พฤษภาคม 19, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

มุสลิมไทยทำงานใน ร้าน KFC และ7/11 ได้ไหม?

แชร์เลย

เรียบเรียงโดย Matty Ibnufatim Hamady 

มีพี่น้องถามมาเกี่ยวกับการเป็นพนักงานมุสลิมที่ขายในห้าง หรือในร้านที่มีทั้งของฮาลาลไม่ฮาลาล หรือไม่มีตราฮาลาล เช่นร้านไก่ KFC (ฮาลาลเพราะพนักงานขายใส่ผ้าคลุมหรือไม่?

ตามคำถาม มี 2 ประเด็นหลัก เเต่ผมจะเสริมอีก 1ประเด็น คือ ข้อ 3 เเละอธิบายรายละเอียด

1. พนักงานมุสลิมที่ขายในห้าง หรือในร้านที่มีทั้งของฮาลาลไม่ฮาลาล หรือไม่มีตราฮาลาล เช่นร้านไก่ KFC ได้หรือไม่?
2. อาหารฮะลาลเพราะพนักงานใส่ผ้าคลุมหรือไม่ ?
3. ทางออกสำหรับมุสลิมที่ขายในร้านดังกล่าวในกรณี ไม่มีวิธีอื่นจริงๆ

#ประเด็นที่ 1:
พนักงานมุสลิมะห์สวมผ้าคลุมทำงานเป็นพนักงานขายร้าน KFC หรือร้านอาหารอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับตราฮาลาล มักถูกมองว่า เป็นการช่วยเหลือในการเสริมความฮาลาลให้อาหารที่ขายเเละให้กับร้าน เพราะผู้ที่มาซื้อ เห็นเป็นภาพรวมว่า คงกินได้ ถึงเเม้ไม่มีโลโก้ ” ฮาลาล” ติด เเละพนักงานเหล่านี้มักโดนวิจารณ์ทางลบ

พนักงานมุสลิมเหล่านี้โดนวิจารณ์ว่า ทำงานในร้านที่ไม่ได้รับเครื่องหมาย ฮาลาล ควรจะไปหางานอื่นทำดีกว่า ซึ่งคำวิจารณ์นี้ อาจจะเเรงไปหน่อย เเละง่ายเกินไป ด้านคำพิพากษาตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม

พนักงานเหล่านี้ อาจจะเป็นคนที่น่าสงสาร เพราะไม่มีงานให้ทำ เรียนไม่ได้สูงเหมือนคนที่วิจารณ์ เพียงเเค่ทำงานเอาเงินเดือนเลี้ยงชีพไปวันๆ เเละทำงานในร้านชุบฮัต

การพูดว่า อาหารที่ไร้โลโก้ حلال ว่า ไม่ حلال เป็น การฮุกุ่่มเเบบเร่งรีบ สิ่งที่ไม่เเน่ชัด ไม่สามารถฮุกุ่ม ได้ เช่นเดียวกัน คนไม่มีวุฒิการศึกษา หรือใบปริญญา ไม่ได้หมายความว่า เขาคนนั้นไม่มีความรู้ ตราฮาลาล ไม่สามารถรับประกันความฮาลาลได้ เพราะ อาจจะมีการปนเปื้อนสิ่งที่นายิสหลังจากนั้น ใบประกาศนียบัตร เเละวุฒิการศึกษา หรือใบปริญญา ไม่สามารถประกัน ว่า มีความรู้ได้

Certificate มาจากการตรวจสอบ ตอนตรวจสอบ อาจจะมีการวางเเผนความฮาลาลไว้ล่วงหน้า ตราฮาลาล คือ การรับประกัน ว่า อาหารที่เรากิน ฮาลาล เเละ รับประกันโดยคณะกรรมการอิสลาม

การกินอาหารที่ชุบฮัต ( شبهة) (อาหารที่คลุมเครือหรือไม่เเน่ชัดระหว่างฮาลาล เเละฮารอม) อาหารที่ไม่มีตราฮาลาล ( حلال) เเละเราไม่ทราบว่า อาหารนั้นฮาลาลหรือไม่? หรือสงสัย เพราะไม่มีการตรวจสอบ ตามทัศนะของอุลามะ หรือ นักปราชญ์ มี 4 ทัศนะด้วยกัน ตามคำกล่าวของท่าน อีหม่าม อันนะวะวีย์ ในตำรา ชัรฮุมุสลิม.

ทัศนะที่ 1 : ไม่อนุญาตให้ฟันธง หรือฮุกุ่ม ว่า ฮารอม ฮาลาล มักรุฮ หรือ ตัดสินด้วยฮุกุ่มอื่นๆ เพราะไม่ชัดเจน

ทัศนะที่ 2 : ฮารอมกิน

ทัศนะที่ 3 : สามารถกินได้

ทัศนะที่ 4 : ต้องตะวักกุฟ ซึ่งหมายถึง หลีกเลี่ยง หรือ หยุดนิ่ง ไม่เเตะอาหารประเภทนี้

ดังนั้น ไม่ควรรีบไป ประณามคนอื่น ว่า กินของไม่ฮาลาล หรือขายของไม่ฮาลาล หากเขาซื้ออาหารที่ไร้ตรา เเละไม่ควรต่อว่า หรือ เตือนต่อหน้าคนอืนๆ เพราะอาจจะทำให้เขาได้รับความอับอาย จนทำให้มีความรู้สึก Resistence ขึ้นมา เพื่อรักษาหน้าที่โดนขวานจามหน้าเค้าเตอร์ 7/11

การมีทัศนะที่เเตกต่างทำให้เกิดเราะห์มัตขึ้นมา เเละสร้างตัวเลือกดังต่อไปนี้..

1. เวลา ไม่มีอะไรกิน ก็ตามทัศนะ ที่ 3
2. เวลามีตัวเลือก ก็ตามทัศนะที่ 1
3. เวลาจะเคร่งหน่อย ก็ตามทัศนะที่ 2
4. หากต้องการวาเราะ ก็ตามทัศนะที่ 4

ส่วนทัศนะที่ถูกต้องที่สุด คือ ทัศนะเเรก เพราะ
1. หากไปบอกว่า ฮารอม หากมันเกิดฮาลาลมา ซวย
2. หากไปบอกว่า กินได้ เเต่มันดันไปฮารอม ซวยอีก
3. หากไปบอกว่า มักรุฮ มันเกิด กินได้ ไม่มักรุฮ ซวยอีก..

หากมีเเค่ 1 ทัศนะ คือ ฮารอม ชีวิตมนุษย์ ก็วุ่นวาย ไม่มีตัวเลือก เช่น ไปอาศัยในประเทศที่ไม่มีตราฮาลาลให้ยึด

ที่ประเทศไทย ยังมีให้หา ให้จำเเนก ให้ตรวจสอบ หากไปอยู่ในประเทศที่มีมุสลิม เเค่ 0.1 % คงขาดสารอาหาร เเละเป็นโรคกระเพาะ…หรือ คงต้องเตรียมเสบียงฮาลาลจากประเทศตัวเองไป 1 คันรถบรรทุก….

ท่าน อิบนุกุดดามะห์ รอฮิมาฮุลลอฮ์ อุลามะใหญ่ในมัศฮับฮัมบาลีย์ ได้ กล่าวว่า ” หากเราซื้อสิ่งของจากคนที่มีทรัพย์ ฮาลาลเเละฮารอมปนกัน หากเรามันใจว่า สิ่งที่ซื้อนั้น มาจากสิ่งที่ฮารอม ก็ฮารอมซื้อ เเละหากมันใจว่ามาจากสิ่งที่ฮาลาล ก็ฮาลาลซื้อ ในกรณีที่ไม่มั่นใจ มัศฮับของเรา ฮุกุ่ม คือ มักรุฮ ซื้อ พร้อมทั้งสามารถซื้อได้ การซื้อไม่โมฆะ เพราะ สิ่งนั้น อาจจะฮาลาลก็ได้ หรือ ฮารอมน้อย สิ่งนี้ เป็นสิ่งชุบฮัต

)وإذا اشترى ممن في ماله حرام وحلال: كالسلطان الظالم، والمرابي، فإن علم أن المبيع من حلال ماله، فهو حلال، وإن علم أنه حرام، فهو حرام، فإن لم يعلم من أيهما هو، كرهناه؛ لاحتمال التحريم فيه، ولم يبطل البيع؛ لإمكان الحلال، قلَّ الحرام أو كثر، وهذا هو الشبهة، وبقدر قلة الحرام وكثرته تكون كثرة الشبهة وقلتها؛ لحديث: “فمن اتقى الشبهات، استبرأ لدينه وعرضه، ومن وقع في الشبهات، وقع في الحرام، كالراعي يرعى حول الحمى يوشك أن يرتع فيه، ألا وإن لكل ملك حمى، وحمى الله محارمه” (متفق عليه)، وفي لفظ رواية البخاري: “فمن ترك ما اشتبه عليه كان لما استبان أترك، ومن اجترأ على ما يشك فيه من المأثم، أَوْشَكَ أن يواقع ما استبان” ، وقوله صلى الله عليه وسلم: “دع ما يَريبك إلى ما لا يَريبك” ، وهذا مذهب الشافعي.

ตามคำกล่าวของท่าน อิบนุ กุดามะห์ หากไม่ชัดเจน สามารถซื้อได้ ดังนั้น ไก่ KFC ที่ไม่มีตราฮาลาลรับรองกระบวนการทำ
เเม้วัตถุดิบฮาลาล สามารถ ซื้อได้ เเละไม่โมฆะ….

เช่นกัน คนที่ขายในร้าน สามารถขายของชุบฮัตได้ ตามคำกล่าวของท่าน อิบนุกุดามะห์ เเละเราไม่สามารถฮุกุ่มคนเหล่านี้ ว่า ขายของไม่ฮาลาล เเละเป็นทาสให้กับบริษัท
เพราะคนเหล่านี้ ไม่มีที่เลือก เรียนจบเเค่ ม. 3.
เลยต้องทำงานหาเงินเลี้ยงชีพตัวเอง..ดังนั้น เราไม่ควรรีบฮุกุ่มคนอื่น ว่า ขายของไม่ฮาลาล
หรือ ได้ริสกีที่ไม่มีความบารอกัต…

ท่าน อัษศุฮรีย์ เเละท่าน มักฮูลได้ กล่าวว่า..

لا بأس أن يؤكل منه ما لم يعرف أنه حرام بعينه ، فإن لم يعلم في ماله حرام بعينه ، ولكن علم أن فيه شبهة ؛ فلا بأس بالأكل منه

ความว่า ” เราสามารถกินอาหารทีไม่ทราบว่า ฮารอมอย่างเเน่ชัด ได้ ซึ่งเป็นอาหารชุบฮัต….เเละเราสามารถกินได้”

#ประเด็นที่ 2:

การสวมผ้าคลุม ฮิญาบ ไม่มีผลต่ออาหารว่า มันจะกลายเป็นฮะลาลหรือไม่ฮะลาล มุสลิมสวมผ้าคลุม ขายหมู ก็ฮะรอมขาย หากมุสลิมไม่สวมฮิญาบ ขายสิ่งที่ฮะลาล ก็ฮะลาลขาย เพราะ ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขาย ( البائع) เเละสิ่งที่ถูกขาย ( المبيع) ดังนั้นจะดูว่า อาหารฮะลาลหรือไม่ต้องไปดูสิ่งที่ถูกขาย พนักงานมุสลิม เป็นเพียงการเอียติยาธ เลือกให้มาขายเท่านั้น เพราะเกรงว่า คนต่างศาสนิก อาจจะไปสัมผัสกับนะญิส เช่น สุนัข เเล้วมาขายสินค้า เเละมีการโอนย้ายนะญิสไปมา เเละพนักงานต่างศาสนิกอาาจะไม่รู้วิธีการขายตามหลักอิสลาม ซึ่งเรื่องนี้ มีรายละเอียดมากมาย อย่างไรก็ตาม หากสินค้า เป็นสิ่งที่ฮะลาลลีซาตีฮีย์ ก็สามารถขายได้ เเละฮะลาล

ท่าน อิบนุ บัตฏอล กล่าวในตำรา ชัรฮุ ศอเฮีบะห์ อัลบุคอรีย์ ว่า

: مُعَامَلَةُ الْكُفَّارِ جَائِزَةٌ , إِلا بَيْعَ مَا يَسْتَعِينُ بِهِ أَهْلُ الْحَرْبِ عَلَى الْمُسْلِمِينَ

ความว่า : การทำธุรกรรมกับคนต่างศาสนิกนั้น เป็นที่อนุญาต ยกเว้นการขาย สิ่งที่ช่วยกับมันโดยบรรดาผู้ที่เป็นปรปักษ์ กับบรรดามุสลิม”

ปนะเด็นนี้ รายละเอียดมีอีกมากมาย เเต่เอาสั้นๆ ก็พอ

#ประเด็นที่ 3 :
การทำงานใน 7 Eleven ใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่มีอาหารไม่ฮาลาลอยู่ในร้าน เช่น หมู เเละ เหล้า เป็นประเด็นสำคัญในการหาทางออกให้พนักงานมุสลิม

บางคนประณามมุสลิมที่ขายของใน 7 Eleven ว่า ขายของฮะรอม เเละไม่ฮาลาล มีรายได้ที่ไม่ฮาลาล การพูดเเบบนี้ ไม่ใช่เป็นการตักเตือนด้วยความดี บางครั้ง คนเหล่านี้ ไม่มีทางเลือก ไม่มีงานทำ ส่วนคนที่วิจารณ์ มักมีงานที่ไม่ชุบฮัตอยู่เเล้ว เเละทำงาน ไม่มีปะปนในเรื่องฮะลาล เเละฮะรอม คนเหล่านี้พูดได้ เพราะมีงานทำฮะลาล เเต่ที่น่าเสียดาย คือ พฤติกรรมประณามไม่ค่อยจะฮะลาล…

เพื่อนเราให้ขายหมู เเละเราไม่ได้เป็นเจ้าของหมู การขาย ถือว่า เป็นการช่วยเหลือในเรื่องมะซียัต ดังนั้น ฮะรอมขาย เเละกระทำสิ่งอื่นๆ ที่ช่วยในเรื่องมะซียัต ก็จะเป็นมะซียัตตามไปด้วย เช่น ขายมีดให้คนไปเเทงคน ในกรณีที่เรารู้ หากไม่ทราบ สามารถขายได้ เหล้า หมู ซากสัตว์ เป็นสิ่งที่ฮะรอม ลีซาตีฮีย์ หากนียัตว่า กำลังขายน้ำเเทนเหล้า หรือ เนื้อวัว เเทน เนื้อหมู ก็ฮะรอมถึงวันกียามัต……..

การขายของคนอื่น ไม่ว่า จะอยู่ในฐานะลูกจ้าง หรือ อะไรก็เเล้วเเต่ ฮะรอมขาย เพราะ เรากำลังช่วยในเรื่องมะซียัต ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยง เเละให้คนอื่นที่ไม่ใช่มุสลิมขายเเทน….

ท่านอีหม่าม อันนาวาวีย์ กล่าวว่า อิจมะออุลามะ ในการห้ามขายเหล้า หมู เเละซากสัตว์

وأما الميتة والخمر والخنزير : فأجمع المسلمون على تحريم بيع كل واحد منها

ฮะดิษห้าม:

قال رسول الله -صلى الله عليه وسلم-: (إِنَّ اللهَ وَرَسُولَهُ حَرَّمَ بَيْعَ الْخَمْرِ، وَالْمَيْتَةِ، وَالْخِنْزِيرِ، وَالْأَصْنَامِ

ส่วนเรื่องการวากีลมุสลิมให้กาฟิร ขายสิ่งฮะรอม อุลามะส่วนใหญ่กล่าวว่า ไม่เศาะห์ ยกเว้นในมัศฮับฮะนาฟีย์ ดังนั้น ควรหลีกเลี้ยงในการทำ transaction เกี่ยวกับสิ่งที่ฮะรอม ไม่ว่า เราจะอยู่ในประเทศมุสลิม หรือไม่ใช่มุสลิมก็ตาม

اختلف الفقهاء في حكم توكيل المسلم الكافر في بيع الخمر والخنزير.

فذهب الشافعية والمالكية والحنابلة والصاحبان إلى أنه لا يصح توكيل مسلم ذميا في بيع الخمر والخنزير وشرائهما؛ لأنه يشترط لصحة الوكالة أن يملك الموكل نفس التصرف الذي يوكل فيه الغير. والمسلم لا يملك التصرف في الخمر أو الخنزير بالبيع أو الشراء أو غيرهما. وفاقد الشيء لا يعطيه

ประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่สามารถคิดเองได้ ไม่ต้องอาศัยหลักฐาน การขายสิ่งที่ฮะรอม ก็ฮะรอม การขายสิ่งที่มักรุฮ ก็มักรุฮ การขายสิ่งที่ฮารุส ก็ ฮารุส การขายสิ่งที่วายิบ ก็วาญิบ เช่น คนหนึ่ง กำลังจะตาย หิวโหย เเละมีเงิน ขอซื้อข้าว เเต่เราไม่ขาย ไม่ให้ การไม่ขาย ถือ ว่า ฮะรอม เพราะวายิบขาย เนื่องจากการขาย ทำให้เขาได้ซื้อ เเละเอาไปกินเพื่อรักษาชีวิต

ฮุกุ่มเดิม การขาย นั้น เป็นสิ่งที่อนุมัติ หากมีสิ่งที่ตามมา เป็นสิ่งที่ฮะรอม ผลเสีย ก็ฮะรอมขาย เพราะ เรากำลังช่วยในเรื่องมะซียัต…..เเละเรื่องที่อัลลอฮ์ห้าม การขายเหล้า คนอื่นเอาไปดื่ม พอเมา เเล้ว เสียสติ พอเสียสติ เเล้ว พล่ามดักจับสาวเพื่อข่มขืน หรือ เมาเสร็จ กลับไปเตะภรรยาที่บ้าน… ทั้งหมดเกิดขึ้นเนื่องจาก การขายเหล้าของเรา ดังนั้น ฮะรอมขาย ขน ตวง ริน เปิดขวด ยกให้ ซื้อให้ ฯลฯ…..

ส่วนมัศฮับฮะนาฟีย์ อนุญาตให้ขายได้ เเก่ กาฟิร ซิมมีย์ เพราะ สิ่งฮะรอมเหล่านี้ เป็นสิทธิของพวกเขาที่จะซื้อ ก็เหมือน เเพะ เเกะ ซึ่งเป็นสิทธิของเราซึ่งเป็นมุสลิมที่จะซื้อ…

ويستدل الحنفية لذلك بقولهم: إن الخمر والخنزير مال متقوم في حقهم، كالخل والشاة للمسلمين، فيجوز بيعه، وروي عن عمر بن الخطاب رضي الله عنه أنه كتب إلى عشاره بالشام: أن ولوهم بيعها، وخذوا العشر من أثمانها، ولو لم يجز بيع الخمر منهم لما أمرهم بتوليتهم البيع

อย่างไรก็ตาม หลักฐานมัศฮับฮะนาฟีย์ ยึด เป็นฮะดิษ มุรซัล อุลามะ หลายท่าน ในมัศฮับ อีก 3 มัศฮับ กล่าวว่า ไม่สามารถเอาเป็นหลักฐานได้ เเละกาฟิร ในประเทศไทย ไม่ใช่ กาฟิรซิมมีย์ ดังนั้น อยู่นอกบริบท ที่อนุญาตในมัศฮับฮานาฟีย์ …

เพื่อความสบายใจ ควรหลีกเลี่ยง เเต่ หากไม่มีทางออกจริงๆ หรือ เลี่ยงไม่ได้จริง ก็ให้ยึดตามทัศนะฮะนาฟีย์ เเต่ ทางที่ดีควรลาออก เเละหางานอื่น เพราะ เรากำลังทำงาน หรือ มุอามาลาต กับสิ่งที่ฮะรอม..

ทางออกสำหรับพนักงาน 7 Eleven มีมากมากมาย…

1. ลาออกไปทำงาน 7 ที่มีพนักงานพุทธอยู่ด้วย เเละขายของที่ฮะลาลเท่านั้น ส่วน หากมีสิ่งที่ไม่ฮะลาล ให้เพื่อนที่เป็นชาวพุทธ ช่วยขาย

2. หากไม่มีพนักงานเพื่อนพุทธเลย เเละมีการขายของที่ไม่ฮะลาล เช่น มีคนพุทธซื้อขนมที่มีเนื้อหมู ( ซึ่งเป็นอาหารฮะลาลลีซาตีฮีย์).
หมายเหตุอ่านเพิ่มเติมใน
https://www.facebook.com/1634251756/posts/10223252441612709/?d=n

 10,511 total views,  2 views today

You may have missed