เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

การศึกษาทางเลือกในจังหวัดชายแดนภาคใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk  ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

การศึกษาทางเลือกมีข้อดีคือการเติมเต็มการศึกษากระแสหลักซึ่งมีเจตนาเพื่อพัฒนาศักยภาพส่วนรวม แก้ปัญหาของส่วนรวม มุ่งเน้น ” กระบวนการของการเรียนรู้” แบบเอาปัญหาเป็นตัวตั้ง มิใช่เอาหลักสูตรเป็นตัวตั้ง เน้นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างเสมอภาคภายในกลุ่ม – ชุมชน

การศึกษาทางเลือกในสังคมไทยที่กำลังดำเนินอยู่อย่างหลากหลาย ไม่ว่าด้วยรูปแบบเนื้อหาอย่างไรต่างมีเอกภาพร่วมกันที่สำคัญคือ วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งมิได้หมายถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยลำพังปัจเจก หากแต่สมบูรณ์ทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ อันจะทำให้เกิดคุณภาพในความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ในขณะที่การศึกษาทางเลือกในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความแตกต่างเพียงแค่รูปแบบที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ วัฒนธรรมของคนในพื้นที่แต่เป้าหมายเดียวกันคือสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ คนที่นี่ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม “อิสลาม คือ วิถีชีวิต” จึงให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนศาสนาอิสลาม หลากหลายรูปแบบ ในระบบปอเนาะ ตาดีกา ศูนย์ฮาฟิซ การเรียนอัลกุรอานตามบ้านผู้รู้ มีศูนย์เรียนรู้มากมาย มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สอนควบคู่ทั้งสามัญ-ศาสนา…

การจัดการเรียนการสอน ศาสนาอิสลามจึงสามารถบูรณาการ ได้กับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการไม่ว่าในระบบ นอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาตามกระเเสหลักและทางเลือก ปรับปรนกับทุกสถาการณ์ในขณะเดียวกันยังสามารถดำรงตนตามวิถีชีวิต จิตวิญญาณ เป็นการศึกษาตลอดชีพ ตลอดชีวิต เป็นหน้าที่ทุกคน ตั้งแต่ใน เปลจนถึงหลุมฝังศพตามศาสนนฑูตมุฮัมมัดสั่งเสียไว้ สามารถเป็นทางออกการจัดการศึกษาหนึ่งที่เหมาะสมและปลอดภัย สร้างพลเมืองตื่นรู้ สู่ ศตวรรษที่ 21 “

ดังนั้นรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ไม่ใช่การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงตามนิยามรัฐ (หน่วยความมั่นคง)แต่เพื่อความมั่นคงของมนุษย์(ตามคำนิยามของสหประชาชาติ)
จากผลการวิจัยที่พบว่าทุกระดับการศึกษาจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งผลปรากฏจากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนกระทั่งปัจจุบัน สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งคือความไม่เข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันในต่างวัฒนธรรม การยอมรับซึ่งกันและกัน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างความสมานฉันท์ในการอยู่ร่วมกัน และเป็นหัวใจที่สำคัญในการดำเนินงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้(โปรดดู https://deepsouthwatch.org/th/node/10920)
การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงจำเป็นต้องส่งเสริมความเข้าใจที่มุ่งสู่สันติภาพหรือสันติศึกษา (Peace Education) โดยการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความร่วมมือ การสะท้อนคิด ไม่ใช้ความรุนแรงในการสื่อสาร การเห็นอกเห็นใจ การคิดเชิงวิเคราะห์ และการมีจินตนาการเชิงสันติ รวมทั้งรูปแบบการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม (Multicultural Education) ที่ต้องทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของความแตกต่างและยอมรับในความหลากหลายของแต่ละบุคคล โดยมุ่งให้ความสำคัญกับสิทธิและความเสมอภาค และความเป็นพลเมืองตามแบบประชาธิปไตย ทั้งนี้ต้องส่งเสริมในนักเรียนเกิดความเชื่อมั่นและมีความภาคภูมิใจในตนเองและยอมรับความหลากหลายได้ การศึกษาทางเลือกน่าจะตอบโจทย์นี้

