อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)รายงานจากอินเดีย ..
ช่วง 13-19 พฤศจิกายน 2562 ผู้เขียนและคณะได้มีโอกาสศึกษาดูงานและประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ ทั้งที่ เมืองบังกะลอร์และ Lucknow หลังจากผู้เขียนเสร็จสิ้นภารกิจการสัมมนานานาชาติที่มหาวิทยาลัยIntegral เมือง Lucknow ในเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ผู้เขียนและท่านอซิซ สาเม๊าะประธานสมาพันธ์กอรีภาคใต้เเละผู้บริหารโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิได้เหมารถแท็กซี่จากเมืองLucknow มุ่งตรงสู่มหาวิทยาลัยAlighar Muslim(เพียงแต่เราแวะระหว่างทางเยี่ยมทัชมาฮาล 1/7 สิ่งมหัศจรรย์โลก)เพื่อเยี่ยมอดีตศิย์เก่าโรงเรียนจริยธรรมมูลนิธิ นายนดี ราษฏร์นิยม ปัจจุบันเป็นนักศึกษาปีที่3 นดี ราษฎร์นิยม ปริญญาตรี สาขาภาษาศาสตร์ (Linguistics Studies) Faculty of Art
เวลาประมาณ 6โมงเย็นเราก็ถึงเมืองAlighar นดีก็มารับเราทั้งสองไปบ้านพักเมื่อถึงบ้านเราดีใจมากที่ได้พบกับนายกสมาคมนักศึกษาไทยที่นี่ (ชื่อ พงษ์สิทธิ์หรือมุสตอฟาเด็นบาเส)
รวมกับเพื่อนๆประมาณ 15 คน มีทั้งในระดับปริญญาตรี โทและเอกในหลากหลายสาขา และมาจากทั้งภาคใต้และภาคกลางของไทย หลังจากผู้เขียนก็ได้เสวนากับนักศึกษาที่มาต้อนรับแบบเป็นกันเองพร้อมรับประทานอาหารค่ำร่วมกันในเมนูไทยเช่นผัดเผ็ดไก่ ไก่ต้ม ไข่ทอด และที่ขาดไม่ได้คือน้ำพริกที่คลุกเคล้าอย่างลงตัวในรสชาติแบบไทยๆ
หลังจากนั้นวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 นดี และเพื่อนรุ่นพี่เขาที่มาจากยะลาที่มีนามว่ามูฮัมมัดตอฮา กาเน็ง ปริญญาโทชั้นปีที่2 สาขาอิสลามศึกษา (Islamic Studies) Faculty of Social Science
ที่มากความรู้โดยเฉพาะประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งนี้และอินเดียได้เป็นไกด์นำเราไปยังสถานที่สำคัญของมหาวิทยาลัยและพบอาจารย์ต่างๆ เพื่อนไปศิษย์จากหลากหลายประเทศและที่ขาดไม่ได้คือนักศึกษาไทยไม่ตำ่กว่าอีก 10 คน มีคนหนึ่งอุ้มลูกมาเรียนด้วย ซึ่งเป็นภาพน่ารัก สอดคล้องกับคำขวัญวัจนะศาสดาที่ติดน่าประตูมหาวิทยาลัย ว่า ท่านทั้งหลายจงศึกษาตั้งแต่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ (การศึกษาตลอดชีพ)
ยิ่งได้ฟังประวัติผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย สถานที่ทางประวัติศาสตร์และเยี่ยมสุสานท่านยิ่งเห็นพลังอำนาจของการศึกษาที่มีพลังมากกว่าอาวุธสงคราม
เป็นที่ทราบกันดีว่าในสังคมมุสลิมไทยปัจจุบันผู้มีคุณูปการด้านการศึกษาและพัฒนาสังคม นั้นล้วนมาจากผลผลิตมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่ว่าจะเป็นสองพี่น้องศาตราจารย์ดร.อิมรอนและจรัญ มะลูลีม รองศาสตราจารย์อนัส อมาตยกุล รองศาสตร์ดร. ศราวุธและดร.มาโนช อารี ดร.อับดุรรอหมาน กาเหย็ม รองนายกอบจ.สงขลาและเลขานุการสำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสงขลาและอีกหลายๆท่านที่ไม่สามารถเอ่ยได้หมด ซึ่งจากการสัมภาษณ์/สัมผัสทั้งสองวันกับนักศึกษาได้เห็นความตั้งใจ ความสมัครสมานสามัคคีระหว่างนักศึกษาเก่ากับใหม่ หลากหลายระดับชั้นที่พวกเขาเรียนไม่ว่าปริญญาตรี โทและความสามารถด้านวิชาการและทักษะชีวิตในประเทศอารยธรรมอย่างอินโดนีเซีย
ดังนั้นจึงหวังว่า พวกเขาทั้งหมดน่าจะเป็นกำลังสำคัญที่สามารถต่อยอดภารกิจรุ่นพี่ รุ่นพ่อที่มีคุณูปการ ต่อสังคมมุสลิมไทยในอนาคต
และความคาดหวังของผู้เขียนก็ไม่น่าพลาด(หากเป็นความประสงค์ของอัลลอฮ)
หมายเหตุโปรดดู
1.
2.https://www.facebook.com/1245604111/posts/10221046978624558?d=n&sfns=mo
3.https://www.facebook.com/1245604111/posts/10221046978064544?d=n&sfns=mo
1,155 total views, 4 views today
More Stories
คาด ปราโบโว ซูเบียนโต ผู้นำอินโดนีเซียคนใหม่สะท้อนประชาธิปไตยอินโดนีเซียก้าวหน้ามั่นคง ต่างจากประเทศไทยแม้เปลี่ยนการปกครอง ก่อน (2475)
4 ตัวละครหลักการเลือกตั้งมาเลเซียครั้งที่15 หลังยุบสภา
รอง มทภ.4 ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานด้านกำลังพลและด้านการส่งกำลังบำรุงของหน่วยในพื้นที่ จชต. พร้อมทั้ง ติดตามความคืบหน้า การก่อสร้างฐานปฏิบัติการ กองร้อยชุดควบคุมป้องกันชายแดน ที่ 4