โดย อ. รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ(คนไทย)อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมลายา ประเทศมาเลเซีย..
หลายคนมักมองแค่ว่ามีความเป็นพหุทางเชื้้อชาติ ภาษา ศาสนา เท่านั้น ซึ่งเรามองว่าเป็นการแบ่งอย่างหยาบๆ จริงๆแล้ว ถ้าได้สัมผัสมาอยู่จริงๆ และคบหากับคนมาเลเซียใช้ชีวิตอยู่กับพวกเขา จะพบความแตกต่าง มีความเป็นพหุซ้อนพหุอีกทีหลายชั้น มัน complex มาก
ขอยกตัวอย่างจาก Hofstede’s cultural dimensions theory ซึ่่งได้แบ่งออกมาเป็น 6 dimensions คือ Power distance index (PDI), Individualism vs. collectivism (IDV), Uncertainty avoidance (UAI), Masculinity vs. femininity (MAS), Long-term orientation vs. short-term orientation (LTO), Indulgence vs. restraint (IND)
แล้วมีการนำมาศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับสังคมมาเลเซียโดยแบ่งแค่ 3 เชื้อชาติหลักๆ คือ มาเลย์ จีน อินเดีย บางครั้งเราไปอ่านเจอมา ก็รู้สึกขัดๆ ยังไม่ละเอียดพอและบางคนก็ผิดทิศผิดทางไปเลย
ที่มักหายไปไม่ค่อยพูดถึงคือ สังคมวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ประจำถิ่นหรือประจำรัฐ ซึ่งแต่ละรัฐมีลักษณะเฉพาะของตน คนกลันตัน ตรังกานู จะมีอัตลักษณ์ที่คล้ายๆ กัน ยะโฮร์จะอีกแบบ ปีนัง เปรัค หรือรัฐอื่นๆ ก็จะแตกต่างกันไป ไหนจะซาบาห์ ซาราวัคอีก
เราจะสังเกตจากนักศึกษาเราเอง มีคลาสหนึ่งเมื่อ 2-3 ปีก่อน ปกติเด็กต่างเชื้อชาติจะนั่งแยกกัน ไม่ค่อยนั่งรวมกัน แต่มีกลุ่มหนึ่งนั่งรวมกันหมดเลยทั้งมาเลย์ จีน อินเดีย เราก็ถามไปว่า นี่มาจากกลันตันใช่มั้ย พวกเขาก็จะตอบว่าใช่เลย ก็เป็นลักษณะหนึ่งของคนกลันตันคือมีความพวกพ้องสูง ไม่แยกไม่ว่าจะเชื้อชาติไหนและจะพูดภาษาถิ่นตน ขณะที่ชาวยะโฮร์จะมีความเป็นปัจเจกสูง อันนี้แค่ตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เพื่อทำความเข้าใจกับพหุสังคมของที่นี่ ถ้าเราเข้าใจเขา เราก็จะรู้ว่าควรทำตัวอย่างไรในการคบหาสมาคม หรือการทำงานร่วมกัน
หมายเหตุศึกษาเพิ่มเติมใน
1,737 total views, 6 views today
More Stories
คาด ปราโบโว ซูเบียนโต ผู้นำอินโดนีเซียคนใหม่สะท้อนประชาธิปไตยอินโดนีเซียก้าวหน้ามั่นคง ต่างจากประเทศไทยแม้เปลี่ยนการปกครอง ก่อน (2475)
4 ตัวละครหลักการเลือกตั้งมาเลเซียครั้งที่15 หลังยุบสภา
รอง มทภ.4 ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานด้านกำลังพลและด้านการส่งกำลังบำรุงของหน่วยในพื้นที่ จชต. พร้อมทั้ง ติดตามความคืบหน้า การก่อสร้างฐานปฏิบัติการ กองร้อยชุดควบคุมป้องกันชายแดน ที่ 4