มกราคม 18, 2025

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

แม่ทัพภาคที่ 4 เปิดค่ายพักพิงบำบัดยาเสพติด Camp 35 จังหวัดนราธิวาส รุ่นที่ 1 เดินหน้าแก้ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังคืนความสุขชายแดนใต้

แชร์เลย

 นราธิวาส/ภาพ/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ…

(  29 ก.ค. 62) ที่กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 151 ค่ายกัลยาณิวัฒนา ต.กะลุวอ อ.เมือง จ.นราธิวาส พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.ปส.จชต.) เป็นประธานในพิธีเปิดค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด Camp 35 จังหวัดนราธิวาส ตามนโยบายของแม่ทัพภาคที่ 4 ที่ได้ประกาศแผนปฏิบัติการโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดคืนความสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ กำหนดแนวทางการบำบัดรักษาและแก้ไขปัญหายาเสพติด 5 ขั้นตอนให้ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนดำเนินงานอย่างจริงจังให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมี พล.ต.สมพล ปานกุล รองแม่ทัพภาค 4 รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พล.ต.สมดุลย์ เอี่ยมเอก ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส นายซาฟีอี เจ๊ะเล๊าะ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง สาธารณสุข และ ผู้นำศาสนา และน้องๆชาวค่ายพักพิงเพื่อการบำบัดร่วมให้การต้อนรับ


ด้าน พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 กล่าวว่า นับตั้งแต่ผมได้ประกาศ แผนปฏิบัติการ “รวมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติด คืนความสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ” โดยเฉพาะมาตรการด้านการบำบัดรักษา กำหนดเป้าหมายนำผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติด จำนวน 10,000 คน เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 ได้ประชุมชี้แจงแนวทางการบำบัดรักษา และแก้ไขปัญหายาเสติด ให้ทุกภาคส่วนราชการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ผลการดำเนินการในภาพรวม เป็นที่น่าชื่นชมเป็นอย่างมาก จนได้รับคำชมจากผู้บังคับบัญชาในหลายระดับ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งท่านผู้บัญชาการทหารบก


ทั้งนี้ขอขอบคุณจังหวัดนราธิวาส ภายใต้การนำของผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธัญญรักษ์ปัตตานี ส่วนราชการทุกส่วน ทั้งฝ่าย ทหาร ตำรวจ พลเรือน และผู้นำศาสนา ที่ได้บูรณาการ การดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของจังหวัดนราธิวาส ตามแนวทางการบำบัดรักษาและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งมาตรการด้านการป้องกัน ปราบปราม การบำบัดรักษา และการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดอย่างจริงจัง และเกิดผลเป็นรูปธรรม และขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน และพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้เดินไปข้างหน้าอย่างเต็มกำลัง ทั้งนี้ปัญหายาเสพติดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความทับซ้อนกับปัญหาความมั่นคง ได้ลดระดับความรุนแรงลง และผมเชื่อว่าหากปัญหายาเสพติดลดระดับความรุนแรงลง จะส่งผลให้ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น ลดระดับความรุนแรงลงไปด้วย เช่นกัน อันจะก่อให้เกิดความสงบสุข และสันติสุขที่ยั่งยืน กับพี่น้องประชาชน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามนโยบายของรัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี


ด้านนายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลกำหนดนโยบายการดำเนิน งานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ.2561-2562 กำหนดวิสัยทัศน์ สังคมไทยเข้มแข็งและรอดพ้นภัยยาเสพติด ด้วยภูมิคุ้มกันและมาตรการลดผู้ค้า ผู้เสพ จังหวัดชายแดนภาคใต้ปัญหายาเสพติด มีความทับซ้อนกับ ปัญหาความมั่นคง มีความสัมพันธ์เกื้อหนุนกัน ทำให้การแพร่ระบาดของยาเสพติดมีแนวโน้มระดับที่รุนแรงเป็นปัญหาที่ประชาชนต้องการให้ภาครัฐแก้ไขเป็นอันดับแรก

ฉะนั้นผมจึงถือว่า”ยาเสพติดเป็นทุกข์ของชาวบ้าน จึงถือว่า เป็นภารกิจสำคัญเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข”กระผมขอเรียนว่า การดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการในหลักคิด 7 วาระ นราน่าอยู่อย่างยังยืน วาระที่ 5 นราปลอดภัย ทุกแห่งหนคนปลอดภัย”โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านและชุมชนเมือง การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด” ซึ่งได้ดำเนินการแล้ว ดังนี้ กลยุทธ์กวาดบ้านตนเองตรวจหาสารเสพติดเจ้าหน้าที่ของกลยุทธ์ เดินเข้าสู่หมู่บ้านให้ทุกอำเภอจัดตั้งชุดปฏิบัติการร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำตำบลหรือเรียกว่าTake care team ทุกตำบลทำหน้าที่ในการสำรวจค้นหาผู้เสพ ผู้ค้า ยาเสพติด จัดกิจกรรมรณรงค์ สร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และทำหน้าที่ในการติดตาม และทำหน้าที่ในการติดตามช่วยเหลือ ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด ที่กลับสู่ชุมชน หมู่บ้าน จากทั้ง 3 ระบบ คือ ระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ ไม่ให้กลับไปเสพซ้ำอีก

ด้านการบำบัดในระบบสมัครใจได้จัดให้มีใครปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯจังหวัดนราธิวาสจำนวนสามแห่งได้แก่ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัด ที่กองร้อย อส.จ.นธ.ที่ 1 ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯอำเภอสุคิริน ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯอำเภอสุไหงปาดี และค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด (Camp 35 ) จังหวัดนราธิวาส ขึ้น ที่ กรมทหารราบที่ 151 ค่ายกัลยาณิวัฒนา สำหรับการจัดค่ายพักพิงเพื่อการบาบัด(Camp 35) จังหวัดนราธิวาส ดำเนินการระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม – 22 สิงหาคม 2562โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ติดยาเสพติดจากทุกอำเภอของที่นำ เข้าสู่ค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด ( Camp 35) จังหวัดนราธิวาส จำนวน 60 คน

สำหรับการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาของจังหวัดนราธิวาส ได้นำผู้ป่วยยาเสพติด ระดับกลุ่มผู้ติดเข้ารับการบำบัดรักษา ในระบบค่ายที่เรียกว่า ค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด หรือ Camp 35 ซึ่งเป็นผู้เข้ารับการบำบัดจากทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จำนวน 60 คน เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามหลักสูตรทางการแพทย์ จำนวน 35 วัน และ ในโอกาสที่พาน้องๆ เข้ารับการบำบัดรักษาจำนวน 35 วัน ขอฝากไปยังผู้ดูแลพื้นที่ คือ นายอำเภอ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่ซึ่งประกอบเป็นชุดปฏิบัติการร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำตำบล หรือที่เรียกว่า Take care team ปฏิบัติการกวาดล้างผู้ค้ายาเสพติดควบคู่กันไป เพื่อให้พื้นที่ของเราปลอดยาเสพติดอย่างจริงจังต่อไป

 766 total views,  2 views today

You may have missed