พฤศจิกายน 10, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

สำรวจทัศนะนักวิชาการไทยสงครามสหรัฐอเมริกา-อิหร่าน

แชร์เลย

อุสตาซ อับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)


ผลของการที่อเมริกาภายใต้การนำของทรัมป์สังหารนายพลอิหร่านโดยไม่คำนึงถึงกฎหมายระหว่างประเทศนั้นทำให้อิหร่านมีความชอบธรรมที่จะประกาศชักธงรบกับอเมริกาและส่งผลต่ออุณหภูมิการเมืองโลกรับต้นปี2020 ตามที่เป็นข่าว ลำดับต่อไปมาดูบางทัศนะนักวิชาการไทยที่มีต่อเรื่องนี้ เช่น ดร.ศราวุธ อารีย์ มองว่า สงครามครั้งนี้ เป็นการแย่งพื้นที่ภูมิรัฐศาสตร์คือตะวันออกกลางโดยมีใจกลางอยู่ที่อิรัก
(อ่านรายละเอียดใน
https://www.nationtv.tv/main/content/378756899/?qk=)
หม่อมปลื้ม หรือหม่อมหลวงนัฏฐกรณ์ เทวกุล สะท้อนเรื่องนี้ว่า “สหรัฐฯ ยิงจรวดถล่มขบวนรถของผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษของอิหร่านเสียชีวิต โดยเหตุการณ์นี้ ถือเป็นการเพิ่มชนวนความขัดแย้งระหว่าง ‘สหรัฐฯ – อิหร่าน’ ให้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
(
ชมคลิปเต็มได้ที่ https://www.voicetv.co.th/watch/uCuR6c7uN
)
Dr.Pavin Chachavalpongpun นักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศ
ให้ทัศนะว่า “การเมืองสหรัฐมันซับซ้อนกว่าที่เราคิด การสังหารผู้นำกองทัพของอิหร่านจนอาจนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 มันเกิดในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของการเมืองสหรัฐเอง อีกไม่นาน การพิจารณาการถอดถอนประธานาธิบดีกำลังจะเริ่มขึ้น การประกาศสงครามกับอิหร่านอาจจะเป็นกลยุทธหนึ่งในการเบี่ยงความสนใจจากปัญหาการเมืองภายในไปสู่การเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งเคยเกิดมาหลายครั้งในประวัติศาสตร์สหรัฐ แม้มันอาจเบี่ยงประเด็นภายใน แต่ราคาที่จ่ายมันสูงมากๆ เพราะมันนำไปสู่สงครามกับประเทศอื่นๆ ทฤษฎีเบี่ยงความสนใจนี้ นักศึกษา IR เข้าใจดีว่าเป็นอย่างไร
…ตอนประธานาธิบดีคลินตัน โดนคดี impeachment เกี่ยวกับการโกหกว่าไม่มีความสัมพันธ์กับโมนิก้า รวมถึงบังคับให้โมนิก้าโกหก ก็มีความพยายามจากรัฐบาลในการเบี่ยงประเด็นความสนใจไปสู่ปัญหาที่สหรัฐมีต่อซูดาน เรื่องนี้ฮอลลีวู้ดยังเอาไปทำเป็นหนัง ชื่อ Wag the Dog ที่มีความหมายว่า เรื่องเล็กกลายมาเบี่ยงความสนใจจากเรื่องใหญ่ เช่นเดียวกับแทนที่หมาจะสะบัดหาง กลับกลายเป็นหางสะบัดหมาเสียเอง”

นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย คอลัมน์นิสต์ชื่อดังไทยรัฐให้ทัศนะว่า “

ภาพแห่งบรรยากาศความรักอาลัยในพลตรีโซโลมานีก็ถูกส่งมามากมาย ทำให้เราได้เห็นความเศร้าอาลัยของคนอิหร่านและอิรักที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ที่มีต่อพลตรีโซไลมานี

ความที่เคยรับราชการทหารเรือมาก่อน การมาพักที่ดาร์ทเมาธ์จึงเป็นโอกาสที่เพื่อนฝูงที่ยังรับราชการในกองทัพเรือแคนาดามาเยือนคุณเวลลส์

จากการนั่งฟังผู้คนคุยกัน ผมสรุปบรรยากาศสงครามจากทางฝั่งอเมริกาเหนือเอาเองว่า ขณะนี้มีคำสั่งให้เตรียมพร้อมทั้งเรือดำนำ้และเรือทุกประเภทของแคนาดา

บางท่านเดาถึงขนาดว่า น่าจะมีสงครามระหว่างสหรัฐ+พันธมิตร v.s. อิหร่าน+พันธมิตร โดยรัสเซีย จีน และอิรัก หนุนอิหร่าน

