(2 พ.ย.61 เวลา 16.00 น.) ที่ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เขตเทศบาลนครยะลา อ.เมือง จ.ยะลา พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เป็นประธานในพิธีเปิด “การปฎิบัติการร่วมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติดคืนความสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” ภายใต้ยุทธศาสตร์แผนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ.2560 – 2564) โดยมี นายสุรพล ภัทรปกรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 9/กรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วยพล.ต.ท.รณศิลป์ ภู่สาระ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น มวลชนจิตอาสาทุกส่วนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา สตูล) และ นักศึกษา เข้าร่วมในงานกว่า 1,000 คน พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ผอ.ศอ.ปส.จชต.)กล่าวว่า หลังจากทางศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติได้มีคำสั่ง ในเรื่อง แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ.2560 – 2564)
ตนเองจึงได้กำหนดให้มี “ปฏิบัติการรวมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติดคืนความสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้”ขึ้นมา โดยให้มีการปฏิบัติในระยะเร่งด่วน 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2562 โดยมีการปฏิบัติหลักทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การป้องกัน การปราบปราม และการบำบัดรักษา กำหนดพื้นที่เป้าหมายในระดับหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน ใช้ศักยภาพของตำบลเป็นกลไกสำคัญ 290 ตำบล ให้ศูนย์ปฏิบัติการร่วมอำเภอ เป็นหน่วยงานควบคุมการปฏิบัติ และศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเป็นหน่วยอำนวยการ ในด้านการป้องกัน จะมีเป้าหมายไม่ให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ใช้ยาเสพติดรายใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีการปฏิบัติโดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในสถานศึกษาและในหมู่บ้าน/ชุมชน
แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังกล่าวอีกว่า ในด้านการปราบปรามนั้น จะเน้นการบังคับใช้กฏหมายเพื่อลดจำนวนผู้ค้ารายย่อยในระดับหมู่บ้านเป็นสำคัญด้วยการใช้กฏหมายพิเศษสนับสนุนการปฏิบัติ ซึ่งมีเป้าหมายขั้นต้น 5,000 ราย ในด้านการบำบัดรักษา จะช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดทุกระดับ ทั้งระดับผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติด และเป็นโรคจิตเภท ด้วยการบำบัดรักษาตามระบบของรัฐ และระบบอื่นๆ โดยเน้นให้เกิดระบบสมัครใจให้มากที่สุด มีเป้าหมายในระยะ 3 เดือนนี้ ไม่น้อยกว่า 5,000 คน และจะดำเนินการให้ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน ในระยะต่อไป
////////////////////////////////
ภาพ/ข่าว อับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา
935 total views, 17 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี