มีนาคม 28, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รอมฎอน กับ การดูแลสุขภาพร่างกาย และสิ่งที่ควรรู้

แชร์เลย


เดือนที่ 9 ตามปฎิทินจันทรคติ ของอิสลาม จะเป็นเดือนรอมฎอน เป็นเดือนที่ชาวมุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน มักเรียกสั้นๆ ว่า เดือนบวช ที่เป็นสำคัญเดือนหนึ่งของอิสลาม การถือศีลอดตามความหมายทางศาสนาของอิสลาม คือ การงดเว้นจากการกิน การดื่ม การเสพ การร่วมประเวณีระหว่างสามีภรรยา ชายหญิง ตลอดจนการกระทำที่ขัดกับคุณธรรม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตก ซึ่งช่วงเวลาที่อดอาหาร อดน้ำ ในแต่ละวัน และพฤติกรรมการรับประทานที่แตกต่างกันของแต่ละคน อาจทำให้ช่วงเวลาถือศีลอดยาวนานได้ตั้งแต่ 13 ถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน ในแต่ละประเทศ ปฏิบัติต่อเนื่องกันไป 29-30 วัน สุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่เราจะต้องศึกษาและกล่าวถึง


วิธีการดูแลสุขภาพในเดือนถือศีลอดสำหรับประชาชนทั่วไป
1.รับประทานอาหารสุกใหม่ ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพราะจะทำให้กระหายน้ำได้ระหว่างการถือศีลอดในตอนกลางวัน
2. สำหรับอาหารมื้อเย็นควรเริ่มด้วยอาหารเหลวย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยากเพราะจะทำให้กระเพราะอาหารทำงานหนักขึ้น
3. อาหารมื้อเย็น ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารมากเกินไป เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวกระเพาะอาหารจะมีน้ำย่อยออกมามาก การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็วจะทำให้กระเพาะอาหารปรับตัวไม่ทัน ระบบย่อยอาหารแปรปรวน เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังต่อไปได้
4. หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ต้องอย่างน้อย 2-4 ชั่วโมง เพราะการนอนหลังรับประทานอาหารทันที อาจทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับ ทำให้ระบบย่อยอาหารแปรปรวนเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
5. ก่อนรับประทานอาหารหรือปรุงอาหารควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง สำหรับน้ำดื่มควร เป็นน้ำที่สะอาด เช่น น้ำต้มสุก หรือน้ำบรรจุขวดที่ได้มาตรฐาน
สำหรับโรคที่ควรหลีกเลี่ยงการถือศีลอด ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต ผุ้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนไต หรือนิ่วที่ไต โรคปอดและหัวใจที่รุนแรง โรคกระเพาะ โรคลมชัก และโรคไมเกรน ซึ่งหากผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังที่ตั้งใจจะถือศีลอด ควรแจ้งให้แพทย์ที่รักษาเป็นประจำได้ทราบล่วงหน้าก่อนที่จะเริ่มถือศีลอดเพื่อขอคำแนะนำ

ในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายเพื่อการตรวจรักษาได้ทันเวลา
โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ไม่เหมาะกับการอดอาหารมากที่สุด เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จากการอดอาหาร หรือเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จากการงดทานยารักษาเบาหวาน ดังนั้นควรให้ความใส่ใจและดูแลตนเองเป็นพิเศษ ซึ่งการถือศีลอดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น มีความปลอดภัย หากผู้ป่วยรู้สภาวะโรคของตนเอง และสามารถปรับพฤติกรรมการกินอาหารปรับเปลี่ยนการใช้ยาอย่างถูกต้อง แต่ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หากผู้ป่วยมีความต้องการถือศีลอด ต้องตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดช่วงตลอดวันที่ถือศีลอด ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ข้อมูล สาธารณสุข…

 

 12,907 total views,  2 views today