พอมีคำว่ารัสเซียและจีนเข้ามาถึงสมอง ผมก็คิดว่าสหรัฐและพวกแย่แน่แล้ว แต่เมื่อได้รับทราบสมรรถนะของอาวุธยุทโธปกรณ์ของฝั่งสหรัฐจากคนที่ทำงานจริง

ผมก็เอาข้อมูลจากทั้งสองฝั่งมาชั่งดูแล้ว ก็คิดว่าฝั่งอิหร่าน รัสเซีย และจีน ยังเสียเปรียบอยู่อีกมาก

เมื่อรู้ว่าตนยังเป็นฝ่ายเสียเปรียบ พวกที่ด้อยกว่าก็คงไม่กล้ากระโจนออกไปเย้วๆ กลางสนามเพื่อทำ ‘สงครามในแบบ’ เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของตนดอกครับ

เมื่อการดื่มเหล้ายาสนทนากันอย่างสนุกสนานผ่านไปแล้ว แขกฝรั่งทั้งหลายก็กลับบ้าน สมาชิกครอบครัวคุณเวลส์ก็ยกมือบ๊ายบายนิทราราตรีสวัสดิ์และเข้าห้องนอนกันแล้วทุกคน

อา ณ เวลานี้ ถ้าถามว่าสถานการณ์จะบานปลายยังไงเมื่อใดเท่าไหนปริมาณมากไหมต่อไป

ก่อนจะอ้าปากวิเคราะห์ จะต้องย้อนกลับไปเอาสถานการณ์ พ.ศ.2534 และ พ.ศ.2544 มาประกอบ

สงครามอ่าวครั้งที่ 1 (2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ทำให้โลกทั้งใบอ้าปากค้างเมื่อได้เห็นเทคโนโยลีทางการทหารของสหรัฐที่ใช้ในสงครามอ่าว

อย่างขีปนาวุธนำวิถีเอจีเอ็ม 130 ระบบแว๊กส์ที่ใช้แจ้งเตือนและควบคุมทางอากาศ ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ทำให้การปฏิบัติการของเครื่องบินกรัมแมน อี-2 ฮอว์คอายและโบอิง อี-3 เซนทรีและอาวุธอีกมากมายหลายอย่างทำงานได้ตามความปรารถนาของสหรัฐทุกประการ

อากาศยานการสงครามอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีทางการทหารอีกมากมายหลายอย่างในสมัยนั้นทำให้โลกตะลึงพรึงเพริด

ผู้นำสหภาพโซเวียตอย่างนายกอร์บาชอฟถึงขนาดเอามามือคลำหัวล้านด้วยอาการ ‘ปวดหมอง’ อยู่หลายเดือน จนต้องยอมสลายสหภาพโซเวียตเมื่อ 24 ธันวาคม 2534 เพราะรู้ว่าสหภาพโซเวียตไม่มีทางสู้สหรัฐได้

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พวกประเทศเล็กชาติน้อย พวกกองกำลังกระจิ๊ดริดกระจ้อยร้อยก็ไร้ที่พึ่งพา

โลกอิสลามที่เป็นปฏิปักษ์กับสหรัฐเริ่มโดนสหรัฐและตะวันตกกระทำย่ำยีอย่างไม่ทีทางสู้”
ในขณะที่ดร.อิลยาส หญ้าปรัง แนะให้
“อิหร่านตั้งมั่นอยู่ในความสงบ” กล่าวคือ

อิหร่านเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ยังยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงท่ามกลางซากปรักหักพัง จากน้ำมือของสหรัฐและอิสราเอล

อิรัก ซีเรีย เยเมน ลิเบีย ปาเลสไตน์ ล้วน บ้านแตกสาแหรกขาด ชะตากรรมของผู้คนน่าสงสารเป็นที่สุด ผู้หญิง เด็ก แม่ลูกอ่อน ออกมาเร่ร่อนขอทานเต็มถนน ในจอร์แดน การ์ต้า ฯลฯ หมดอนาคต ใช้เวลาอีกเป็นร้อยปีในการสร้างขึ้นมาใหม่