ดังนั้นจึงฝากไว้สำหรับนโยบายสาธารณะกระทรวงศึกษาธิการในส่วนการศึกษาหลักนั้นหลักสูตรสถานศึกษาจากเดิมส่วนกลาง ร้อยละ 70 ท้องถิ่น ร้อยละ 30 ปรับเป็นส่วนกลางร้อยละ 30 ท้องถิ่น 70 มันจะตอบโจทย์เอกภาพบนความหลายจะเกิดนวัตกรรมการศึกษาทั่วประเทศและผู้ที่จะมาเป็นสภาการศึกษาทางเลือกให้พิจารณาการศึกษาทางเลือกในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหัวข้อสำคัญหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาสำหรับประเทศไทย รวมทั้งความท้าทายการจัดการเรียนรู้ศตวรรษ21 และการเผชิญหน้ากับไวรัส โคโรนา
ส่วนสื่อไทยพีบีเอส นำประเด็นวันนี้และทุกเวทีสื่อสารทั้งระดับนโยบายและประชาชน เพื่อขับเคลื่อนไปด้วยกัน


หมายเหตุ
ทัศนะผู้เขียนใน “เวทีเสวนาเรื่อง สร้างคุณภาพการศึกษาสู่ความยั่งยืน” “ การศึกษาทางเลือก “ ทางออกการจัดการศึกษาไทยที่เหมาะสมและปลอดภัย สร้างพลเมืองตื่นรู้ สู่ ศตวรรษที่ 21 ในวันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2563
ณ อันดามัน ลันตา รีสอร์ต อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
หนึ่งรวมส่วนหนึ่งของวาทะเด็ดของวิทยากร
สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส
1.”อิสลาม คือ วิถีชีวิต”
การจัดการเรียนการสอน
ศาสนาอิสลามจึงสามารถบูรณาการ
ได้กับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ

อับดุลสุโก ดินอะ
รองประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้
(ฝ่ายการศึกษา)
2.”การศึกษาทางเลือก”
คือ..การศึกษาตลอดชีวิต
ไม่มีวัน ” สิ้นสุด ”

นฤมล สุภาษต
ศูนย์การเรียนรู้ครูธรรมขาติ

3.การศึกษา การเรียนรู้ที่ดี
จะทำให้เกิด”ความสุข”ในขุมขน
ครอบครัว และในบ้านของผู้เรียน

นราธร หงส์ทอง
ศูนย์การเรียนรู้ท่องเที่ยวโดยชุมชนทุ่งหยีเข็ง

4.การศึกษาต้องสะท้อนความจริง
ความดี ความงาม วันแรก .ของการเรียน
จึงเริ่มด้วย คำถามว่า!
“ความดี” คืออะไร มีอไรบ้าง

ธรรมชาติ ตรุรักษ์
ศูนย์การเรียนรู้ครูธรรมชาติ

5.วิชาความรู้จากป่าจาก ผสมงานศิลปะ
เกิดเป็นวิชาผามัดย้อมออมเงิน
ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงาน
ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
การงานพื้นฐานอาชีพ และอื่นๆ
ก่อไห้เกิด”ความรู้ “ในชุมขน

จิราพร สุดสิน
ครูอาสา กลุ่มยวขนสร้างสรรค์
สอง
ติดตามและเสนอแนะการศึกษาทางเลือกในลิ้งค์นี้
https://m.facebook.com/events/375088590151806?view=permalink&id=375093043484694
สามข้อเสนอแนะการศึกษาทุกระบบที่ชายแดนใต้ผ่านงานวิจัย
(โปรดดู https://deepsouthwatch.org/th/node/10920)

 965 total views,  2 views today

You may have missed