ราคาขึ้นลงเฉลี่ย 120-150 บาท ต่อกิโลกรัมและราคาขายปลีก ในตลาด อยู่ที่ราคา 180-200 บาท ต่อกิโลกรัม

ข่าว.ภาพ มะดารี โตะลาลา/อัสวรรค์ สะมะแอ SPMCNEWS

 

 1,183 total views,  2 views today

You may have missed