แม้จะถูกสหรัฐปิดล้อมทางเศรษฐกิจมากกว่า 40 ปี และการปิดล้อมรอบใหม่ในปี 2018 ที่ผ่านมา ที่ ทรัมป์เรียกว่า “การปิดล้อมขั้นสูงสุด (Maximum pressure)” การปิดล้อมครั้งนี้หนักขนาดพรมที่ถักโดยชาวบ้านธรรมดาๆก็ไม่สามารถส่งไปขายนอกประเทศได้ (สหรัฐมีกฎหมายห้ามบริษัทอเมริกันค้าขายกับประเทศที่ถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจ ข้อห้ามนี้หมายรวมถึงบริษัทอื่นที่ไม่ใช่อเมริกันด้วย และเนื่องจากสหรัฐคุมระบบการเงินโลก เช่นถ้าบริษัทในมาเลเซียค้าขายกับอิหร่าน ต้องจ่ายเงินผ่านสถาบันการเงิน ถ้าสหรัฐตรวจพบ บริษัทนั้นจะถูกแบลคลิสและไม่สามารถทำการค้าขายกับสหรัฐได้ อีกทั้งต้องโดนจับเข้าคุกด้วย) แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้อิหร่านอ่อนแอลงเลย

อิหร่านเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ไปช่วยบาชิร อัล อัซซาด รบในซีเรียจนได้รับชัยชนะ ช่วยฮูซี รบในเยเมนก็เล่นเอาซาอุและพันธมิตรซะอ่วม รบกับไอซิสในอิรักก็ชนะ ซ้ำยังเข้าควบคุมการเมืองในอิรักอีกด้วย ปีก่อนหน้านั้นจับนาวิกโยธินสหรัฐสิบกว่าคนออกทางทีวี ยึดเรืออังกฤษที่ไปยึดเรืออีหร่านก่อน สอยโดรนของสหรัฐ ฯลฯ อิหร่าน จับมืออย่างแน่นกับตุรกี การ์ต้า รัสเซีย (ที่กำลังปิดล้อมยุโยปจนหายใจติดขัดอยู่ปัจจุบัน) และจากที่เคยบาดหมางอย่างหนักกับปากีสถานในเรื่องชีอะฮ (มัสยิดของชาวชีอะฮมักถูกลอบวางระเบิดเสมอ) ก้กลับคืนดีกันอย่างชื่นมื่น โดยสองเดือนที่แล้วนายก อิมรอน ข่าน เยือนอิหร่านและเข้าเยี่ยมผู้นำสูงสุด

อิหร่านขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็ว และ diplomatically smart ยากที่จะโค่นอิหร่านดังที่โค่นซัดดัม ฮุสเซน

ทางเดียวที่จะทำให้อิหร่านอ่อนแอ คือทำสงครามใหญ่กับอิหร่าน และต้องสร้างความขัดแย้งในสเกลในลักษณะระเบิดตึกเวิร์ลเทรด สเกลแบบนี้มีเพียงการ ลอบฆ่า อิหม่าม คามาเนอี หรือ นายพล กอซิม สุไลมาน เท่านั้น เมื่ออิหร่านทำสงครามแบบเผชิญหน้า อิหร่านจะย่อยยับแบบอิรัก (แน่นอนอเมริกาย่อมสูญเสียแต่ไม่เท่าอิหร่าน) และจะอ่อนแอลงเรื่อยๆ จนถึงระดับที่ไม่เป็นภัยคุกคามต่อ สหรัฐ อิสราเอล และซาอุอีกต่อไป

ถ้าอิหร่านจะ survive ซึ่งแน่นอน they will อิหร่านต้องไม่ตกหลุมพรางนี้ อิหร่านต้องกวนสหรัฐไปเรื่อยๆ ปฏิบัติการแบบ low intensity warfare ยืดเยื้อ ไม่ต้องรีบ อาจไม่ถูกใจขาเชียร์ แต่สหรัฐไม่เคยชนะในสงครามแบบนี้

ใต้ภูเขาน้ำแข็งที่โผล่มาเป็นอิหร่านขัดแย้งกับสหรัฐ มีความใหญ่โตมโหฬารของการ struggle ภายในโลกซุนหนี่ -ชีอะฮ และการขึ้นมาของอำนาจของชีอะฮ์ ควรเลิกพูดเรื่องสงครามโลกครั้งที่สาม แล้วไปหาอ่านหนังสือเล่มชือ The Shia Revival : How Conflicts within Islam Will Shape the Future อ่านสนุก เขียนโดย Vali Nasr เป็นอาจารย์ ที่ John Hopskins เป็นคนเชื้อสายอิหร่าน
ครับนี่แค่ห้าทัศนะนักวิชาการเท่านั้นต่อเรื่องนี้
แต่ไม่ว่าความขัดแย้งนี้จะระเบิดศึกหรือไม่อย่างไร ผลกระทบทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะระส่ำ คอยซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน ที่แน่ๆบริษัทค้าอาวุธคงไชโยโห่หิ่ว เพราะตอนนี้หุ้นของพวกเขาขึ้นแล้วขึ้นอีก
(อ่านรายละเอียดใน
https://brandinside.asia/defense-stocks-jump-after-us-attacks-iran/)

 889 total views,  2 views today

You may have missed